Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82101
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ | - |
dc.contributor.author | จาตุรันต์ เจียรกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-05-26T01:49:40Z | - |
dc.date.available | 2023-05-26T01:49:40Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82101 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เกี่ยวกับปัญหาการกำหนดอายุของผู้เยาว์ที่ผู้ปกครองให้ความยินยอมในการเก็บ รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลแทน และปัญหาการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับอันว่าด้วยเรื่องการใด ๆ ที่ผู้เยาว์สามารถกระทำเองโดยลำพัง จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 20 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครองที่มีอำนาจกระทำการแทนผู้เยาว์หากผู้เยาว์ที่อายุไม่เกิน 10 ปีการกำหนดอายุดังกล่าวยังไม่เหมาะสม และแตกต่างกับมาตรา 8 ของกฎหมายสหภาพยุโรปที่กำหนดให้ผู้เยาว์มีอายุต่ำกว่า 16 ปีต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดา นอกจากนี้การให้ความยินยอมของผู้เยาว์ที่มีอายุเกิน 10 ปีแต่ไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์นั้นผู้เยาว์สามารถให้ความยินยอมแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยลำพังเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ให้ผู้เยาว์ทำนิติกรรมได้เองโดยไม่ต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม การกำหนดให้นำเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้กับความยินยอมให้ข้อมูลแก่ผู้ควบคุมข้อมูลดังกว่าวไม่เหมาะสมและไม่อาจคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวของผู้เยาว์ได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากการยินยอมให้ผู้เยาว์ทำนิติกรรมโดยผู้แทนโดยชอบธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีวัตถุประสงค์ รูปแบบ วิธีการ และผลทางกฎหมายแตกต่างจากการที่ผู้แทนโดยชอบธรรมและตัวผู้เยาว์ให้ความยินยอมแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในการเก็บรวมรวบ ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในขณะที่จากการศึกษากฎหมายของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation) จะไม่ได้กำหนดเงื่อนไขของการให้ผู้เยาว์สามารถให้ความยินยอมได้เอง ข้อเสนอแนะด้านนโยบาย ภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้สิทธิแก่เยาวชนอย่างมีขอบเขต และให้สังคมได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงมีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์โดยจัดทำคู่มือแนะนำให้มีการแจ้งไปยังผู้เยาว์ถึงการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยวิธีการที่รัดกุม ใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นต้น ข้อเสนอด้านกฎหมาย ควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 20 โดยควรมีมาตรการเข้ามาคุ้มครองสิทธิเด็กในการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กจึงต้องนำเกณฑ์อายุในช่วงไม่เกิน 18 ปีมาพิจารณาด้วย และไม่ควรจะนำเอาการใดๆทางแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้เพื่อเป็นเงื่อนไขที่ผู้เยาว์สามารถให้ความยินยอมได้เองโดยลำพัง | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.134 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล | en_US |
dc.subject | สิทธิส่วนบุคคล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | en_US |
dc.title | การให้ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลกรณีผู้เยาว์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายเศรษฐกิจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject.keyword | ข้อมูลส่วนบุคคล | en_US |
dc.subject.keyword | ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2022.134 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6480193634.pdf | 2.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.