Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82538
Title: ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงานดับเพลิง กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Prevalence and associated factors of musculoskeletal discomfort among firefighters under the Bangkok Metropolitan Administration
Authors: นรมน เอี่ยมอารีรัตน์
Advisors: สุนทร ศุภพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงานดับเพลิง กรุงเทพมหานคร โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานและเจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 234 คน เก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ข้อมูลปัจจัยเกี่ยวกับการทำงาน แบบสอบถามอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างนอร์ดิกฉบับแปลภาษาไทย และการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง แรงบีบมือถนัด แรงเหยียดขา และความอ่อนตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่าความชุกของอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างที่ตำแหน่งใด ๆ อย่างน้อยหนึ่งตำแหน่งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา คือ ร้อยละ 60.26 โดยตำแหน่งที่พบอาการผิดปกติมากที่สุด คือ ไหล่ (ร้อยละ 35.04) หลังส่วนล่าง (ร้อยละ 30.77) และเข่า (ร้อยละ 20.94) ตามลำดับ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกโดยควบคุมตัวแปรกวนพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ณ ตำแหน่งใด ๆ อย่างน้อยหนึ่งตำแหน่ง ได้แก่ ประวัติการทำงานในอดีตหรือมีอาชีพเสริมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง (OR 3.0, 95% CI = 1.5 – 6.2) การมีประวัติสูบบุหรี่แต่เลิกสูบแล้ว (OR 2.2, 95% CI = 1.1 – 4.6) การมีประวัติดื่มแอลกอฮอล์แต่เลิกแล้ว (OR 2.8, 95% CI 1.2 – 6.5) ในส่วนของปัจจัยสมรรถภาพทางกาย พบว่าผู้ที่มีความอ่อนตัวต่ำมีแต้มต่อของการเกิดอาการผิดปกติสูง (OR 2.0, 95% CI 1.1 – 3.7) ในขณะที่ผู้ที่มีแรงบีบมือต่ำมีแต้มต่อของการเกิดอาการผิดปกติต่ำ (OR 0.5, 95% CI 0.3 – 1.0) จากผลการศึกษานี้ ผู้วิจัยแนะนำให้มีการรณรงค์ให้พนักงานดับเพลิงเลิกบุหรี่อย่างเด็ดขาด และเน้นย้ำให้ออกกำลังกายโดยเฉพาะการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ
Other Abstract: This cross-sectional descriptive study aimed to examine the prevalence and associated factors of musculoskeletal discomfort among 234 firefighters under Bangkok Metropolitan Administration. Data were collected during October and November 2022, from questionnaires including personal factors, work-related factors, the Nordic Musculoskeletal Questionnaire, and physical fitness tests – body weight, height, grip strength, leg strength, and flexibility. The results showed that the prevalence of musculoskeletal discomfort in at least one part of the body in the last 12 months was 60.26%, and the prevalence of the most affected body parts were 35.04% for the shoulders, 30.77% for the lower back, and 20.94% for the knees. Logistic regression analysis, adjusted for confounding factors, revealed that the factors associated with musculoskeletal discomfort in at least one part of the body were history of previous job or extra job being at risk for musculoskeletal discomfort (OR 3.0, 95% CI = 1.5 – 6.2), ex-smokers (OR 2.2, 95% CI = 1.1 – 4.6), and ex-alcohol drinkers (OR 2.8, 95% CI = 1.2 – 6.5). Regarding physical fitness, lower flexibility (OR 2.0, 95% CI = 1.1 – 3.7) and lower grip strength (OR 0.5, 95% CI = 0.3 – 1.0) were associated with musculoskeletal discomfort. The author suggests implementing health promotion programs for these firefighters, including a smoking cessation campaign and regular exercise emphasizing stretching.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82538
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.512
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.512
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6470037730.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.