Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82650
Title: การพัฒนาระบบชี้แนะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบบุคลิกภาพเอ็นเนียแกรมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู
Other Titles: Development of e-coaching system based on enneagram personality model to enhance teachers’ instructional abilities
Authors: วราลี ฉิมทองดี
Advisors: ประกอบ กรณีกิจ
ใจทิพย์ ณ สงขลา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบชี้แนะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน  2) เพื่อสร้างระบบชี้แนะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบบุคลิกภาพเอ็นเนียแกรมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู 3) เพื่อศึกษาผลการใช้ระบบชี้แนะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบบุคลิกภาพเอ็นเนียแกรมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู 4) เพื่อนำเสนอระบบชี้แนะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบบุคลิกภาพเอ็นเนียแกรมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู  ตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาระบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 424 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นสภาพและความต้องการจำเป็นของระบบชี้แนะอิเล็กทรอนิกส์ฯ 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบประเมินรับรองระบบฯ  กลุ่มทดลองใช้ระบบฯ ได้แก่ ครูจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบชี้แนะอิเล็กทรอนิกส์ 2) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ 3) เกณฑ์ประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบรูบริค 4) แบบสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อระบบฯ ใช้เวลาทดลอง 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ระบบชี้แนะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบบุคลิกภาพเอ็นเนียแกรมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทบาทครูและผู้ชี้แนะ 2) การชี้แนะด้วยเอ็นเนียแกรม 3) เป้าหมายด้านการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบชี้แนะอิเล็กทรอนิกส์  โดยมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดเป้าหมายการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 2) สำรวจตนเอง 3) เลือกทางเลือกและวิธีบรรลุเป้าหมาย 4) กำหนดแผนที่จะทำ 5) ทำตามแผนอย่างมุ่งมั่น และ 6) ทบทวน สะท้อนคิดและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 2. ผลการทดลองใช้ระบบพบว่า ครูมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการจัดการเรียนรู้สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนใช้ระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อความเหมาะสมของขั้นตอนระบบฯ ของกลุ่มทดลอง อยู่ในระดับมาก 4. ผู้เชี่ยวชาญให้การประเมินรับรองระบบฯ อยู่ในระดับดีมาก
Other Abstract: The objectives of this research were to: 1) explore the state and needs of the e-coaching system based on Enneagram personality model to enhance teacher instructional abilities, 2) develop the e-coaching system based on Enneagram personality model, 3) investigate the effect of the e-coaching system based on Enneagram personality model on teacher instructional abilities, and 4) propose a comprehensive e-coaching system based on Enneagram personality model. The sample in this research consisted of seven experts and 424 teachers under the office of private education commission. The research instruments were 1) needs assessment survey questionaries on teacher instructional abilities and an e-coaching system, 2) expert interview forms, and 3) system evaluation forms. Furthermore, a selected experimental group of ten teachers from a private school participated in the study. The research instruments of the experimental phase were 1) iCoach9 System (www.icoach9.com), 2) instructional ability evaluation form, 3) rubric evaluation forms for instructional abilities development, and 4) satisfaction survey forms. The experimental period spanned for eight weeks, after which the data underwent analysis using frequency (%), mean, standard deviation, t-test, and PNIModified. The research findings indicated the following key results: 1. The e-coaching system based on Enneagram personality model to enhance teacher instructional abilities comprised four components: 1) teachers and coaches, 2) Enneagram coaching, 3) instructional abilities development goals, and 4) Enneagram e-coaching system with GROWER model, consisting of six coaching steps: 1) goal setting for teacher instructional abilities development, 2) reality reflection, 3) option selection, 4) execution of coaching plans, 5) willingness for success, and 6) reflection and assessment. 2. The results from the experiment revealed a statistically significant improvement in the teachers’ instructional abilities, as evidenced by higher post-test scores compared to pre-test scores at .05 level of significance. 3. The satisfaction survey results from the experimental group demonstrated a high level of satisfaction with the implemented e-coaching system. 4. The system validation conducted by experts yielded a high level of satisfaction, affirming the practicability and effectiveness of the proposed e-coaching system based on the Enneagram personality model. The system validation results by experts were at most satisfaction level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82650
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.407
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.407
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6084220227.pdf8.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.