Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82212
Title: | การพัฒนาหลักสูตรป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดในคดีการเสพยาติดบนฐานทฤษฏีและแนวคิดทางจิตวิทยา |
Other Titles: | Development of a recidivism prevention curriculum based on psychological theories and concepts for drug addicted female inmates. |
Authors: | ชนัญชิดา ทุมมานนท์ ทิพยาพร ภาววิมล ดุสิดา ทินมาลา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | นักโทษหญิง |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มูลนิธิ ณภาฯ ในพระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาหลักสูตรการอบรมที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มความเมตตา กรุณาต่อตนเอง ลดบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม เพิ่มความรู้สึกผิด และเพิ่มความหวังของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดก่อนการพ้นโทษ เพื่อไม่ให้กลับไปกระทำผิดซ้ำ ตามทฤษฎีและแนวคิดทางจิตวิทยาการศึกษา จำนวน 5 แนวคิด และเพื่อศึกษาผลจากการนำหลักสูตรการอบรมไปใช้ในสภาพการณ์จริง และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของผู้เข้าร่วมการอบรมก่อนและหลังการเข้าร่วมหลักสูตรการอบรม แบ่งขั้นตอน การดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ คือ 1) การสร้างและพัฒนาหลักสูตร มีเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกเนื้อหา การทบทวนวรรณกรรม แบบสังเคราะห์การทบทวนวรรณกรรม และแบบประเมินการออกแบบกิจกรรมตามทฤษฎี และ 2) การศึกษาผลจากการนำหลักสูตรการอบรมไปใช้ในสภาพการณ์จริงกับผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดในคดี ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด จำนวน 41 คน ในจำนวนนี้เป็นตัวอย่างการวิจัย จำนวน 37 คน มีเครื่องมือที่ใช้ คือ หลักสูตรการอบรม แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป มาตรวัดความเมตตากรุณาต่อตนเอง มาตรวัดบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม มาตรวัดความรู้สึกผิด มาตรวัดความหวัง แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเข้าใจ กระบวนกรและตรวจสอบการดำเนินงานตามแผน ผลปรากฏว่า การดำเนินงานในระยะที่ 1 ได้ผลผลิต คือ หลักสูตรการอบรมโครงการ “ก่อร่างสร้างใจ” ที่ประกอบด้วยหัวข้อการจัดกิจกรรม จำนวน 30 ครั้ง และการดำเนินงานในระยะที่ 2 พบว่า หลักสูตรการอบรมโครงการ “ก่อร่างสร้างใจ” สามารถเพิ่มความเมตตากรุณาต่อตนเอง (ก่อน, M=3.57, และหลัง, M=3.96) ลดบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม (ก่อน, M=1.96, และหลัง, M=1.82) เพิ่มวามรู้สึกผิด (ก่อน, M=3.34, และหลัง, M=3.67) และเพิ่มความหวัง (ก่อน, M=4.53, และหลัง, M=4.70) ได้ โดยภาพรวมสามารถดำเนินการจัดกิจกรรมได้ตามแผนการดำเนินการและ/หรือปรับรูปแบบของกิจกรรมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์จริงเฉพาะหน้า แต่ยังคงวัตถุประสงค์ตามแผนการจัดหลักสูตรการอบรมไว้มากที่สุด คิดเป็นร้อ ยละ 80.00 และมีผู้เข้าร่วมการอบรมที่เข้าร่วมการอบรมมากกว่าร้อยละ 80 จำนวน 34 คน ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป คือ ควรวิเคราะห์ธรรมชาติและข้อจำกัดของผู้ต้องขัง ออกแบบกิจกรรมให้มีความเป็นรูปธรรม มีการประเมินผลที่หลากหลายและกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน เพิ่มความคงทนของการเรียนรู้ และควรมีการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้นำหลักสูตรการอบรมไปใช้ |
Other Abstract: | This research had 2 objectives: (1) to develop a training curriculum that lead to enhance self-compassion, guilt, and hopes and to reduce antisocial personality of female drug-related inmates before releasing state in order not to reoffend based on 5 educational psychology theories and concepts; and ( 2 ) to study the results of implementing the curriculum in a real situation and analyze the participants’ changes before and after attending this training. There were 2 phases including curriculum development and implementation. In the curriculum development step, the instruments consisted of a content feature record form, a literature review, a literature synthetical form, and an activity design evaluation form. In the curriculum implementation step, 4 1 subjects participated in the training and the research instruments were a training curriculum, a general information questionnaire, 4 scales of self-compassion, antisocial personality, guilt, and hope, semi-structured interview form, and facilitators’ comprehensive and performance assessment form. In the first phase of this research, a ‘Kor-Rang-Sang-Jai’ training curriculum including 3 0 activities was developed. The second phase found that the training curriculum was able to enhance self-compassion (pre, M=3.57, and post, M=3.96), guilt (pre, M=3.34, and post, M=3.67), and hope (pre, M=4.53, and post, M=4.70). In the contrary, this training curriculum was able to reduce antisocial personality (pre, M=1.96, and post, M=1.82). In the overall, facilitators were able to follow the training plan and/or adapt some activities if needed. Anyhow, all the curriculum objectives were completed at 80.00 percent and 34 participants could complete 80 percent of the training. The suggestions for the further research include ( 1 ) the nature and limitation of inmates should be analyzed; ( 2 ) the activities should be more concrete; ( 3 ) various kinds of evaluation and clear scoring criteria should be focused; ( 4 ) the learning retention should be considered; and (5) a facilitator preparation needs to be conducted prior to implementing the program. |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82212 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.RES.2023.3 |
ISBN: | 9786169424512 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.RES.2023.3 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ISBN_9786169424512.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 255.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.