Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82419
Title: | Financial feasibility study of incremental modified drugs development by domestic pharmaceutical industry |
Other Titles: | การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการเงินของการพัฒนารูปแบบยาสำหรับยาใหม่ชนิดที่เป็นตัวยาเดิมโดยอุตสาหกรรมการผลิตยาภายในประเทศ |
Authors: | Manthana Laichapis |
Advisors: | Rungpetch Sakulbumrungsil |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | The Thai pharmaceutical industry aims to achieve self-reliance in vaccines, drugs, and biologics as per the National Strategic Master Plan. Challenges include low research capacity and higher drug imports compared to domestic production. To promote self-reliance, more research on incrementally modified drugs (IMDs) is essential. This study analyzes the financial feasibility of developing IMD dosage forms for policy and investment decisions. A mixed-method approach, including type selection, investment models, cost structures, and financial analysis, was employed. Results favor sustained release, oro-dispersible tablet, and nasal spray formulations. IMD research and development took 7 to 13 years due to formulation complexity and higher failure rates. Development costs ranged from 50.95 to 708 million THB. Longer payback periods correlated with lower annual income requirements, influenced by factors like drug life cycle, sales growth rate, competition, and government policies. The findings underscore the importance of clinical studies, research duration, drug selection, and market feasibility in investment decisions. Policymakers can utilize this insight to foster the growth and sustainability of Thailand's pharmaceutical sector. |
Other Abstract: | อุตสาหกรรมยาในประเทศไทยได้เน้นการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองในระยะยาวผ่านการวิจัยและพัฒนา วัคซีน ยาและผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ อย่างไรก็ตามด้วยสถานการณ์ปัจจุบันมูลค่ายานำเข้ามีค่าสูงกว่ายาที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมภายในประเทศ แสดงให้เห็นว่าศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาของอุตสาหกรรมยาภายในประเทศจำเป็นต้องมีการพัฒนา ซึ่งการวิจัยยาใหม่จากยาเคมีเดิม (IMDs) เป็นการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมสามารถพึ่งพาตนเองได้และมีเสถียรภาพ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นไปได้ด้านการเงินในการพัฒนายา IMDs เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายและการลงทุน วิธีการการศึกษาเป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยกระบวนการ ได้แก่ การเลือกประเภทของ IMDs การพัฒนาแบบจำลองให้เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมยาภายในประเทศ การระบุโครงสร้างต้นทุนและการประมาณค่าที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตยา IMDs และการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของ IMDs รวมถึงการวิเคราะห์ความอ่อนไหวและการวิเคราะห์สถานการณ์ทางอุตสาหกรรม ผลการศึกษาพบว่า ยาออกฤทธิ์เนิ่น ยาเม็ดแตกตัวในปากและยาพ่นจมูกเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมยาในประเทศ เมื่อใช้แบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ตามช่วงเวลาของการคืนทุนที่นักลงทุนรับได้พบว่า การวิจัยและพัฒนารูปแบบยาเหล่านี้ใช้เวลา 7-13 ปี ซึ่งนานกว่ายาสามัญใหม่เนื่องจากการพัฒนาสูตรตำรับและอัตราการล้มเหลวที่สูงกว่า ต้นทุนในการพัฒนายาเหล่านี้อยู่ระหว่าง 50.95 - 708 ล้านบาท โดยรายได้ที่นักลงทุนจะต้องทำได้เพื่อให้คืนทุน ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของการคืนทุนที่คาดหวังและระยะเวลาในการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา โดยช่วงเวลาการคืนทุนที่ยาวนำไปสู่ความต้องการรายได้ต่ำลง นอกจากนี้ปัจจัยเช่น วงจรชีวิตของยา อัตราการเติบโตของยอดขาย การแข่งขัน และนโยบายของรัฐล้วนมีผลต่อความเป็นไปได้ สรุปได้ว่าเพื่อให้เกิดการพัฒนายาใหม่ภายในประเทศควรได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนายาใหม่อย่างยั่งยืน |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2022 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Social and Administrative Pharmacy |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82419 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.327 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2022.327 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6478002033.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.