Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82104
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โชติกา วิทยาวรากุล | - |
dc.contributor.author | จุฬาลักษณ์ ติรชาญวุฒิ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-05-26T03:19:01Z | - |
dc.date.available | 2023-05-26T03:19:01Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82104 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 | en_US |
dc.description.abstract | แม้ว่าปัจจุบันคนจะหันมานิยมเลี้ยงสุนัขไว้เป็นเพื่อนคลายเหงา โดยถือว่าสุนัขเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว แต่ยังคงเกิดปัญหาอันเกิดจากการเลี้ยงสุนัขในประเทศไทยที่ส่งผลกระทบต่อสังคมในเรื่องความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ความหวาดกลัวของประชาชนต่อสุนัขที่มีพฤติกรรมดุร้าย ผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากมลพิษทางกลิ่นและเสียงจากการเลี้ยงสุนัข อีกทั้งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทำให้ภาครัฐมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจัดการปัญหาอันเกิดจากการเลี้ยงสุนัข ในขณะที่มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมการเลี้ยงสุนัขที่บังคับใช้ในปัจจุบัน ยังมีข้อบกพร่องและไม่เพียงพอในการแก้ไขปัญหา จากการศึกษาการจัดเก็บภาษีเพื่อควบคุมการเลี้ยงสุนัขของกรุงเบอร์ลินและเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี พบว่าแต่ละเมืองมีอำนาจในการออกมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่มิใช่มาตรการทางภาษีเพื่อบังคับใช้ในท้องที่ของตน โดยเงินภาษีที่จัดเก็บได้นั้น นอกจากจะเป็นรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อชดเชยรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสุนัขแล้ว แต่ละเมืองยังนำเงินภาษีที่ได้ไปใช้เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมการจัดสวัสดิภาพให้สุนัขในแต่ละท้องถิ่น ดังนั้น ผู้เขียนจึงนำแนวทางของกรุงเบอร์ลินและเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี มาเสนอแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการควบคุมการเลี้ยงสุนัขในประเทศไทย โดยกำหนดโครงสร้างการจัดเก็บภาษีให้สอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดีและเข้ากับสถานการณ์การเลี้ยงสุนัขในประเทศไทย และเสนอให้นำมาตรการอื่นที่มิใช่มาตรการทางภาษีที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม โดยใช้ประกอบกับมาตรการทางภาษีเพื่อให้การควบคุมการเลี้ยงสุนัขเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.137 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การจัดเก็บภาษี | en_US |
dc.subject | สุนัข -- ภาษี | en_US |
dc.title | การจัดเก็บภาษีการเลี้ยงสุนัข | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายเศรษฐกิจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject.keyword | การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ | en_US |
dc.subject.keyword | ภาษีสัตว์เลี้ยง | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2022.137 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6480197134.pdf | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.