Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82110
Title: | แนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าถุงพลาสติก |
Authors: | ชุติมน บุญเสริมสุขเจริญ |
Advisors: | ทัชมัย ฤกษะสุต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Subjects: | ภาษีสรรพสามิต -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การจัดเก็บภาษี ถุงพลาสติก |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ประชาชนมีพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกเป็นจำนวนมาก ผลที่ตามมาคือขยะถุงพลาสติก ซึ่งขยะถุงพลาสติกในปริมาณมากส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อลดขยะถุงพลาสติกเพียงมาตรการเดียว คือ การให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยไม่มีผลให้ปริมาณขยะพลาสติกลดจำนวนลง ผู้เขียนได้ศึกษาแนวทางจากประเทศเดนมาร์กและสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าถุงพลาสติก ที่ประสบผลสำเร็จในการลดการใช้ถุงพลาสติก เพื่อนำมาปรับเป็นแนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากถุงพลาสติกในประเทศไทย โดยแนวทางการจัดเก็บภาษีที่สามารถนำมาปรับใช้ในประเทศไทยมีดังนี้ ประเภทของถุงพลาสติกที่ต้องเสียภาษี การกำหนดความหนาของถุงพลาสติกและชนิดพลาสติก ประเภทของถุงพลาสติกที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษี ประเทศไทยสามารถปรับใช้ได้สองข้อ คือ ถุงพลาสติกประเภทมีฝาปิดและถุงขยะในครัวเรือน ผู้มีหน้าที่ชำระภาษี สำหรับประเทศไทยผู้มีหน้าที่ชำระภาษีสรรพสามิต ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ประกอบการสถานบริการ และบุคคลอื่นๆที่กฎหมายกำหนด ไม่มีความจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติม อัตราภาษี สำหรับการกำหนดอัตราภาษีนั้น จำเป็นต้องนำหลักทางเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์ เพื่อหาอัตราภาษีที่เหมาะสม หน่วยงานจัดเก็บภาษี สำหรับประเทศไทยหน่วยงานจัดเก็บภาษีสรรพสามิต คือ กรมศุลกากร กรณีนำเข้า และกรมสรรพสามิต กรณีผลิตสินค้า ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนแต่อย่างใด กำหนดการชำระภาษี สำหรับประเทศไทยกรณีนำเข้าจะเหมือนกับทั้งสองประเทศ คือ เมื่อเกิดการนำเข้า กรณีผลิตสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันจะมีกำหนดชําระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นําสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามทั้งสองประเทศ กรณียกเว้นภาษี ประเทศไทยอาจไม่จำเป็นต้องนำกรณียกเว้นภาษีของประเทศเดนมาร์กมาใช้ เนื่องจากอาจนำไปสู่การหลบเลี่ยงภาษี และเป็นช่องทางการออกนอกระบบของผู้มีหน้าที่ชำระภาษี การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากถุงพลาสติกอาจส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมการผลิตถุงพลาสติก ส่งผลให้ประชาชนใช้ถุงพลาสติกลดลง โดยรัฐสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการจัดเก็บภาษีอัตราต่ำในช่วงแรกหรือการให้เงินอุดหนุนเพื่อเยียวยาผู้ประกอบการ หรือใช้มาตรการอื่นๆนอกเหนือจากมาตรการทางภาษีเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของคนในสังคมให้หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมและปัญหาขยะถุงพลาสติกกันมากขึ้น |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82110 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.143 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2022.143 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6480204934.pdf | 484.49 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.