Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82811
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวันชัย มีชาติ-
dc.contributor.authorวรพล เกิดแก้ว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T06:55:00Z-
dc.date.available2023-08-04T06:55:00Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82811-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรี เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรี และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า การนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรี ขับเคลื่อนผ่านนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งหวังให้เกิดการกระจายรายได้เข้าสู่เมืองรอง 55 จังหวัด โดยการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรี มี 2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ กรมการพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรีและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดราชุบรี โดยกรมการพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรีจะดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองผ่านโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี โดยที่กรมการพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรีจะเข้าไปเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนผ่านการนำความรู้แนวทางต่างๆในการพัฒนาชุมชนให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้มีเอกลักษณ์และได้มาตรฐานมานำเสนอนักท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน และมีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดราชบุรีเป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ โดยเน้นที่การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวหลักในจังหวัดราชบุรีกับแหล่งท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี ผ่านการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยว การทำคลิปวีดิโอ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้แก่นักท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชนได้มากยิ่งขึ้น โดยผลการศึกษาด้านปัญหาและอุปสรรคในการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรีคือการที่นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองนั้นเป็นนโยบายที่มีลักษณะมองในภาพรวมของประเทศ ปัญหาด้านการสื่อสารจากส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคไม่เพียงพอและปัญหาด้านทรัพยากรที่ไม่เพียงพอ ผลการศึกษาในประเด็นข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองในอนาคต พบว่าควรจัดให้มียุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเมืองรองแยกจังหวัดให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ควรกำหนดบทบาทของหน่วยงานให้ชัดเจน และควรมีการอบรมความรู้เกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองเพิ่มมากขึ้น-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the implementation of the policy promoting secondary city tourism in Ratchaburi province, Thailand. The study aimed to analyze the problems and obstacles affecting the implementation of the policy and to propose future directions for the promotion of secondary city tourism. The study found that the implementation of the policy promoting secondary city tourism in Ratchaburi province is driven by the government's goal of distributing income to 55 secondary cities. Two main agencies involved in implementing the policy are the Department of Community Development in Ratchaburi province and the Tourism Authority of Thailand (TAT) Ratchaburi office. The Department of Community Development in Ratchaburi province carries out tourism promotion through the Community-Based Tourism OTOP (One Tambon, One Product) project. They prepare communities to become tourist destinations by providing knowledge and guidance on community development to create unique products and attractions that can generate income for the community. The Tourism Authority of Thailand (TAT) Ratchaburi office plays a role in promoting various tourist destinations, emphasizing the linkage between major tourist attractions in the province and OTOP community-based tourism. They create tourist routes and produce video clips to promote and attract tourists, thereby increasing income distribution to the communities. The study identified several problems and obstacles in implementing the policy, such as a lack of effective communication between the central and regional levels and inadequate resources. It is suggested that a clear and systematic strategy for promoting secondary city tourism should be established, and the roles and responsibilities of relevant agencies should be defined. Furthermore, training and capacity building programs related to the policy should be increased. In conclusion, the research shed light on the implementation of the policy promoting secondary city tourism in Ratchaburi province. To ensure the success of the policy, it is crucial to address the identified problems and obstacles and develop a coherent and coordinated approach among relevant agencies. This will facilitate the distribution of income to the communities and further promote secondary city tourism in the future.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.738-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการศึกษาการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองไปปฏิบัติในจังหวัดราชบุรี-
dc.title.alternativeA study on secondary city tourism promotion policy implementation in Ratchaburi province-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.738-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6080625024.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.