Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81961
Title: | ความเป็นพิษและการเหนี่ยวนำการตายแบบอะโพโทซิสต่อเซลล์มะเร็ง โดยเพปไทด์จากเกสรผึ้งพันธุ์ Apis mellifera |
Authors: | อภิชาติ กาญจนทัต |
Subjects: | โปรตีนไฮโดรไลเสต เซลล์มะเร็ง -- การเจริญเติบโต -- การควบคุม Protein hydrolysates Cancer cells -- Growth -- Regulation |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เตรียมโปรตีนไฮโดรไลเสตจากเกสรผึ้งพันธุ์ ที่ได้จากปฏิกิริยาย่อยสลายด้วยเอนไซม์ 3 ชนิด ได้แก่ แอลคาเลส ฟลาโวไซม์ และนิวเทรส พบว่าเมื่อใช้นิวเทรสในอัตราส่วนของเอนไซม์ต่อสับสเตรต 1:1 (NH1) โดยปริมาตร จะให้แสดงค่าการยับยั้งการสร้างอนุมูลอิสระด้วยวิธีไนตริกออกไซต์ได้ดีที่สุด คัดแยกเพปไทด์ที่มีขนาดโมเลกุลต่ำกว่า 0.65 กิโลดาลตัน (MW1) มีฤทธิ์ในการขจัดอนุมูลอิสระไนตริกออกไซด์ได้ดีที่สุด จากนั่นได้ทำการตรวจสอบความเป็นพิษของ MW1 ด้วยวิธี MTT และตรวจสอบ ผลการยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่ถูกกระตุ้นด้วยไลโปโพลิแซคคาไรด์ พบว่า MW1 ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ และมีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ ผลการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวของกับการอักเสบ พบว่า MW1 มีฤทธิ์ในการยับยั้งการแสดงออกของยีน inducible nitric oxide synthase (iNOS) Cyclooxygenase-2 (COX-2) Interleukin-6 (IL-6) และ Tumor necrosis factor alpha (TNF-α) จากนั้นนำ MW1 ไปทำบริสุทธิ์ด้วยเทคนิคโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง สามารถแยกเพปไทด์ได้ทั้งหมด 6 พีค (H1-6) โดยที่ H2, H3 และ H4 แสดงค่าการยับยั้งการสร้างอนุมูลอิสระด้วยวิธีไนตริกออกไซด์ได้ดีที่สุด และนำเพปไทด์ที่ได้ไปพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วยเทคนิคแมสสเปกโตรเมตรีพบเพปไทด์ทั้งหมด 7 สาย จากผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าฤทธิ์ต้านการอักเสบของเพปไทด์จากเกสรผึ้งพันธุ์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุสาหกรรมทางการแพทย์ เภสัชกรรมและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่อไป |
Other Abstract: | Bee pollen protein was hydrolyzed using the commercial Alcalase, Flavourzyme and Neutrase enzymes. The Neutrase hydrolysate formed from a 1:1 (v/v) enzyme/substrate ratio (NH1) showed the highest nitric oxide (NO) radical scavenging activity. The NH1 was further separated into five fractions based on molecular weight (MW1-5) and MW1, the smallest weight fraction (<0.65 kDa), possessed the highest NO inhibitory activity. The effects of MW1 on the production of NO were assessed by incubating with lipopolysaccharide-stimulated RAW264.7 macrophage cells. NO levels from the culture supernatants were determined by Griess reaction. The results showed that NH1 inhibiting the lipopolysaccharide-induced NO production and upregulation of cyclooxygenase-2, inducible nitric oxide synthase, tumor interleukin-6 and necrosis factor transcript expression in RAW264.7 macrophage cells. Thus, the MW1 fraction was fractionated using reversed-phase high-performance liquid chromatography into six principal fractions (H1-6), where H2, H3 and H4 showed strong NO inhibitory activity. Seven peptide sequences were obtained by quadrupole time-of-flight mass spectrometry, three of which displayed potent anti-inflammatory activity and may be useful ingredients in functional food and pharmaceutical drugs. |
Description: | หน้าปกภาษาไทย เนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษ |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81961 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Biotec - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Biotech_Aphichart Karnchanatat_2018.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.