Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82134
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศารทูล สันติวาสะ-
dc.contributor.authorไพบูลย์ ชีรชานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-05-30T08:47:10Z-
dc.date.available2023-05-30T08:47:10Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82134-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาปัญหาภาระหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งและสิ่งอำนวยความสะดวกในกิจการปิโตรเลียม ซึ่งกิจกรรมการรื้อถอนดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากและควรเป็นหน้าที่และรับผิดชอบของใครจึงจะเหมาะสมและไม่เป็นการสร้างภาระต้นทุนแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกินความจำเป็น ตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ได้รับการแก้ไขครั้งที่ 5 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 80/1 และ 80/2 เพื่อวางหลักเกณฑ์หน้าที่ของผู้รับสัมปทานหรือผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งและสิ่งอำนวยความสะดวกในกิจการปิโตรเลียม และการวางหลักประกันการรื้อถอน ในกรณีที่สิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานได้ส่งมอบสิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมให้แก่รัฐและรัฐเห็นสมควรนำสิ่งติดตั้งนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อนั้น กฎกระทรวง กำหนดแผนงาน ประมาณการค่าใช้จ่ายและหลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. 2559 ข้อ 22 ได้กำหนดให้ผู้รับสัมปทานรายเดิมมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดปัญหาข้อพิพาทระหว่างผู้รับสัมปทานกับรัฐและเป็นการสร้างภาระที่เกินความจำเป็นแก่ผู้รับสัมปทานรายเดิม จากการศึกษากฎหมายประเทศไทยโดยเปรียบเทียบกับกฎหมายสหราชอาณาจักรและกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าในกรณีที่สิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมที่ผู้รับสัมปทานได้ส่งมอบสิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมให้แก่รัฐและรัฐเห็นสมควรนำสิ่งติดตั้งนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อนั้น กฎหมายสหราชอาณาจักรและกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกามีแนวทางที่ไม่เป็นการสร้างภาระที่เกินความจำเป็นแก่ผู้รับสัมปทานซึ่งสามารถนำมาใช้ในการแก้ไขกฎหมายประเทศไทยได้ 2 แนวทางดังนี้ แนวทางแรก กำหนดให้ผู้โอนสิทธิ์และผู้รับโอนสิทธิ์ในสัญญาสัมปทานมีภาระเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ในช่วงที่ผู้โอนสิทธิ์เป็นผู้ถือครองสิทธิผลประโยชน์และพันธะในสัญญาสัมปทาน และกำหนดให้ผู้โอนสิทธิและผู้รับโอนสิทธิ์ในสัญญาสัมปทานต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนตามสัดส่วนการถือครองสิทธิผลประโยชน์และพันธะในสิ่งติดตั้งนั้นในสัญญาสัมปทานหรือตามสัดส่วนการใช้งาน ซึ่งคำนวณตามสัดส่วนปริมาณการผลิตปิโตรเลียมสะสมเทียบกับปริมาณปิโตรเลียมทั้งหมด แนวทางที่สอง กำหนดให้ผู้รับโอนสิทธิ์สัญญาสัมปทานมีภาระเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งในกรณีดังกล่าว ผู้รับโอนต้องได้รับการประเมินความแข็งแกร่งทางการเงิน โดยคำนึงถึงความสามารถในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรื้อถอนให้สอดคล้องกับมูลค่าสุทธิของผู้รับโอนสิทธิ์สัญญาสัมปทาน มีการประเมินความเสี่ยงทางการเงินและทำความเข้าใจถึงแผนงานในอนาคตเพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่าผู้รับโอนที่เข้ามานั้นสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งได้en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.128-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกิจการปิโตรเลียม -- ค่าใช้จ่ายen_US
dc.subjectสัมปทานปิโตรเลียมen_US
dc.titleปัญหาหน้าที่และความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการรื้อถอนสิ่งติดตั้งในกิจการปิโตรเลียมเป็นการสร้างภาระต้นทุนเกินความจำเป็นแก่ผู้รับสัมปทานจากรัฐ : ศึกษากรณีการผลักภาระต้นทุนการรื้อถอนให้แก่ผู้รับสัมปทานรายเดิมen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subject.keywordกิจการปิโตรเลียมen_US
dc.subject.keywordการรื้อถอนen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2022.128-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480227334.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.