Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82626
Title: แนวทางพัฒนาการบริหารคนเก่งของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The approaches for development of talent management in schools under the office of the basic education commissions in Bangkok
Authors: ภาคี เดชตรัยรัตน์
Advisors: สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารคนเก่ง   2. นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารคนเก่งของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน  รองผู้อำนวยการโรงเรียน ฝ่ายงานการบริหารบุคคล  และข้าราชการครูที่มีวิทยฐาณะครูชำนาญการพิเศษ (ค.ศ.3) ขึ้นไป จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร จำนวน 463 คน  โดยใช้เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารคนเก่ง ด้านการพัฒนาคนเก่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการรักษาคนเก่ง และด้านการจ่ายค่าตอบแทนและให้รางวัลคนเก่งมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2. สภาพพึงประสงค์ของการบริหารคนเก่ง ด้านการรักษาคนเก่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการพัฒนาคนเก่ง และด้านการจ่ายค่าตอบแทนและให้รางวัลคนเก่งมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด และ 3. แนวทางการบริหารคนเก่ง แบ่งเป็น 7 แนวทาง คือ 1) เมื่อคนเก่งมีผลงานดีเด่น ผู้อำนวยการโรงเรียนควรให้การยกย่องชมเชย 2) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรแจ้งให้คนเก่งทราบถึงนโยบาย แนวทาง และกลยุทธ์ของโรงเรียน รวมไปถึงมีแนวทางให้คนเก่งสามารถมีส่วนร่วมให้โรงเรียนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้  3) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรสร้างกลยุทธ์ในการขึ้นเงินเดือนให้แก่คนเก่งและครูอื่นๆ เพื่อปรับให้คุณสมบัติสอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์โรงเรียน  4) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรกำหนดกลยุทธ์การบริหารคนเก่งให้สอดคล้องกับเป้าหมาย นโยบาย และทิศทางของโรงเรียน  5) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรมีนโยบายกระตุ้นให้คนเก่งคิดแบบก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองตามความสามารถ  6) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อกูลและสนับสนุนให้ครูทุกคนได้แสดงความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ  7) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรมอบหมายให้คนเก่งเข้าร่วมการฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกองค์การ หรือร่วมกิจกรรมต่างๆ
Other Abstract: The purposes of this quantitative research were 1) to study the actual state and the desirable state of talent management in Schools under the Office of the Basic Education Commissions in Bangkok.  2) present the approaches for development of talent management in schools under the office of the basic education commissions in Bangkok.  The sample groups were consisted of 463 people comprised of Director of the School, Deputy Director of Human Management and Senior Professional Level Teachers (K 3 Teachers) and higher conventional in the schools.  Questionnaire was the tool for collecting of data to study the actual state and the desirable state of the management of talent.  The methods of analyzed data were frequency, percentage, average, standard deviation, and Priority Needs Index (PNImodified).  The research results were found that 1. The highest the actual state of talent management in schools was talent development, talent retention, and the third was reward & recognition. 2. The highest the desirable state of talent management was talent retention, talent development, and the third was reward & recognition. 3. The approaches for development of talent management are 7 approaches are 1) when talented teachers have outstanding performance, director of the school should give praise to them.  2) Director of the school should inform talented teachers about policies, guidelines and strategies of school.  3) Director of the school should create a strategy to raise salaries for talented and other teachers.  4) Director of the school should formulate talented management stetegy maching with the goals, policies and directions of the school.  5) Director of the school should have a policy to encourage talented teachers to think progressively develop themselves according to their abilities.  6) Director of the school should create a supportive environment and encourage all teachers to show their full potential.  7) Director of the school should assigned talented teachers to join both internal and external training, or participate other activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82626
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.916
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.916
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883369427.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.