Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82605
Title: พฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ของพ่อแม่คนไทย
Other Titles: Sharenting behaviors of Thai parents
Authors: ณัฐสริดา จันทร์น้อย
Advisors: มรรยาท อัครจันทโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ของพ่อแม่คนไทย 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ของพ่อแม่คนไทย โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย แบบสอบถามออนไลน์เป็นพ่อแม่คนไทย จำนวน 412 คน ที่มีอายุระหว่าง 18 – 45 ปี และมีลูกอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึก พ่อแม่คนไทย 6 ประเภท ประเภทละ 2 คน รวมทั้งหมด 12 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 93.4 เป็นพ่อแม่ที่แบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ด้วยเหตุผลสำคัญคือ แรงจูงใจด้านอารมณ์ แรงจูงใจด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และแรงจูงใจด้านเทคโนโลยีส่วนพ่อแม่ที่ไม่แบ่งปันเนื้อหาลูกมีเหตุผลสำคัญ คือ เรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว และเกรงผลกระทบด้านลบที่มีต่อลูกในอนาคต ทั้งนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่เริ่มแบ่งปันเนื้อหาในช่วงขวบปีแรกของลูก โดยแบ่งปันด้วยความถี่น้อยกว่าเดือนละครั้ง ผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก และมีการตั้งค่าผู้เข้าถึงเนื้อหา อย่างไรก็ตามพ่อแม่ส่วนใหญ่เลือกขอความยินยอมจากลูกก่อนแบ่งปันเนื้อหาเพียงบางครั้ง และมีถึงร้อยละ 22.1 ที่ไม่เคยขอความยินยอมจากลูกก่อนแบ่งปันเนื้อหาเลย ด้วยเหตุผลเรื่องลูกยังเด็ก ลูกยังไม่มีวิจารณญาณเพียงพอในการตัดสินใจ และมั่นใจว่าพ่อแม่เองสามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก ทั้งนี้ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยด้านความรู้ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ปัจจัยด้านเทคโนโลยี และปัจจัยด้านวัฒนธรรมและกระแสสังคม ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการขอความยินยอมจากลูกก่อนแบ่งปันเนื้อหา ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความรู้ ปัจจัยด้านอารมณ์ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านวัฒนธรรมและกระแสสังคม ปัจจัยด้านกฎหมายและปัจจัยด้านรางวัล ผลการวิจัยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ของพ่อแม่คนไทยสามารถสร้างพื้นที่แบ่งปันเรื่องราวที่เป็นความสุข ความทรงจำและเชื่อมสัมพันธ์กับผู้อื่น อย่างไรก็ตามในการแบ่งปันเนื้อหาลูกบนสื่อสังคมออนไลน์ พ่อแม่ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางลบต่อลูกที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวและการเปิดให้ลูกร่วมตัดสินใจในเรื่องของลูกที่มักถูกละเลยจากพ่อแม่คนไทย  
Other Abstract: The objectives of this research were to study 1) the sharenting behavior of Thai parents, 2) the factors affecting their sharenting behavior of Thai parents By using a mixed research methodology consisting of an online questionnaire among 412 Thai parents aged between 18 - 45 years and having children under 18 years of age, together with in-depth interviews, of Thai parents 6 types, each of 2 people, total 12 people.The results showed that 93.4 percent of the sample are parents who share their sharenting behavior. The important reason is emotional motivation Social Interaction Motivation and technology incentives As for parents who do not share their children's content, there is an important reason for privacy rights. and fear negative impacts on children in the future Most parents start sharing content during their child's first year. by sharing less often than once a month through the Facebook platform and set who can access the content However, most parents choose to obtain their child's consent before sharing content only occasionally. And up to 22.1 percent never asked their child's consent before sharing content. For the reason that the child is still young Children still do not have enough judgment to make decisions. And ensure that parents can choose the best for their children. However, factors related to sharenting behavior consist of knowledge factors. social interaction factor technology factor cultural factors and social trends factors related to obtaining consent from children before sharing content consisted of personal factors. knowledge factor emotional factor social interaction factor technology factor cultural factors and social trends legal factors and reward factors.The results of this research reflect that the sharenting behavior of Thai parents can create a space to share happy stories. Memories and connections with others However, when sharenting behavior  Parents must consider the negative impact on their children. that may occur both now and in the future especially about the right to privacy and listening to children Open for children to participate in making decisions about children  
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82605
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.616
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.616
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480017328.pdf10.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.