Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81953
Title: การพัฒนาสารต้นแบบสำหรับการรักษาโรคจากโปรตีนและเปปไทด์ : กรณีศึกษาหอยหวานและขนไก่ป่น : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Authors: อภิชาติ กาญจนทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์
Subjects: ฟีนอลออกซิเดส -- สารยับยั้ง
โปรตีนไฮโดรไลเสต
Phenol oxidase -- Inhibitors
Diphenoxylate
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไทโรซิเนสเป็นเอนไซม์ที่มีคอปเปอร์เป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยา 2 ขั้นตอน ซึ่งเกิดในช่วงต้นของการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินสำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม งานวิจัยเกี่ยวกับสารยับยั้งไทโรซิเนสจึงกลายเป็นสิ่งที่มีความน่าสนใจเนื่องจากมีศักยภาพในการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาฤทธิ์ยับยั้งไทโรซิเนสของโปรตีนไฮโดรไลเสตที่เตรียมจากขนไก่ป่น โดยเตรียมจากเพพซิน-แพนครีเอตินและปาเปนในการย่อยสลาย คัดแยกโปรตีนไฮโดรไลเสตที่ได้ตามขนาดโมเลกุลด้วยเทคนิคอัลตราฟิลเตรชัน ผลการศึกษาพบว่าโปรตีนไฮโดรไลเสตที่เตรียมโดยใช้เพพซิน-แพนครีเอตินที่มีขนาดโมเลกุลน้อยกว่า 3 กิโลดาลตัน มีฤทธิ์ในการยับยั้งไทโรซิเนสดีที่สุด โดยแสดงค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งได้ร้อยละ 50 ของกิจกรรมโมโนฟีโนเลส เท่ากับ 5.780 ± 0.188 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และกิจกรรมไดฟีโนเลส เท่ากับ IC₅₀ 0.040 ± 0.024 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับผลการศึกษาจลนพลศาสตร์ของกิจกรรมยับยั้งไทโรซิเนสพบว่ามีการยับยั้งแบบไม่แข่งขัน มีค่าสัมประสิทธิ์การยับยั้งเท่ากับ 18.149 และ 27.189 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สำหรับกิจกรรมของโมโนฟีโนเลสและไดฟีโนเลส ตามลำดับ นอกจากนี้ผลจากการศึกษาในเซลล์เมลาโนไซด์พบว่าโปรตีนไฮโดรไลเสตที่เตรียมโดยใช้เพพซิน-แพนครีเอติน ที่มีขนาดโมเลกุลน้อยกว่า 3 กิโลดาลตันยังแสดงการยับยั้งดีที่สุดต่อการอยู่รอดของเซลล์ที่สุด โดยแสดงค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งได้ร้อยละ 50 เท่ากับ 1.124±0.288 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งกิจกรรมของไทโรซิเนสและยับยั้งการสร้างเมลานินได้เท่ากับ 50.493 เปอร์เซ็นต์ และ 14.680 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้โปรตีนไฮโดรไลเสตยังได้ถูกศึกษาผลต่อการตายแบบอะพอพโตซิสในเซลล์ และตรวจเอกลักษณ์ของโปรตีนไฮโดรไลเสตที่มีขนาดโมเลกุลน้อยกว่า 3 กิโลดาลตัน ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง และเทคนิคแมสสเปกโตรเมตรีตามลำดับ การวิจัยเพื่อค้นหาฤทธิ์ยับยั้งไทโรซิเนสจากโปรตีนไฮโดรไลเสตที่เตรียมจากขนไก่ป่นนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวต่อไป
Other Abstract: Tyrosinase 1s a copper-containing enzyme that controls mammalian melanogenesis. Tyrosinase inhibitors are important for their potential application in cosmetic products. Chicken feather meal is a rich source of amino acids, which have been linked with tyrosinase inhibition activity. This study investigated the tyrosinase inhibitory properties of protein hydrolysates prepared from chicken feather meal. Protein hydrolysates prepared by pepsin-pancreatin with MW < 3 kDa exhibited strong tyrosinase inhibition activity for both monophenolase (IC₅₀ 5.780 ± 0.188 μg/mL) and diphenolase activities (IC₅₀ 0.040 ± 0.024 μg/mL) in a cell-free mushroom tyrosinase system. These samples were uncompetitive inhibitors with Ki values of 18.149 and 27.189 μg/mL in monophenolase and diphenolase activities, respectively. A cell culture model showed that this hydrolysate had the strongest inhibition on the viability of B16F10 cells (IC₅₀ 1.124 ± 0.288 μg/mL) and 0.210 μg/mL of the sample exhibited inhibition oftyrosinase activity by 50.493% and melanin synthesis by 14.680% compared to the control.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81953
Type: Technical Report
Appears in Collections:Biotec - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aphichart_Ka_Res_2559.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)23.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.