Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82784
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรรัตน์ จารุทัศน์-
dc.contributor.authorทศพล นิลเปรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T06:47:30Z-
dc.date.available2023-08-04T06:47:30Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82784-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด จากร้อยละ 12 และใน พ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 18 จากประชากรรวมทั้งประเทศ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวพบว่าสถิติผู้มีงานทำทั่วประเทศที่มีอายุ 50-59 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และยังเป็นไปในทิศทางเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันกับสัดส่วนแนวโน้มแรงงานก่อสร้างในเขตกทม. ที่เพิ่มจาก ร้อยละ 12 ในพ.ศ. 2553 เป็นร้อยละ 16 ใน พ.ศ. 2564 จากจำนวนแรงงานก่อสร้างรวมทั้งประเทศ จึงอาจกล่าวได้ว่ายิ่งมีแรงงานก่อสร้างที่อยู่อาศัยในแคมป์มากขึ้นจะมีสัดส่วนแรงงานที่ต้องสูงอายุมากขึ้น ซึ่งแรงงานก่อสร้างที่พักอาศัยในแคมป์คนงาน หลังจากเกษียณอายุแล้วไม่สามารถอาศัยอยู่ในแคมป์ได้ แรงงานกลุ่มนี้ก่อนวัยเกษียณอายุส่วนใหญ่จะมีลักษณะสังคม เศรษฐกิจ กรรมสิทธิ์ การเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยหลังเกษียณอายุอย่างไร โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มแรงงานก่อสร้างที่ปฏิบัติงานอยู่ในโครงการก่อสร้าง และพักอยู่ในแคมป์คนงานที่รับผิดชอบโดย 4 บริษัทกรณีศึกษา ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์ และสรุปผลการเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณจากการเก็บแบบสอบถามแรงงานก่อสร้างชาวไทย 400 ตัวอย่าง และชาวเมียนมา 400 ตัวอย่าง ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก 20 คน จากแรงงานกลุ่มประชากรแรงงานก่อสร้าง จำนวน 2,471 คน จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างแรงงานก่อสร้างชาวไทย มีกลุ่มที่เตรียมการ และไม่เตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณ ร้อยละ 84.25 และ 15.75 ตามลำดับ ทั้งสองกลุ่มมีปัจจัยที่เหมือนกันในด้านสังคม ส่วนใหญ่มีสถานะสมรส, มีบุตร 1 คน, ตำแหน่งกรรมกร ด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อคนต่อเดือน น้อยกว่า 12,000 บาท, รายจ่ายต่อคนต่อเดือน 5,000-10,000 บาท, มีการออมเงินในบัญชีเงินฝาก, มีสิทธิ์ประกันสังคม, ไม่มีโรคประจำตัว, จะหยุดทำงานก่อสร้างเมื่ออายุ 55-60 ปี, จะทำเกษตรกรรมหลังเกษียณ ด้านที่อยู่อาศัยภูมิลำเนาเดิม ส่วนใหญ่มีที่ตั้งภูมิลำเนาเดิมอยู่ภาคอีสาน, ไม่มีปัญหาในที่อยู่อาศัย, กลุ่มที่มีปัญหาส่วนใหญ่ต้องการซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุด, มีงบประมาณที่คาดไว้ น้อยกว่า 100,000 บาท, ด้วยเงินออม, มีการออมเงินไว้บางส่วนน้อยกว่า 20,000 บาท, จะดำเนินการ 3-5 ปีข้างหน้า และมีปัจจัยที่แตกต่างกันในด้านที่อยู่อาศัยในภูมิลำเนาเดิม กรรมสิทธิ์ในภูมิลำเนาเดิม กลุ่มเตรียมการทั้งหมดมีกรรมสิทธิ์หรือจะได้มรดก, กลุ่มที่ไม่เตรียมการทั้งหมดไม่มีกรรมสิทธิ์, ผู้จะกลับไปอาศัยด้วยส่วนใหญ่ กลุ่มเตรียมการจะอยู่กับภรรยา/สามี, กลุ่มที่ไม่เตรียมการจะอยู่กับบุตรหลาน ญาติ พี่น้อง และกลุ่มตัวอย่างแรงงานก่อสร้างชาวเมียนมา มีกลุ่มที่เตรียมการ และไม่เตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณ ร้อยละ 67.25 และ 32.75 ตามลำดับ ทั้งสองกลุ่มมีปัจจัยที่เหมือนกันในด้านสังคม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สถานะสมรส, มีบุตร 1 คน, ช่วงอายุไม่เกิน 30 ปี, มีประสบการณ์ก่อสร้างน้อยกว่า 1 ปี, ตำแหน่งกรรมกร ด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อคนต่อเดือน น้อยกว่า 12,000 บาท, รายจ่ายต่อคนต่อเดือน น้อยกว่า 5,000 บาท, มีการออมเงินในบัญชีเงินฝาก, จะทำเกษตรกรรมหลังเกษียณ, มีสิทธิ์ประกันสังคม, ไม่มีโรคประจำตัว, จะหยุดทำงานก่อสร้างเมื่ออายุ 55 ปี ด้านที่อยู่อาศัยภูมิลำเนาเดิม ส่วนใหญ่ที่ตั้งภูมิลำเนาเดิมอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ไม่มีปัญหาในที่อยู่อาศัย, กลุ่มที่มีปัญหาส่วนใหญ่ต้องการซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุด, มีงบประมาณที่คาดไว้ น้อยกว่า 100,000 บาท, ด้วยเงินออม, มีการออมเงินไว้บางส่วนน้อยกว่า 20,000 บาท, จะดำเนินการ 3-5 ปีข้างหน้า, จะกลับไปอยู่กับบุตรหลาน ญาติ พี่น้อง และมีปัจจัยที่แตกต่างกันในด้านที่อยู่อาศัยในภูมิลำเนาเดิม กรรมสิทธิ์ในภูมิลำเนาเดิม กลุ่มเตรียมการทั้งหมดมีกรรมสิทธิ์หรือจะได้มรดก, กลุ่มที่ไม่เตรียมการทั้งหมดไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยภูมิลำเนาเดิม การเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มแรงงานก่อสร้างนั้นต้องเป็นหนี้ในระยะยาวกว่าคนกลุ่มอื่น และความไม่เติบโตของรายได้ทำให้คนกลุ่มนี้มีโอกาสสูญเสียที่อยู่อาศัย และอยู่ในวงจรหนี้สิน ในระยะยาวอาจเป็นภาระสำหรับคนกลุ่มนี้มากกว่าการเช่า หากภาครัฐมีการแบ่งงบประมาณที่ช่วยเหลือผู้ที่จะซื้อบ้านบางส่วน มาอุดหนุนโครงการเช่าที่อยู่อาศัยเพื่อสังคมหลังเกษียณจะมีส่วนช่วยกลุ่มแรงงานผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยหลังเกษียณ และไม่มีศักยภาพในการซื้อที่อยู่อาศัย ร่วมกับการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณ ถึงแม้แรงงานก่อสร้างจะเป็นเพียงกลุ่มคนจำนวนไม่มาก แต่การจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังนั้น ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ควรมองข้ามคนกลุ่มนี้ การสร้างนโยบายอุดหนุนการออมเงินที่สามารถจูงใจให้เกิดการออมเงินเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งการออมเพื่อที่อยู่อาศัยถือเป็นบันไดขั้นแรกสำหรับการเข้าถึงที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นการเช่า หรือการซื้อก็ตาม  -
dc.description.abstractalternativeCurrently, Thailand is experiencing a continuous increase in its elderly population. The percentage of the elderly population in Thailand rose from 12% to 18% from 2011 to 2021. During this period, it has been observed that the proportion of employed individuals aged 50-59 years has consistently increased each year. This trend is also reflected in the construction labor force in the Bangkok metropolitan area, which has increased from 12% in 2010 to 16% in 2021, based on the total construction labor force nationwide. Therefore, it has been suggested that as the residential construction workforce in camps increases, so will the proportion of older workers. After retirement, these workers cannot continue residing in the camps. This particular group of workers generally has social and economic ties and needs to prepare for their post-retirement housing. In this research, a sample group of construction workers involved in construction projects and residing in labor camps was studied. The sample group consisted of 400 Thai workers and 400 Burmese workers, employed by four large construction companies listed on the Stock Exchange of Thailand. The study aimed to analyze and summarize the preparedness for post-retirement housing based on questionnaires collected from the construction workers, as well as in-depth interviews conducted with 20 individuals from the construction labor force, totaling 2,471 individuals. The study revealed that of the Thai construction workers, 84.25% are prepared for retirement in terms of housing, while 15.75% are unprepared. They share similar social factors, such as being married, having one child, and holding workers positions. Economically, they have a monthly income of less than 12,000 baht per person, with expenses ranging from 5,000 to 10,000 baht per person. They have savings and social security benefits, without any chronic illnesses. Most plan to retire from construction between the ages of 55 and 60 and engage in agricultural work afterward. The majority originate from the northeastern region of Thailand and face no housing issues. Those with housing problems require repairs with a budget estimated at less than 100,000 baht, primarily from savings. The prepared group has rights or inheritance in their domicile, while the unprepared group does not. The prepared group intends to live with their spouse, while the unprepared group plans to live with children, grandchildren, relatives, or siblings. Among Burmese construction workers, 67.25% are prepared for retirement in terms of housing, while 32.75% are unprepared. They share similar social factors, such as being male, married, having one child, and being under 30 years old. They have less than 1 year of construction experience and hold workers positions. Economically, they have a monthly income of less than 12,000 baht per person, with expenses of less than 5,000 baht per person. They have savings, plan to engage in agricultural work after retirement, and have social security benefits. They do not have any chronic illnesses and plan to stop working in construction at the age of 55. The majority originate from the northeastern region of Thailand and face no housing issues. Those with housing problems require repairs with a budget estimated at less than 100,000 baht, primarily from savings. The prepared group has rights or inheritance in their domicile, while the unprepared group does not. Both groups, prepared and unprepared, plan to live with their children, grandchildren, relatives, or siblings. Homeownership for construction workers often entails long-term debt and the risk of losing housing due to a stagnant income and being trapped in a cycle of debt. It can be more burdensome for this group compared to renting. Therefore, the government should allocate funds to assist partial homebuyers and support social housing projects aimed at providing affordable housing for the lowest-income individuals. It is crucial to raise awareness among all groups in society about the importance of preparing for housing before retirement, even though this group may be relatively small in number. The government and related agencies should not overlook this group and should implement policies that encourage saving for housing.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.493-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณของแรงงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ 4 แห่ง-
dc.title.alternativeHousing preparation before retirement of construction workers in Bangkok : a case study of four large construction companies-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.493-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6472007025.pdf8.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.