Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82153
Title: | แนวทางในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของเรือยอร์ชและยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ |
Authors: | วิรงรอง นัยวัฒน์ |
Advisors: | ทัชมัย ฤกษะสุต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Subjects: | ภาษีสรรพสามิต การเดินเรือยอชต์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เรือยอชต์เป็นยานพาหนะทางน้ำที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 โดยเรือยอชต์เป็นเรือที่มีคุณลักษณะเฉพาะแตกต่างจากเรือที่ใช้ในการสัญจรทางน้ำโดยทั่วไป และเป็นที่ทราบกันดีว่าเรือยอชต์เป็นสินค้าที่มีมูลค่าราคาสูงและมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงดูแลรักษาค่อนข้างสูง จากข้อจำกัดที่กล่าวข้างต้นทำให้มีผู้บริโภคเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่จะมีความสามารถในการจับจ่ายเพื่อเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ครอบครองเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญได้ ซึ่งเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญถือเป็นสินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือยโดยสภาพสำหรับบุคคลทั่วไป แต่อาจไม่ได้เป็นสินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือยสำหรับบุคคลที่มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวย ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลอันสมควรที่ภาครัฐจะต้องมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญตามหลักผลประโยชน์ที่ได้รับและหลักความสามารถในการเสียภาษี ประเทศไทยมีมาตรการทางภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของเรือยอร์ชและยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 คือ ประเภทที่ 08.01 สินค้าเรือ โดยกำหนดให้อัตราภาษีสรรพสามิตของเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญอยู่ที่อัตราร้อยละ 50 ตามมูลค่า ต่อมาได้มีกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ให้มีการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญให้เหลืออัตราร้อยละ 0 โดยวัตถุประสงค์ในการลดอัตราภาษีคือ เพื่อประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ต้องการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ซึ่งการที่ภาครัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญได้ ทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้มหาศาลจากการจัดเก็บภาษีเพื่อจะนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศชาติและก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีทำให้เกิดช่องว่างทางสังคมเพิ่มมากขึ้นระหว่างคนรวยและคนจน หากเปรียบเทียบกับประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์และประเทศกรีซ ซึ่งมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศ จะพบว่าทั้งสองประเทศยังคงมีมาตรการทางภาษีเพื่อใช้ในการควบคุมการบริโภค สำหรับเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ โดยประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์จัดเก็บภาษี สรรพสามิต ในอัตราร้อยละ 20 จากราคาขายหรือมูลค่า ในขณะที่ประเทศกรีซจัดเก็บภาษีเรือสันทนาการและเรือ ท่องเที่ยวรายวัน โดยเริ่มต้นจัดเก็บภาษีจากเรือที่ล่องในน่านน้ำกรีซที่ขนาดความยาวตั้งแต่7 เมตรขึ้นไป ซึ่งจะต้อง เสียภาษี16 € ต่อเดือน หรือ 192 € ต่อปีโดยขนาดของเรือยิ่งมีความยาวมากก็จะต้องเสียภาษีมากขึ้น ดังนั้นประเทศไทยควรมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความ สำราญเช่นในอดีตที่เคยปฏิบัติมา โดยกำหนดอัตราภาษีอยู่ที่ร้อยละ 20-30 เพื่อทำให้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตชองเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญของประเทศไทยเกิดความเป็นธรรมสอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดี นอกจากนี้มาตรการทาง กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะต้องมีการกำหนดให้มีความชัดเจนสอดคล้องกันไปด้วย ซึ่งได้แก่การกำหนดคำนิยามของเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญจะต้องมีความชัดเจน โดยจะต้องมีการระบุถึงลักษณะ ประเภท ขนาด หรือน้ำหนักของเรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญที่จะทำการจัดเก็บภาษี ดังนั้นภาครัฐจึงควรที่จะประสานกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ ให้มีความชัดเจนและความสอดคล้องกัน เพื่อขจัดปัญหาโต้แย้งในการตีความคำนิยามและลดการใช้ดุลยพินิจของผู้ที่เกี่ยวข้อง และทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82153 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.167 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2022.167 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6480239934.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.