Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82118
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชมัย ฤกษะสุต-
dc.contributor.authorณัฐณิชา แกล้วกล้า-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-05-29T06:51:50Z-
dc.date.available2023-05-29T06:51:50Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82118-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565en_US
dc.description.abstractในสภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการที่กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางความเจริญของประเทศ และเป็นแหล่งจ้างงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการย้ายถิ่นฐานของแรงงานจากชนบทเข้าสู่ในเมืองเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งในปัจจุบันราคาของโครงการที่พักอาศัยที่ใกล้กับเส้นทางระบบคมนาคมขนส่งซึ่งมาจากการพัฒนาของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และมีมูลค่าสวนทางกับความสามารถในการซื้อที่พักอาศัยของประชาชนในพื้นที่ ทำให้ประชาชนบางกลุ่มขาดความสามารถในการซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยในทำเลที่เหมาะสม แม้ว่าประเทศไทยจะมีนโยบายส่งเสริมการจัดให้มีหรือพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือผู้อยู่อาศัยเดิมภายในพื้นที่โครงการตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 โดยมีมาตรการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ของที่ดิน อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวยังไม่มีภาคเอกชนเข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัย แสดงให้เห็นว่ามาตรการส่งเสริมของภาครัฐที่ออกมานั้นยังไม่สร้างแรงจูงใจมากพอที่ภาคเอกชนจะเข้าร่วมโครงการ ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงศึกษาถึงปัญหาของมาตรการส่งเสริมของประเทศไทย และมาตรการส่งเสริมประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมและการนำมาปรับใช้กับมาตรการส่งเสริมของประเทศไทย จากการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการส่งเสริมของประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีมาตรการยกเว้นภาษีทรัพย์สินเพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับความสามารถในการจ่ายในนครนิวยอร์ก ซึ่งการประเมินภาษีและการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของนครนิวยอร์กนั้นมีความคล้ายคลึงกับการประเมินภาษีและการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศไทย จึงสามารถนำมาตรการยกเว้นภาษีทรัพย์สินของประเทศสหรัฐอเมริกามาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเข้าร่วมโครงการของผู้ประกอบการได้ ดังนั้น หากประเทศไทยต้องการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับความสามารถในการจ่าย เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยของประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยในทำเลที่เหมาะสม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ประเทศไทยควรนำมาตรการทางภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใช้กับประเทศไทย โดย (1) พิจารณาปรับลดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่างการก่อสร้างและช่วงเปิดโครงการในอัตราที่เหมาะสมแทนการยกเว้นภาษีทั้งจำนวน ซึ่งจะทำให้มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีไปพัฒนากรุงเทพมหานครในด้านอื่น ๆ ต่อไป (2) กำหนดหลักเกณฑ์ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ (3) มีวิธีการตรวจสอบความคืบหน้าและความเป็นไปได้ของโครงการเพื่อพิจารณาในการให้สิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการทุจริตหรือการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ไม่เป็นธรรม (4) ผลักดันให้มีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยประเภทเช่าโดยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อช่วยสร้างแรงจูงใจให้เจ้าของที่ดินหรือผู้ประกอบการที่ต้องการประกอบกิจการที่พักอาศัยสำหรับเช่าได้ร่วมพัฒนาที่อยู่อาศัยภายใต้นโยบายของรัฐบาลมากยิ่งขึ้นen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.145-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสิทธิประโยชน์ทางภาษีen_US
dc.subjectที่อยู่อาศัยen_US
dc.titleมาตรการภาษีเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่ทุกคนจ่ายได้en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subject.keywordการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างen_US
dc.subject.keywordโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2022.145-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480209034.pdf966.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.