Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82161
Title: แนวทางในการนำมาตรการการจัดเก็บภาษีจากการผลิต การนำเข้า และการจำหน่ายปูนซีเมนต์มาปรับใช้ในประเทศไทย
Authors: ศวรรยารัตน์ อรรถีโสต
Advisors: ทัชมัย ฤกษะสุต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: กฎหมายสิ่งแวดล้อม
ปูนซีเมนต์ -- แง่สิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ก่อให้เกิดมลพิษหลายประการ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหาความเสื่อมโทรมของป่าไม้ ปัญหาจากการชะล้างพังทลายของดิน ปัญหามลพิษทางอากาศ มลพิษเสียง ความสั่นสะเทือน ปัญหาผลกระทบด้านการคมนาคมขนส่ง ปัญหาผลกระทบด้านสุนทรียภาพ และแหล่งธรรมชาติอันควรแก่การอนุรักษ์ ปัญหาผลกระทบต่อสังคมท้องถิ่นส่งผลให้เกิดความเสียหายด้านการใช้ชีวิตประจำวัน และปัญหาด้านสุขภาพต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาจากฝุ่นละอองส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง วัตถุประสงค์ของเอกัตศึกษานี้มุ่งศึกษาถึงมาตรการภาษีจากการผลิต การนำเข้า และการจำหน่ายปูนซีเมนต์ของรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรการชดเชย และเยียวยาความเสียหายสิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย Comprehensive Environmental Response, Compensation, and Liability Act หรือที่เรียกว่ากฎหมาย CERCLA ของประเทศสหรัฐอเมริกา กับมาตรการกฎหมายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่มีการใช้ในปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยขาดมาตรการการเยียวยาด้านสิ่งแวดล้อมและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการผลิตปูนซีเมนต์ โดยปัจจุบันภาครัฐมีมาตรการกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการมลพิษจากการผลิตปูนซีเมนต์หลายมาตรการ แต่เป็นเพียงมาตรการในการควบคุมและบำบัดมลพิษเท่านั้น ส่วนผู้ประกอบการบางรายมีการทำกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility หรือ CSR) ซึ่งเป็นความสมัครใจในการดำเนินการของผู้ผลิตปูนซีเมนต์ ซึ่งไม่ถือเป็นมาตรการบังคับทางกฎหมายแต่อย่างใด ประการสำคัญหากผู้เสียหายจะดำเนินการฟ้องร้องค่าเสียหายต้องใช้ระยะเวลาในกระบวนการฟ้องร้องเป็นระยะเวลานาน ทั้งต้องมีการพิสูจน์ความเสียหาย และเสียค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องเป็นจำนวนมาก จากการศึกษามาตรการภาษีจากการผลิต การนำเข้า และการจำหน่ายปูนซีเมนต์ของรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา หากมีการนำมาปรับใช้กับประเทศไทย โดยการกำหนดให้ผู้รับผิดชอบเสียภาษี คือ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้บริโภคขั้นสุดท้าย เป็นผู้มีหน้าเสียภาษี สอดคล้องกับหลักการจัดการสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ซึ่งเป็นการให้ผู้ก่อมลพิษแสดงความรับผิดชอบ และได้ตระหนักถึงมลพิษที่ตนได้ก่อ โดยอัตราภาษีที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 0.5%-1% หรือราคาตันละ 12 บาท โดยควรกำหนดให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นหน่วยงานจัดเก็บภาษี ทั้งนี้จะทำให้องค์กรปกครองสวนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถนำเงินภาษีที่จัดเก็บได้มาบริหาร ใช้จ่ายเพื่อการเยียวยาสิ่งแวดล้อม ผู้ได้รับผลกระทบ ปรับปรุงทัศนียภาพ โดยไม่ต้องเบิกเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง ประการที่สำคัญ คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบได้รับการเยียวยาโดยตรง อันเป็นผลจากการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บรายได้เอง และมีอำนาจในการจัดสรรการใช้รายได้นี้ ส่งผลให้ไม่มีความจำเป็นในการรอเบิกเงินอุดหนุนจากส่วนกลางซึ่งใช้ระยะเวลานาน ทั้งงบประมาณอาจไม่เพียงพอ ส่งผลให้การเยียวยานั้นไม่ทั่วถึงและอาจไม่ทันเวลา
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82161
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.169
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2022.169
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480243334.pdf31.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.