Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82528
Title: การศึกษาเพื่อระบุหาสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายจากลมหายใจที่จำเพาะต่อมะเร็งตับอ่อน และ เนื้องอกถุงน้ำตับอ่อน เทียบกับประชากรที่ไม่มีรอยโรคตับอ่อน
Other Titles: Identification of specific volatile organic compound (VOCs) inexhaled breath to distinguish pancreatic ductal adenocarcinoma,pancreatic cystic neoplasm and patients without pancreatic-lesion
Authors: ณัฐนิช ปึงพิพัฒน์ตระกูล
Advisors: รุ่งฤดี ชัยธีรกิจ
เกศินี เธียรกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทนำ การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อระบุสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compounds; VOC) ในลมหายใจ ที่มีความจำเพาะต่อผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน และผู้ป่วยเนื้องอกถุงน้ำตับอ่อน เมื่อเปรียบเทียบกับ ประชากรที่ไม่มีรอยโรคตับอ่อน วิธีการวิจัย ผู้วิจัยทำการศึกษาแบบภาคตัดขวางระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงมกราคม พ.ศ.2566 โดยประชากรที่ศึกษาได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนที่มีผลตรวจยืนยันทางพยาธิวิทยา กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกถุงน้ำตับอ่อนชนิด intrapapillary mucinous neoplasm (IPMN) ที่มีผลตรวจทางรังสีวิทยายืนยัน และกลุ่มประชากรที่ไม่มีรอยโรคบริเวณตับอ่อน โดยเก็บลมหายใจด้วยเครื่องเก็บลมหายใจ (ReCIVA™ breath sample system) และระบุสาร VOCs ด้วยเทคนิคเทอร์มอลดีซอฟชั่น แก๊สโครมาโตกราฟี/ฟิลด์เอซิมเมตริก ไอออนโมบิลิตี้สเปกโตรเมทรี (Thermal desorption/Gas chromatography/Field Asymmetric Ion Mobility Spectrometry, GC/FAIMS)และนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ผลการศึกษา มีผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสิ้น 156 คน แบ่งเป็นอาสาสมัครโรคมะเร็งตับอ่อน 54 คน อาสาสมัครที่มีเนื้องอกถุงน้ำตับอ่อนชนิด IPMN 42 คน และกลุ่มควบคุม 60 คน โดยร้อยละ 44 เป็นเพศชาย และมีอายุเฉลี่ย 62.6±10.6 ปี วิจัยนี้ตรวจพบ VOCs จากลมหายใจทั้งหมด 9 ชนิด โดยมี 2 ชนิดที่มีความแตกต่างกันระหว่างทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ dimethyl sulfide (0.94 Arbitrary Unit (AU) ในกลุ่มมะเร็งตับอ่อน 0.74 AU ในกลุ่มIPMN และ 0.73 ในกลุ่มควบคุม โดย p-value 0.008) เมื่อวิเคราะห์การถดถอยโลจีสติกเชิงพหุ (multivariable logistic regression analysis) พบว่า กลุ่มมะเร็งตับอ่อนมีระดับของ dimethyl sulfide ที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มIPMN และกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยค่า adjusted odd ratio (OR) เท่ากับ 4.56 (95% Confidence interval (CI): 1.03-20.20, p value 0.046) และ 6.98 (95% CI 1.15-42.17, p value 0.034) ตามลำดับ เช่นเดียวกันกับ ระดับของ acetone dimer ที่กลุ่มมะเร็งตับอ่อนพบค่าสูงกว่าสูงกว่ากลุ่มIPMN และกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่า adjusted OR เท่ากับ 3.35 (95% CI 1.47-7.63, p value 0.015) และ 5.12 (95% CI 1.80-14.57, p value 0.002) ) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบการใช้ Biomarker ในการวินิจฉัยผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนพบว่า acetone dimer มี AUROC เท่ากับ 0.920 ซึ่งมีค่าสูงกว่าค่าAUROCของ CA19-9 ซึ่งเท่ากับ 0.796 โดยเมื่อรวม acetone dimer กับค่า CA19-9 พบว่า AUROC เพิ่มขึ้นเป็น 0.936 ซึ่งสูงกว่าค่า CA19-9 เพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.020) สรุป สาร VOC ที่ตรวจพบในลมหายใจมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มมะเร็งตับอ่อน กลุ่มIPMN และกลุ่มควบคุมคือ dimethyl sulfide และ acetone dimer โดยสารทั้ง 2 ชนิดนี้ มีแนวโน้มจะใช้จำแนกผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนออกจากผู้ป่วยที่ไม่มีมะเร็งตับอ่อนได้ การนำมาใช้ในอนาคตจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม
Other Abstract: Background: This study aimed to identify exhaled breath volatile organic compounds (VOCs) to distinguish pancreatic adenocarcinoma (PDAC) from intraductal papillary mucinous neoplasm (IPMN) and healthy volunteers. Method: We conducted a cross-sectional study from 10/2021 to 1/2023. Exhaled breath from patients with histologically proven PDAC, radiological diagnosis IPMN, and healthy volunteers was collected using the ReCIVA® device. The VOCs were identified by thermal desorption-gas chromatography/field-asymmetric ion mobility spectrometry and compared between groups Result: 156 participants (44% male, mean age 62.6±10.6) were enrolled (54 PDAC, 42 IPMN, and 60 controls). Among the 9 VOCs identified, two VOCs that were different between controls, IPMN and PDAC groups were dimethyl sulfide (0.73 vs 0.74 vs. 0.94 arbitrary unit (AU), respectively; p=0.008), and acetone dimers (3.95 vs. 4.49 vs. 5.19 AU, respectively; p<0.001). After adjusting for the imbalance baseline parameters, PDAC showed higher dimethyl sulfide levels than the control and IPMN groups, with an adjusted odds ratio (aOR) of 6.98 (95%CI: 1.15-42.17) and 4.56 (1.03-20.20) respectively (p<0.05 both). Acetone dimer levels were also higher in PDAC than controls and IPMN (aOR: 5.12 (1.80-14.57) and aOR: 3.35 (1.47-7.63), respectively (p<0.05 both). Acetone dimer, but not dimethyl sulfide, performed better than CA19-9 in PDAC diagnosis (AUROC 0.910 vs. 0.796). The AUROC of acetone dimer 2 increased to 0.936 when combined with CA19-9, which is significantly better than CA19-9 alone (p<0.05). Conclusion: The VOCs that potentially distinguish PDAC from IPMN and healthy participants were dimethyl sulfide and acetone dimer. More prospective studies are required to validate these findings. 
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82528
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.1022
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.1022
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6470022230.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.