Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82251
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดรุณวรรณ สุขสม-
dc.contributor.advisorสรินยา ศรีเพชราวุธ-
dc.contributor.authorสุบิน สาวะธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2023-08-04T04:28:20Z-
dc.date.available2023-08-04T04:28:20Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82251-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการใช้สหประสาทความรู้สึกต่อการคิดและการวางแผนการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิตในเด็กออทิสติกสเปกตรัม กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กออทิสติกสเปกตรัมที่มีปัญหาด้านการคิดและการวางแผนการเคลื่อนไหว จำนวน 20 คน แบ่งเป็น กลุ่มควบคุม ซึ่งได้รับการเรียนรู้ตามปกติ จำนวน 10 คน และกลุ่มทดลอง ซึ่งได้รับการฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการใช้สหประสาทความรู้สึก จำนวน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ จำนวน 10 คน ประเมินผลด้านการคิดและการวางแผนการเคลื่อนไหว และคุณภาพชีวิตก่อนและหลังเข้าร่วมการวิจัย 12 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า ภายหลัง 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนด้านการคิดและการวางแผนการเคลื่อนไหวที่เพิ่มขึ้นและมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มควบคุมมีคะแนนคุณภาพชีวิตต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มทดลองมีคะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกด้วยกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการใช้สหประสาทความรู้สึกช่วยเพิ่มทักษะด้านการคิดและการวางแผนการเคลื่อนไหว ทั้งยังส่งเสริมทำให้คุณภาพชีวิตของเด็กออทิสติกสเปกตรัมที่มีปัญหาด้านการคิดและการวางแผนการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้นอีกด้วย-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to determine the effects of combining movement activities and multisensory on praxis and quality of life in children with autistic spectrum disorder. Twenty children with autistic spectrum disorder, who had praxis problem, were randomly allocated into control group (n=10) and intervention group (n=10). Participants in control group had normal daily living. Those in intervention group received complete 2 times a week of combining movement activities and multisensory for 12 weeks. The praxis and quality of life were assessed at before and after 24 times of training. The results indicated that after 12 weeks, praxis abilities values increased significantly only in the intervention group (p < .05). Qualities of life score decreased significantly (p < .05) in the control group but increased significantly in the intervention group (p < .05). The intervention group had higher qualities of life score than the control group (p <.05). In conclusion, the combining movement activities and multisensory promoted a favorable effects in praxis abilities and improved qualities of life in children with autistic spectrum disorder who had praxis problem.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.844-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationHealth Professions-
dc.subject.classificationHuman health and social work activities-
dc.titleผลของชุดกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการใช้สหประสาทความรู้สึกต่อการคิดและการวางแผนการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิตในเด็กออทิสติกสเปกตรัม-
dc.title.alternativeEffects of combining movement activities and multisensory on praxis and quality of life in children with autistic spectrum disorder-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.844-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270031139.pdf9.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.