Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82772
Title: รูปแบบการดำเนินงานโครงการที่พักนักท่องเที่ยวที่มีแนวคิดวิสาหกิจเพื่อสังคม : กรณีศึกษา ชุมพรคาบาน่า รีสอร์ต และโรงแรมสวนสามพราน
Other Titles: Operating model of tourist accommodation projects using social enterprise concept : cases studies of Chumphon Cabana Resort and Suan Sampran Hotel
Authors: ชญตา ลีวงศ์เจริญ
Advisors: บุษรา โพวาทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันมีธุรกิจจำนวนไม่น้อยหันมาทำวิสาหกิจเพื่อสังคม (social enterprise: SE) เพื่อมุ่งประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้กับการดำเนินงานที่พักนักท่องเที่ยวยังอยู่ในวงจำกัด แม้จะเป็นธุรกิจที่มีโอกาสสร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้มาก วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการนำแนวคิดวิสาหกิจเพื่อสังคมมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน 2 กรณีศึกษา คือ ชุมพรคาบาน่า รีสอร์ต และโรงแรมสวนสามพราน ใช้วิธีรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ การสำรวจพื้นที่ และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ประกอบการของที่พักนักท่องเที่ยวแต่ละกรณี ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง 5 คนต่อกรณีศึกษา และนักท่องเที่ยว 20 คนต่อกรณีศึกษา ใช้การวิเคราะห์ผลในเชิงเปรียบเทียบ แสดงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของการพัฒนาโครงการเพื่อสังคม รวมถึงสรุปบทเรียนจากกรณีศึกษา ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้ประกอบการของกรณีศึกษาทั้ง 2 แห่ง ได้ใช้รูปแบบวิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงานโครงการที่พักนักท่องเที่ยวเหมือนกัน แม้ว่าจะมีจุดเริ่มต้นในการพัฒนาต่างกัน คือ ชุมพรคาบาน่า รีสอร์ต นำแนวคิดมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน ขณะที่โรงแรมสวนสามพรานนำแนวคิดมาใช้เพื่อสร้างจุดขาย 2) การดำเนินงานโครงการเพื่อสังคมของทั้ง 2 แห่ง มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ (1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทในการดำเนินงานโครงการแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจหลักรวมถึงธุรกิจเครือข่าย กลุ่มผู้รับประโยชน์ และกลุ่มผู้ให้ความสนับสนุนในด้านต่าง ๆ และองค์ประกอบอีกประการ คือ (2) กิจกรรมหลักในการดำเนินงานโครงการเพื่อสังคม 5 ด้านที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ การจัดการความรู้และให้ความช่วยเหลือในด้านอื่น ๆ แก่กลุ่มผู้ผลิตวัตถุดิบของธุรกิจ การรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคายุติธรรม การเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรผ่านผลิตภัณฑ์ของธุรกิจ การจัดหาตลาดและการกระจายสินค้าทางการเกษตร และการท่องเที่ยวที่สนับสนุนความยั่งยืน 3) การดำเนินโครงการเพื่อสังคมของกรณีศึกษาทั้ง 2 แห่ง ส่งผลกระทบใน 4 ด้าน คือ (1) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน การกระจายรายได้ (2) ผลกระทบทางสังคม ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน (3) ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการส่งเสริมกิจกรรมที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ (4) ผลกระทบทางธุรกิจ ทำให้เกิดสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและเกิดมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งยังทำให้เกิดจุดขายที่แตกต่าง ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าการดำเนินงานของที่พักนักท่องเที่ยวที่มีแนวคิดเพื่อสังคมทั้งสองกรณี มีกลไกที่สามารถสร้างผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียจำนวนมาก บทเรียนสำคัญและปัจจัยความสำเร็จคือ ผู้ประกอบการจะต้องมีแนวคิด ความตั้งใจและเข้าใจองค์ประกอบการพัฒนา สามารถวางแผนการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ และจะต้องการเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย งานวิจัยฉบับนี้สามารถเป็นแนวทางพัฒนาแก่ผู้ประกอบการที่พักนักท่องเที่ยวที่สนใจในการใช้แนวคิดวิสาหกิจเพื่อสังคมได้
Other Abstract: Currently, an increasing number of businesses are implementing the Social Enterprise (SE) concept, which aims to benefit both society and the environment. However, implementation of this concept in the tourist accommodation sector remains limited, despite the potential for businesses applying this concept to have a significant positive impact on society and the environment. This article focuses on the implementation of the SE concept in two case studies: the Chumphon Cabana Resort and the Suan Sampran Hotel. Data collection was conducted through literature reviews, field surveys, and interviews with key informants, including each business owner and 5 stakeholders per case study, as well as 20 tourists per case study. The collected data were analyzed using a comparative analysis method, presenting the findings in terms of SE components and their relationships. Lessons learned are also derived from cases. The study found that, firstly, both cases applied the idea of SE as a core concept for their business, despite having different starting points. The Chumphon Cabana Resort, for instance, utilized this idea to tackle its debt issues, while the Suan Sampran Hotel used it to create sales opportunities. Secondly, the SE concept implemented by both tourist accommodations involved two key components. 1) The stakeholders involved in the development of the projects can be divided into three main groups: the core business group, including network businesses; the beneficiaries; and the supporters from various sectors. 2) There were five main activities, which were similar in both cases: (1) providing knowledge management support to stakeholders, i.e., farmers and hotel staff, (2) purchasing agricultural products from farmers at fair prices, (3) adding value to agricultural products through business production, (4) providing markets and distributing agricultural products, and (5) supporting sustainable tourism development. Lastly, the impact in four dimensions was as follows: (1) economic impact, leading to the creation of added economic value, job opportunities, and income distribution; (2) social impact, enhancing the community's quality of life and creating sustainable self-reliance; (3) environmental impact, promoting activities that reduce environmental harm; and (4) business impact, by generating added value and creating unique selling points. The study reflects that the operations of SE tourism accommodation projects in both cases have had a significant impact on stakeholders and society. The lessons learned as key success factors are that intention and understanding of development are required for entrepreneurs strategically planning for change. Furthermore, the stakeholders’ participation must be included in the SE process. This research can serve as a guide for tourism entrepreneurs interested in applying the concept of social entrepreneurship in their development projects.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82772
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.489
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.489
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6470038025.pdf6.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.