Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82301
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปชาณัฏฐ์ นันไทยทวีกุล-
dc.contributor.authorสิริรัตน์ สิริสุรชัชวาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T05:27:04Z-
dc.date.available2023-08-04T05:27:04Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82301-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัสต่ออาการปวดของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป อายุ 20-59 ปี เข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลชลบุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดแบบเจาะจงเข้ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ 22 คน และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัส 22 คน ระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมิน Short Form McGill Pain Questionnaire (SFMPQ) และแบบประเมินการจัดการตนเอง (SM) ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมินโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาชเท่ากับ 0.70 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา, Dependent Sample t-test และ Independent Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง ภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัส มีอาการปวดต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง กลุ่มหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัส มีอาการปวดต่ำกว่ากลุ่มหลังได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativeThis quasi-experimental research aimed to determine the effect of self-management program emphazing multifidus exercise on pain among patients with chronic low back pain. The subjects were  patients with chronic low back pain for more than 3 months, aged 20-59 years, visit to the orthopedic out-patient clinic in Chonburi Hospital. The subjects were purposively selected specific criteria and divided into 22 patients who received normal nursing care and 22 patients who received self-management program emphazing multifidus exercise for 6 weeks. Research tools were personal information, Short Form McGill Pain Questionnaire (SFMPQ) and Self-Management (SM) questionnaire. The reliability (Cronbach' alpha) of SFMPQ and SM questionnaire were 0.70 and 0.81. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The result show that: 1) Patients with Chronic Low Back Pain, after received self-management program emphazing multifidus exercise, the pain score was significantly lower than the pre-program (p<.05) 2) Patients with Chronic Low Back Pain, after received self-management program emphazing multifidus exercise, the pain score was significantly lower than the control group which received normal nursing care (p<.05)-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.482-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบมัลติฟิดัสต่ออาการปวดของผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง-
dc.title.alternativeThe effect of self–management program emphazing multifidus exercise on pain among persons with chronic low back pain-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.482-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270018236.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.