Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82619
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนสิน ชุตินธรานนท์-
dc.contributor.authorสุพิชญา คำเขียน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T06:18:51Z-
dc.date.available2023-08-04T06:18:51Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82619-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอการโหยหาอดีต และ  วิเคราะห์การประกอบสร้างความทรงจำร่วมจากแนวเพลงซินธ์ป๊อปของศิลปินโพลีแคท และ วรันธร เปานิล ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ตัวบทจาก ผลงานเพลงของทั้งสองศิลปินจากแพลตฟอร์มออนไลน์ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสรรค์ ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ประพันธ์เพลง แฟนเพลง และผู้เชี่ยวชาญที่ให้มุมมองวิชาการในด้านดนตรีศึกษากับมิติเชิงสังคม รวมทั้งสิ้น 23  คน ผลการวิจัยพบว่า การโหยหาอดีตในแนวเพลงซินธ์ป๊อปของทั้งสองศิลปิน มีกลวิธีในการนำเสนอผ่านองค์ประกอบต่าง ๆ ของเพลง ได้แก่ เนื้อเพลง (Lyrics)  คีตประพันธ์ (Form)  จังหวะ (Tempo) และ สีสันของเสียง (Tone color)  โดยภาพรวมของผลงานเพลงทั้งหมด มุ่งถ่ายทอดเนื้อหาผ่าน  2 ประเด็นหลัก ได้แก่ มุมมองเกี่ยวกับเรื่องความรัก และ ช่วงเวลาสำคัญของชีวิต  แฟนเพลงสามารถเชื่อมโยงการโหยหาอดีตที่เกิดขึ้นในระดับปัจเจกบุคคล ได้จากตัวแปรสำคัญ คือ ประสบการณ์การใช้ชีวิต (Live experience) ซึ่งสัมพันธ์กับอารมณ์และความรู้สึก (Emotional and feeling) ที่เกิดขึ้นระหว่างการฟังเพลงนั้นในอดีตเป็นหลัก  สำหรับองค์ประกอบของคีตประพันธ์พบว่า โครงสร้างของเพลงแบบ ABC ที่มีการวนซ้ำในตำแหน่งครอรัสของเพลง เป็นแบบแผนที่เสริมให้เพลงซินธ์ป๊อปเกิดท่อนที่จดจำ และแฟนเพลงสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาผ่านเพลงกับเรื่องราวของอดีตของตนเองได้  ในส่วนของสีสันของเสียง พบว่า ซินธิไซเซอร์ เป็นเครื่องดนตรีหลักที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ (Identity) ของแนวเพลงเป็นซินธ์ป๊อปให้แฟนเพลงสามารถเชื่อมโยงกับเสน่ห์ในยุค 80s อาทิ สภาพสังคมความเป็นอยู่ หรือ แฟชั่นเครื่องแต่งกาย ที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น และองค์ประกอบส่วนของจังหวะ เป็นตัวแปรสำคัญในการส่งเสริมอารมณ์เพลง ให้ผู้ฟังสามารถเลือกเชื่อมโยงความรู้สึกจากประสบการณ์อดีตที่เกิดขึ้นได้แตกต่างกันตามบุคคล เมื่อพิจารณาการสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับการโหยหาอดีตผ่านเพลง กล่าวโดยสรุปได้ว่า ในมุมของศิลปิน อาศัยกระบวนการในการการถ่ายทอดแรงบันดาลใจร่วมกับ การนำเสนอเอกลักษณ์ของความเก่าคลาสสิค แบบ 80s ที่สะท้อนผ่านตัวตนของตนเอง ในขณะเดียวกับแฟนเพลงสามารถรับรู้และเชื่อมโยงเอกลักษณ์นั้น ร่วมกับประสบการณ์ส่วนตัวอันนำไปสู่การโหยหาอดีตจากแนวเพลงซินธ์ป๊อปได้  และสำหรับการประกอบสร้างความทรงจำร่วม ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ตัวบทผ่านสื่อคอนเสิร์ต ซึ่งเป็นเหตุการณ์ (Event) ที่มีร่วมกันระหว่างศิลปินและแฟนเพลง พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความทรงจำร่วมผ่านเพลงซินธ์ป๊อปของโพลีแคท และ วรันธร เปานิล ประกอบไปด้วย 1) ประสบการณ์ส่วนตัว 2) รสนิยมในการฟังเพลง (Personal taste)  3) กิจกรรมร่วม (Activities) และ 4) การส่งเสริมผ่านกระบวนการสื่อสารโดยเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น (User generated content)-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study the nostalgia presenting strategies and to analyze the composition of collective memories from the Synthpop song of Polycat and Waruntorn Paonil. The researcher used  qualitative research methodห by textual analysis of all songs of both artists from online platforms and documents related to the creative process. In-depth interview were used with artist’s composers, fans and experts who gave academic perspectives on music education and social dimensions in total of 23 people. The results showed that the nostalgia of Synthpop song by both artists have strategies for presenting through various elements of music, including lyrics, form, tempo and tone color.   Focus on conveying content through 2 main themes consist of perspectives on love and important moments in life. Fans can relate to the nostalgia that occurs on an individual level namely  ‘the experience of living’ which is mainly related to the emotions and feelings that occurred while listening to that song in the past as for the composition of form, it was found that An ABC song structure that repeats in the chorus of the song. It's a pattern that complements Synthpop song to create memorable parts and fans can relate content through songs to stories of their own past. In terms of Tone color, it was found that the synthesizer was the main musical instrument that promoted the identity of the music genre as Synthpop. Fans to be able to relate to the charm of the 80s such as social conditions, living conditions or fashion apparel that were popular at that time and components of the rhythm is an important factor in promoting the mood of song which allow listeners to choose connecting feelings from past experiences that occur differently for each person. When considering communicating the nostalgia content through song In conclusion, in the artist's corner relies on the process of conveying inspiration with presenting the identity of the old classic 80s that reflects through their own identity. At the same time, fans can recognize and relate to that identity that combined with personal experiences, it can lead to nostalgia from the Synthpop song. For creating collective memories, the researcher analyzed the text through concert media. which is an event  shared between artists and fans. It was found that the factors contributing to collective memory through the Synthpop songs of artists consisted of 1) personal experiences 2) Personal taste in listening song 3)Activities and 4) Communication process by user generated content.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.633-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.subject.classificationArts, entertainment and recreation-
dc.subject.classificationFine arts-
dc.titleการโหยหาอดีตและการประกอบสร้างความทรงจำร่วมในแนวเพลงซินธ์ป๊อปของโพลีแคท และ วรันธร เปานิล-
dc.title.alternativeNostalgia and the construction of collective memoryin Synthpop song of  POLYCAT and Waruntorn Paonil-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.633-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480055128.pdf17.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.