Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81955
Title: การศึกษาความหลากหลายและการกระจายของแมงกะพรุนบริเวณชายฝั่งจังหวัดชลบุรีถึงจังหวัดระยอง (ปีที่ 1) : รายงานโครงการวิจัย
Other Titles: Study on diversity and distribution of jellyfish along the coastal areas of Chonburi Province to Rayong Province (1st year)
Authors: พรเทพ พรรณรักษ์
เอนก โสภณ
อานุภาพ พานิชผล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ
Subjects: แมงกะพรุน
ความหลากหลายทางชีวภาพชายฝั่ง -- ไทย -- ชลบุรี
ความหลากหลายทางชีวภาพชายฝั่ง -- ไทย -- ระยอง
Issue Date: 2562
Publisher: สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความหลากหลายและการกระจายของแมงกะพรุนบริเวณชายฝั่งจังหวัดชลบุรีถึงจังหวัดระยองในช่วงเดือนมกราคม 2561 (ฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) เดือนพฤษภาคม 2561 (ช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุม) และเดือนกรกฎาคม 2561 (ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้) โดยเก็บตัวอย่างตั้งแต่บริเวณชายฝั่งแหลมแท่น จังหวัดชลบุรี ไปจนถึงชายฝั่งปากน้ำประแส จังหวัดระยอง จำนวนทั้งสิ้น 8 สถานี ซึ่งผลจากการเก็บตัวอย่างในภาคสนามและจากการรายงานจากชาวบ้านและจากการแจ้งจากคนในพื้นที่ พบแมงกะพรุนขนาดใหญ่ทั้งสิ้น 4 ชนิดได้แก่ แมงกะพรุนลอดช่อง 2 ชนิด คือ Lobonema smithi และ Lobonemoides robustus แมงกะพรุนหนังชนิด Rhopilema hispidum และแมงกะพรุนลายจุดชนิด Phyllorhiza punctata โดยจะไม่พบแมงกะพรุนขนาดใหญ่ในเดือนมกราคม 2561 แต่จะพบแมงกะพรุนเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมและเดือนกรกฎาคม 2561 ซึ่งเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ส่วนแมงกะพรุนขนาดเล็กที่ได้จากตัวอย่างแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดใหญ่กว่า 100, 300 และ 600 ไมโครเมตร พบแมงกะพรุนขนาดเล็กทั้งสิ้น 36 สกุล (Genus) จากทั้งหมด 23 วงศ์ (Family) โดยแมงกะพรุนขนาดเล็กสกุลเด่นที่พบ ได้แก่ Obelia spp., Phialidium spp., Bougainvillia spp., Cytaeis spp., Sarsia spp. และ Liriope spp. และพบว่าบริเวณชายฝั่งแหลมแท่น (LT) และชายฝั่งพัทยาใต้ (PT) จังหวัดชลบุรี ชายฝั่งบ้านเพ (BP) และปากน้ำประแส (PS) จังหวัดระยอง จะมีความหลากหลายของแมงกะพรุนขนาดเล็กสูงกว่าบริเวณชายฝั่งศรีราชา (SC) ชายฝั่งอ่าวอุดม (AD) และชายฝั่งแสมสาร (SS) จังหวัดชลบุรี และชายฝั่งมาบตาพุด (MTP) จังหวัดระยอง ความสอดคล้องกับความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์โดยเฉพาะกลุ่มที่มีขนาดเล็ก (ใหญ่กว่า 100 ไมโครเมตร) ซึ่งจะเป็นอาหารของกลุ่มแมงกะพรุน ส่วนการศึกษาตัวอ่อนแมงกะพรุนระยะ polyp ส่วนใหญ่พบอยู่ในวงศ์ Campanulariidae ซึ่งเป็นแมงกะพรุนขนาดเล็กที่พบได้ในเกือบทุกสถานีตลอดช่วงเวลาที่ศึกษา โดยสามารถพบ polyp ของแมงกะพรุนได้เกือบทุกบริเวณ ยกเว้นบริเวณชายฝั่งแหลมแท่นที่ไม่พบตัวอ่อนระยะ polyp เลยตลอดช่วงที่ทำการศึกษาแต่ยังสามารถพบแมงกะพรุนในระยะ medusa ได้ในเดือนมกราคมและเดือนกรกฎาคม 2561 นอกจากนี้ยังทำการศึกษาด้านชีววิทยาโมเลกุลของแมงกะพรุนโดยทำการสกัด DNA จากเนื้อเยื่อของแมงกะพรุนขนาดใหญ่จำนวน 8 ตัวอย่างและทำ PCR โดยใช้ไพรเมอร์ของยีน mitochondrial Cytochrome Oxidase I (mtCOI gene) และ 18S RNA gene พบว่า สามารถเพิ่มปริมาณ DNA ได้เมื่อใช้ไพรเมอร์ COI-gene (3 ตัวอย่าง) แต่ไม่สามารถเพิ่มจำนวน DNA ได้เมื่อใช้ 18S RNA-gene และเมื่อนำไปจัดตำแหน่งเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลใน gene bank พบว่า เนื้อเยื่อแมงกะพรุน 2 ตัวอย่าง (จาก mtCOI gene) คือ แมงกะพรุนลายจุดชนิด Phyllorhiza punctata ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความหลากหลายและการกระจายของแมงกะพรุนได้แก่ คุณภาพน้ำในบริเวณชายฝั่งจังหวัดชลบุรีจนถึงจังหวัดระยองมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลของกรมควบคุมมลพิษ (2550) และพบว่าปริมาณสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำและปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ มีค่าสูงในช่วงเดือนกรกฎาคมซึ่งเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ในขณะที่แพลงก์ตอนสัตว์ซึ่งมีบทบาทเป็นอาหารของแมงกะพรุนจะมีค่าสูงในช่วงเดือนมกราคม 2561
Other Abstract: Study on diversity and distribution of jellyfish along the coastal areas from Laem Tan, Chonburi Province to Prasae river mouth, Rayong Province was conducted in January (Northeast monsoon), May (Inter-monsoon) and July (Southwest monsoon) in the year 2018. Four species of jellyfish namely, Lobonema smithi, Lobonemoides robustus, Rhopilema hispidum and Phyllorhiza punctata, were found during field survey and report from villagers. Jellyfish were found in higher diversity in July, which is the beginning of rainy season, but not found in January. Small jellyfish were collected from plankton net mesh sizes 100, 300 and 600 μm. Thirty six genuses from 23 families were found and the dominant genus of small jellyfish were Obelia, Phialidium, Bougainvillia, Cytaeis, Sarsia and Liriope. Higher diversity of small jellyfish was found in coastal area of Laem Tan (LT), Pattaya (PT), Bann Pe (BP) and Prasae river mouth (PS) compared to the coastal area of Siracha (SC), Audom pier (AD) Samae San (SS) and Mabtaput (MTP) related to the total density of zooplankton especially from small size zooplankton (<100 μm.) which may plays role as their food. Polyp stage of jellyfish in the family Campanulariidae was found during study periods but was not found in Laem Tan (LT) while the medusa stage can be found in this station. Molecular study of jellyfish was analyzed using mitochondrial Cytochrome Oxidase I (mtCOI gene) and 18S RNA gene universal primers. After PCR, 3 of 8 samples can be amplified from the COI primer but nothing can be amplified when using 18SRNA primer. The jellyfish, Phyllorhiza punctata, was identified after alignment of PCR product with gene bank database. Environmental parameters such as temperature, salinity, pH, and DO were in the standard of coastal water quality provided by Department of Pollution Control (2007). Inorganic nutrients and chlorophyll_a concentrations were higher in July (early rainy season) while zooplankton density, which plays role as jellyfish prey, was highest in January 2018.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81955
Type: Technical Report
Appears in Collections:Aqua - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Porntep_Pu_Res_2561.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)49.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.