Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81952
Title: ผลของการพยาบาลแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุในพื้นที่ปฐมภูมิ : รายงานการวิจัย
Other Titles: Effects of the collaborative nursing for older patients with depression in primary care settings
Authors: รังสิมันต์ สุนทรไชยา
วิลาสินี ดุษณีเสนีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: ความซึมเศร้า
บุคคลซึมเศร้า
ความซึมเศร้าในวัยสูงอายุ
Issue Date: 2556
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบอาการซึมเศร้าและความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุที่ได้รับได้รับการพยาบาลแบบมีส่วนร่วม ระยะก่อน ระยะสิ้นสุด และติดตามผล 4 สัปดาห์ ภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ปฐมภูมิ จำนวน 77 คน ผู้ดูแล จำนวน 38 คน และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 20 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคซึมเศร้า วัยสูงอายุเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 38 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 39 คน กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลแบบมีส่วนร่วมโดยความร่วมมือของทีมแพทย์ทั่วไป พยาบาลวิชาชีพและผู้ดูแลในการให้ความรู้และฝึกอบรมร่วมกับการสอนแนะการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุให้กับพยาบาลวิชาชีพและผู้ดูแลเฉพาะราย การบำบัดด้วยการแก้ปัญหาและการเป็นที่ปรึกษา สัปดาห์ละครั้ง ๆ ละ 45-60 นาที จำนวน 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย และแบบวัดความสามารถในการทำหน้าที่ ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ ส่วนผู้ดูแลและพยาบาลวิชาชีพ ได้รับการประเมินความสามารถในการดูแลผู้ป่วยระยะก่อนและหลังการดำเนินการพยาบาลมีสวนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมทางสถิติสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures Analysis of Variance) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้: 1.คะแนนเฉลี่ยอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ ในกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบมีส่วนร่วม หลังการทดลอง ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถ ในการทำหน้าที่เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.คะแนนเฉลี่ยอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุต่ำกว่าและความสามารถในการทำหน้าที่เพิ่มขึ้นในระยะติดตามผลกว่าระยะก่อนได้รับการพยาบาลแบบมีส่วนร่วม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3.คะแนนเฉลี่ยอาการซึมเศร้าลดลงและความสามารถในการทำหน้าที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มทดลองเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมหลังการทดลองทันที และในระยะติดตามผล 4 สัปดาห์ 4.คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลและพยาบาลวิชาชีพสูงขึ้นภายหลังการพยาบาลแบบมีส่วนร่วม
Other Abstract: The quasi-experimental research was aimed to compare depression and functional ability of older patients with major depression after receiving the collaborative nursing at the pretest posttest and follow-up within and between the experimental and the control group. The sample included 77 older patients with major depression, 38 caregivers, and 20 registered nurses. Older patients were randomly assigned to 38 the experimental group and 39 the control group. The experimental group received the collaborative nursing plan with cooperated by the general practice physicians, registered nurses, and caregivers. The registered nurses and caregivers were trained about the knowledge about depression and how to care for older patients with major depression by coaching and case management. Also, problem solving therapy and case consultant were provided by the researchers. The collaborative nursing plan was provided for six sessions, 45-60 minutes per each session for six weeks, while the control group received nursing care as usual. The collecting data tools were Thai geriatric depression scales and the Barthel ADL Index Thai version. Caregiving ability by registered nurses and caregivers were measured by the caregiving ability questionnaires. Data were analyzed by descriptive statistics, t-test, and Repeated Measures Analysis of Variance. The results of the study were as follows: 1.The mean scores of depression of the older patients with major depression afterreceiving the collaborative nursing group were significantly lower and the mean scores of functional ability were significantly higher than before receiving the collaborative nursing. 2.The mean scores of depression of the older patients with major depression at thefollow-up were significantly lower than at the pretest of receiving the collaboration nursing. The mean scores of functional ability of the older patients with major depression at the follow-up were significantly higher than at the pretest of receiving the collaborative nursing. 3.The mean scores of depression of the older patients with major depression at thefollow-up were significantly lower than at the posttest of receiving the collaborative nursing. The mean scores of functional ability of the older patients with major depression at the follow-up were significantly higher than at the posttest of receiving the collaborative nursing. 4.The mean scores of the caregiving ability of caregivers and registered nurses weresignificantly higher than after receiving the collaborative nursing.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81952
Type: Technical Report
Appears in Collections:Nurse - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rangsiman_Su_Res_2556.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)56.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.