Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82613
Title: An analysis of success and popularity of Thai boy love series among Chinese fan
Other Titles: การวิเคราะห์ความสำเร็จและความนิยมซีรีส์วายไทยในกลุ่มแฟนในประเทศจีน
Authors: Yueying Zheng
Advisors: Thitinan Boonpap
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Communication Arts
Issue Date: 2022
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The Thai Boys Love series has gained popularity since the 2010s, notably in China. Chinese fans have demonstrated their ability to popularize the Thai Boys Love series by translating and reediting the material, as well as by purchasing goods promoted by their favorite celebrities and going to events hosted by the brands. This research aims to examine the success and popularity of the Thai Boys Love series among Chinese fans and to analyze Chinese fandom and fan economy, as well as their economic effect. As a result, this research used a mixed methodology that included textual analysis on the text of two series, I Told Sunset About You and KinnPorsche the Series, focus group discussions with two groups of 8–9 participants aged 16–26, and a questionnaire survey that has garnered 401 valid data. The investigation conducted has shown that the series' settings, including the filming locations with Chinese elements and the plot's color and tone settings and alterations, are significant. Chinese fans have to choose cloud connections shared on Wechat by the official accounts of fan subbing groups and other unproven platforms. Meanwhile, the most significant elements influencing their choices are gorgeous scenery and attractive story settings. The research, which used Caremate and Srichand as examples, revealed that attitude towards advertisements influenced by the endorser's attravtiveness, the product's fit, and congruency has a substantial impact on attitude toward the brand, which mostly affects purchasing intentions. Regarding the intention to attend events, attitude influenced by valuable souvenirs has largely also demonstrated their significance among subjective norms, perceived behavioral control, and itself.
Other Abstract: ปัจจุบันนี้ ละครซีรีส์วายของประเทศไทยได้รับความนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 2010 โดยเฉพาะในประเทศจีนนั้น แฟนคลับชาวจีนได้สร้างวัฒนธรรมกลุ่มแฟนของพวกเขาและสามารถทำให้ซีรีส์วายของประเทศไทยกลายเป็นที่นิยมมากขึ้นในต่างประเทศ โดยกลุ่มแฟนคลับชาวจีนได้มีการแปลซีรี่ส์วายของประเทศไทยจากภาษาไทยเป็นภาษาจีน นอกจากนี้ยังมีการตัดต่อเนื้อหาใหม่ รวมทั้งการไปเข้าร่วมงานกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยตราสินค้าที่มีผู้นำเสนอเป็นนักแสดงหรือดาราที่พวกเขาชื่นชอบ และการซื้อสินค้าของตราสินค้าเหล่านี้ ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสำเร็จและความนิยมของซีรีส์วายไทยในกลุ่มแฟนคลับชาวจีน และศึกษาวัฒนธรรมแฟนและเศรษฐกิจแฟนจีน รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศไทย โดยงานวิจัยนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ซึ่งประกอบไปด้วย การวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ของซีรีส์ 2 เรื่อง คือ แปลรักฉันด้วยใจเธอ (I Told Sunset About You) และ คินน์พอร์ช เดอะซีรีส์ ลา ฟอร์เต้ (KinnPorsche the Series) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัย 2 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 8-9 คน ผู้ร่วมสนทนากลุ่มมีอายุ 16-26 ปี นอกจากนี้ ยังได้ใช้การสำรวจจากแบบสอบถาม (Questionnaire Survey) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 401 ราย การศึกษาครั้งนี้พบว่า การออกแบบฉากของซีรีส์วายของประเทศไทย รวมไปถึงสถานที่ที่ใช้ในการถ่ายทำนั้นสะท้อนเอกลักษณ์แบบวัฒนธรรมจีน โดยพบว่า การออกแบบฉากและโทนสีของซีรีส์วายที่ศึกษา รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงโทนสีของแต่ละบทบาทในซีรีส์นั้น เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญมากสำหรับกลุ่มผู้ชมชาวจีน สำหรับด้านการรับชมซีรีส์วายไทยนั้น แฟนคลับชาวจีนส่วนใหญ่จะเลือกการรับชมจาก Cloud Link ที่แชร์บน Wechat จากกลุ่ม Fan Subbing และแพลตฟอร์มอื่นที่ไม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลจีน ในขณะเดียวกัน ด้านองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับชมซีรีส์มากที่สุดของแฟนคลับชาวจีนคือ ฉากที่สวยงามและการเล่าเรื่องที่น่าดึงดูดใจ ซึ่งยังส่งผลต่อเศรษฐกิจแฟนอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว งานวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ตราสินค้า Caremate และ Srichand เป็นกรณีตัวอย่าง โดยพบว่าทัศนคติที่มีต่อโฆษณาของกลุ่มตัวอย่างนั้นได้รับอิทธิพลจากตัวแปรด้านระดับความสวยงามของผู้ที่เป็นผู้นำเสนอสินค้า ตัวแปรด้านความเหมาะสมและความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ โดยมีผลกระทบอย่างมากต่อทัศนคติของแฟนที่ต่อตราสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่ส่งผลต่อเจตนาในการซื้อ ในส่วนของการศึกษาความตั้งใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนั้นพบว่า ทัศนคติที่ได้รับอิทธิพลจากตัวแปรที่เป็นของที่ระลึกมีความสำคัญมากที่สุดต่อตัวแปรสองตัวคือ บรรทัดฐานส่วนตัว การรับรู้ถึงการควบคุมพฤติกรรม
Description: Thesis (M.A. (Communication Arts))--Chulalongkorn University, 2022
Degree Name: Master of Arts (Communication Arts)
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Communication Arts
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82613
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.85
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.85
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480041328.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.