Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82479
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศศิธร ปรีชาวุฒิเดช-
dc.contributor.authorรักษ์พล สุระขันธ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T06:08:02Z-
dc.date.available2023-08-04T06:08:02Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82479-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของกลุ่มประสบการณ์รังแกและการใช้รูปแบบการเผชิญปัญหาของกลุ่มประสบการณ์รังแกของกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (อายุ 12-15 ปี) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 376 คน โดยใช้ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม พ.ศ.2561 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, The revised Olweus bully/victim questionnaire และ แบบวัดการเผชิญปัญหาของวัยรุ่น (Adolescent Coping Scale)  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ กลุ่มทั้งผู้รังแกและถูกรังแกร้อยละ 39.89,กลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องร้อยละ 30.59, กลุ่มผู้ถูกรังแกมีร้อยละ 23.67 และกลุ่มผู้รังแกร้อยละ 5.85 ทั้ง 4 กลุ่มมีรูปแบบการเผชิญปัญหาที่แตกต่างกันในแต่ละด้าน ด้านจัดการกับปัญหาโดยใช้ความสามารถของตนเอง กลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องมีคะแนนรูปแบบเผชิญปัญหาด้านนี้มากที่สุด, ด้านจัดการกับปัญหาโดยใช้แหล่งสนับสนุนอื่นๆและด้านหลีกเลี่ยงปัญหา กลุ่มผู้ถูกรังแกมีคะแนนรูปแบบการเผชิญปัญหาด้านนี้มากที่ รูปแบบการเผชิญปัญหาเป็นวิธีที่จะใช้จัดการกับความเครียดแต่ละคนมีรูปแบบที่เหมือนหรือต่างกัน อย่างไรก็ตามฐานข้อมูลเรื่องรูปแบบการเผชิญปัญหาของกลุ่มประสบการณ์รังแกในไทยและต่างประเทศยังมีไม่มากและการศึกษาที่ผ่านมายังพบข้อสรุปที่ทั้งเหมือนและแตกต่างกัน  -
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this experimental research were to survey the percentage of bully/victim and coping styles. Data was collected from 376 middle school students (12-15 years-old) in Muang, Ubon Ratchathani, Thailand. The subjects were selected by simple random sampling. Data collection instruments included a socio-demographic questionnaire, The revised Olweus bully/victim questionnaire and the Adolescent Coping Scale. Data was analyzed using descriptive statistics.           The results revealed that The percentage of middle school students have bullies/victims(both) 39.89%, non-involved 30.59%, bullies 23.67% and victims 5.85% . The non-involved has the highest score in “solving the problem” which is different from the others. The victims have the highest score in “reference to others” and “non-productive coping” which is different from the others.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1430-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationPsychology-
dc.subject.classificationHuman health and social work activities-
dc.titleรูปแบบการเผชิญปัญหาและการรังแกกันในโรงเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี-
dc.title.alternativeCoping styles and bullying among middle school students in Muang, Ubon Ratchathani-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสุขภาพจิต-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1430-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074028530.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.