Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82097
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชมัย ฤกษะสุต-
dc.contributor.authorกุสุมา ปันสาม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-05-25T07:17:10Z-
dc.date.available2023-05-25T07:17:10Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82097-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565en_US
dc.description.abstractปัจจุบันอุตสาหกรรมเกมในประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่พบว่าการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกมเป็นการขยายตัวจากฝั่งผู้บริโภค ซึ่งรายได้ของผู้จัดจำหน่าย และนำเข้า มาจากการที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าในเกม และดาวน์โหลดเกมผ่านแพลตฟอร์มที่พัฒนามาจากผู้ประกอบการต่างประเทศเป็นหลัก แสดงให้เห็นว่าเกมที่พัฒนาโดยคนไทยมีจำนวนน้อยมาก แม้ว่าประเทศไทยจะสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเกม โดยออกมาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลาไม่เกิน 8 ปี ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเกมในประเทศยังไม่สามารถเติบโตได้เท่าที่ควร เนื่องจากผู้ผลิตเกมไทยยังขาดเงินทุนในการผลิตและพัฒนาเกม แสดงให้เห็นว่ามาตรการทางภาษีของภาครัฐที่ออกมาเพื่อส่งเสริมนั้นยังไม่เหมาะสมและเพียงพอที่จะส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ด้วยเหตุนี้จึงต้องศึกษาถึงปัญหามาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกมของประเทศไทย และเปรียบเทียบกับมาตรการทางภาษีของสหราชอาณาจักร เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมและนำมาปรับใช้กับมาตรการทางภาษีของประเทศไทย จากการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกมของประเทศไทย และสหราชอาณาจักร พบว่ามาตรการทางภาษีของสหราชอาณาจักรย่อมส่งผลให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเกมมากกว่า เพราะเป็นมาตรการที่ช่วยลดความเสี่ยงรวมถึงลดต้นทุนในการลงทุนเริ่มแรกที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกมโดยตรง และภาระภาษีของผู้ลงทุนนั้นขึ้นอยู่กับการลงทุนตามความเป็นจริง กล่าวคือ หากผู้ลงทุนต้องการที่จะเสียภาษีน้อย ก็ต้องลงทุนในปริมาณที่มาก ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนที่แท้จริง ดังนั้น หากประเทศไทยต้องการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกม เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้น ประเทศไทยควรมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิและประโยชน์ทางภาษีให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ โดยการนำมาตรการลดหย่อนภาษีวิดีโอเกมของสหราชอาณาจักรมาปรับใช้กับอุตสาหกรรมเกมของไทยต่อไปen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.132-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสิทธิประโยชน์ทางภาษีen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมเกมวิดีโอen_US
dc.titleมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเกมen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subject.keywordอุตสาหกรรมเกมen_US
dc.subject.keywordมาตรการทางภาษีen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2022.132-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480189134.pdf808.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.