Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82812
Title: การเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตในเรือนจำของ "แพะ" ในคดีอาญา
Other Titles: Transition to living in prison of “Scapegoat” of criminal cases
Authors: สุพรรณี อ่วมวงษ์
Advisors: ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องการเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตในเรือนจำของ “แพะ” ในคดีอาญาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษากระบวนการปรับตัวของ "แพะ” ในคดีอาญาก่อนถูกคุมขังและระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำ 2) ศึกษาปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม “แพะ”  ในคดีอาญา 3) ศึกษาผลกระทบของ “แพะ” และครอบครัวของ “แพะ” ในคดีอาญา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) เป็นเครื่องมือหลักในการรวบรวมข้อมูล โดยเป็นการศึกษาวิจัยผ่านเรื่องเล่า (narrative) ของผู้ตกเป็น “แพะ” ในคดีอาญา  ศึกษาปัญหาในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และศึกษาผลกระทบของผู้ตกเป็น “แพะ”และครอบครัวของผู้ตกเป็น “แพะ” ในคดีอาญา จากการศึกษาวิจัย มีข้อค้นพบดังต่อไปนี้ (1) กระบวนการปรับตัวของผู้ตกเป็น “แพะ” ในคดีอาญา มีองค์ประกอบ 2 ประการ ได้แก่ 1.1 ความเป็นชนชั้นและการปรับตัวสู่เรือนจำ ซึ่งประกอบด้วย ชนชั้นของผู้มีฐานะทางสังคมและผู้ที่มีฐานะทางสังคมที่ด้อยกว่า จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บริสุทธิ์ตกเป็น “แพะ” ในคดีอาญาโดยมีจุดเปลี่ยน 3 ประการ ได้แก่  การเข้าไปอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ  การรู้จักกับผู้กระทำผิดหรืออาชญากร และการตกเป็น “แพะ” จากความบกพร่องของกระบวนการยุติธรรม ความวิตกกังวลก่อนเข้าสู่เรือนจำเกิดขึ้น 2 ประการ คือ ความวิตกกังวลต่อตนเอง ความวิตกต่อสมาชิกในครอบครัว 1.2 สภาพแวดล้อมในเรือนจำที่ส่งผลต่อการปรับตัว ได้แก่ มิติเชิงพื้นที่ คือ พื้นที่ภายในบริเวณเรือนจำเนื่องจากมีผู้ต้องขังเป็นจำนวนมากทำให้รู้สึกแออัดทางร่างกายและจิตใจ  มิติการปฏิสัมพันธ์ซึ่งเป็นการสนทนาระหว่างผู้ต้องขังรายอื่นมีการเล่าประสบการณ์ของแต่ละคนอาจทำให้ลดความวิตกกังวลและทำให้ไม่สามารถลดความเครียดลงได้เช่นกัน กฎระเบียบที่เคร่งครัด ผู้ที่ตกเป็น “แพะ” และผู้ต้องขังรายอื่นต้องปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัดซึ่งกฎระเบียบมีทั้งผลดีและผลเสีย ซึ่งผลดีคือการทำให้เกิดความสงบในการอยู่ในเรือนจำส่วนผลเสียก่อให้เกิดความเครียด ความกดดันในการใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ และกิจกรรมภายในเรือนจำ ซึ่งทุกเรือนจำจะมีการจัดกิจกรรมให้ผู้ตกเป็น “แพะ”ได้เข้าร่วม ได้แก่ กิจกรรมตามเทศกาลต่างๆ กิจกรรมทางศาสนา ทำงานตามกองงานต่างๆ ซึ่งการทำงานในกองงานนั้นเพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีจิตใจที่สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน และทำให้ร่างกายแข็งแรง   (2) กระบวนการปรับตัวระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำ มีองค์ประกอบ 8 ประการ ดังนี้ 2.1 ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการปรับตัว “แพะ” ในคดีอาญา มี 2 ปัจจัย คือ ภูมิหลังของผู้ตกเป็น “แพะ” ในคดีอาญา ประสบการณ์เดิมของ “แพะ” ในคดีอาญา  2.2 ความเท่าเทียมกันของ “แพะ” และผู้ต้องขังรายอื่นในเรือนจำ โดยผู้ตกเป็น “แพะ” และผู้ต้องขังรายอื่นถูกคุมขังในเรือนจำทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันไม่มีการแบ่งแยก ให้เกียรติซึ่งกันและกัน รวมถึงเจ้าหน้าที่จะปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน 2.3 การเปลี่ยนสถานที่คุมขัง 2.4 การทำความรู้จักและการรวมกลุ่มของ “แพะ” และผู้ต้องขังในเรือนจำ 2.5 การพึ่งพาอาศัยและการดำรงชีพของ “แพะ” ในเรือนจำ 2.6 ปัจจัยที่ทำให้ปรับตัวได้ดี ประกอบด้วย ปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการปรับตัว ได้แก่ ตนเอง สถาบันครอบครัว สภาพแวดล้อมของเรือนจำ การเปลี่ยนผ่านของเส้นทางชีวิต 2.7 ปัจจัยที่ทำให้ปรับตัวได้ไม่ดี  2.8 การเผชิญปัญหาหรือการโต้ตอบปัญหาโดยอัตโนมัติ  (3) สาเหตุที่ทำให้ผู้บริสุทธิ์ตกเป็น “แพะ” ในคดีอาญา ซึ่งเป็นปัญหาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมมี 2 ประการ 3.1 ปัจจัยจากภูมิหลังของผู้ตกเป็น”แพะ”ในคดีอาญา 3.2 ธรรมาภิบาลในองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ พนักงานสอบสวนหรือตำรวจ ทนายความ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์   (4) ข้อบกพร่องของการเยียวยาผู้ตกเป็น “แพะ” ในคดีอาญา มี 3 ประการ ได้แก่ 4.1 ช่องว่างของพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559)  4.2 การอนุมัติผลการเยียวยาที่ล่าช้า และ 4.3 การใช้งบประมาณของรัฐในการเยียวยาเพียงอย่างเดียว     (5) การลดช่องว่างเพื่อการช่วยเหลือเยียวยาผู้ตกเป็น “แพะ” ในคดีอาญา ประกอบด้วย 2 ประการ  ได้แก่ 5.1 การนำพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 เข้ามาช่วยเหลือ แพะ ที่ไม่ได้รับการเยียวยา โดยการเยียวยา “แพะ” ในชั้นสอบสวน 5.2 นำปฏิญญาสากลว่าด้วยหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการอำนายความยุติธรรมแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมและการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้องมาช่วยเหลือเยียวยา   (6) แผนการพัฒนาและการปรับปรุงเพื่อช่วยเหลือเยียวยา “แพะ” ในคดีอาญา โดยควรจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือ “แพะ” เพิ่มการกระจายอำนาจการอนุมัติผลการช่วยเหลือเยียวยาครบทั้ง 76 จังหวัด  (7) ผลกระทบต่อการถูกจองจำของ “แพะ” ในคดีอาญา มีผลกระทบ 6 ประการ ได้แก่ การถูกจำกัดเสรีภาพ ปัญหาเกี่ยวกับการถูกจำกัดด้านอิสรภาพ การถูกจำกัดด้านอุปโภค บริโภค และบริการ การถูกจำกัดด้านความปลอดภัย ปัญหาทางร่างกาย ปัญหาสุขภาพจิต  (8) ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของ “แพะ” ในคดีอาญาหลังพ้นโทษจากเรือนจำ ได้แก่ การประกอบอาชีพและรายได้ การเปลี่ยนที่ทำงานและที่อยู่อาศัย สุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต การตีตราจากผู้คนในสังคม และ การตีตราจากสื่อมวลชน   (9) สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในครอบครัวเมื่อ “แพะ” ถูกคุมขังในเรือนจำ พบสภาพปัญหา ดังนี้ 9.1สมาชิกในครอบครัวต้องประกอบหลายอาชีพเพื่อหารายได้เพิ่มมากขึ้น 9.2 การกู้ยืมเงิน 9.3 สมาชิกในครอบครัวไม่ได้ศึกษาต่อ 9.4 ปัญหาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตของสมาชิกในครอบครัว 9.5 การตีตราจากสังคม และ 9.6 การตีตราจากสื่อมวลชน
Other Abstract: The purposes of this study were as follow: (1) studies the process of adaptation of the scapegoats in the criminal case before being detained and during incarceration in prison; (2) study of problems in access to justice, the scapegoat in the criminal case and (3) study the effect of scapegoat and family of scapegoat in criminal cases This study was a qualitative research using in-depth interview as fundamental data gathering tools and key informants as narrators. The data was collected from scapegoat in criminal case, personnel in justice system and to study the family fall into the scapegoat in criminal cases. The findings were as follows: 1) adaptation process of people of the "scapegoat" in criminal case, there are 2 elements: 1.1 class and adaptation to prison. contain with Class of people who have social status and social position of inferiority. The turning point that makes innocent people as scapegoat in criminal cases, there are three issues include: At the scene of the crime. To know the offenders or criminals. And as a "scapegoat" from impairments of the justice system.  Anxiety before entering prison occurred two main Self-anxiety and Anxiety of Family Members. 1.2 The adaptability of environmental impact in prisons. This refers to the space in prisons. Many prisoners feel physically and mentally crowded. The Interaction, which is a conversation between another inmates have told about the experience of each individual, may reduce anxiety and stress can be reduced. The rules : scapegoat and another inmates must comply with the rules, which are rules which favor good results is to cause peace in the prison section of the harm-causing stress. The pressures on prison life. And activities in the prison. All prisons have organized activities to become "Scapegoat" was attended by many festival activities include religious activities, work in the Division. The work of the Division is to use time to your advantage. A peaceful mind is distracted and make body strong. (2) The adjustment between detainees in prison. Elements 8 reasons. 2.1 factors affecting the adaptation process of scapegoat in criminal cases, there are 2 factors is background of scapegoat in criminal cases, previous experience of scapegoat in. criminal case. 2.2 equality of "the goat", and prisoners in the prison by a fall into the scapegoat and the other fellow inmates detained in prison everyone has equal rights with no discrimination, mutual honor include officers would treat everyone equally.  2.3 Changing the place of detention. 2.4 Introduction and integration of the scapegoat and inmates in prisons. 2.5 dependency and living of the scapegoats in prison. 2.6 factor that adapt well to the factors that promote adaptation and their families. The environment of prisons transitions of Life Path. 2.7 Factors that adjustment was poor and coping or interaction problems automatically. (3) Causes the innocent become the scapegoat in the criminal justice system, the problem of access has two aspects. 3.1 Background to the factor of being "goat" Criminal. 3.2 of justice, including (police, prosecutors, judges, correctional officers and lawyers). (4) There are three defects in the remedial measures of "goats" in criminal cases. Include  4.1 structure of the compensation and victim compensation and expenses for the accused in criminal cases, 2544 (as amended (Vol. 2) b.e. 2559) 4.2. Results of approved delayed and 4.3 the use of the state budget remedies.  (5) To bridge the gap to help heal those vested scapegoat in the criminal case consists of two 5.1 Bringing Justice Fund Act 2558 to assist goat that has not been healed. The remedies scapegoat in the interrogation 5.2 led Declaration of Basic Principles on the plant's justice for those damaged by the crime and the use of incorrect aid remedies.   (6) The development and improvement to help remedy scapegoat in criminal cases should be established to help fund the "goats" to increase decentralization approve aid remedies, both 76 province.   (7) The impact of imprisonment the scapegoat of a crime has affected six aspects of restricted freedom. The problem with freedom is limited. The field is limited to consumer services, and limited security and Physical problems Mental Health Problems.   (8) The impact of changes to scapegoat in the criminal punishment of prison, including occupation and income. Replacement work and housing. Physical and mental health Stigmatization of people in society and Stigmatization of press.   (9) The problems that occur in families when the scapegoat were detained in the prison. Meet the problems the 9.1 family members to engage in many professions to earn increased. 9.2 Loans 9.3 family members Not studying. 9.4 health problems, physical and mental health of family members. 9.5 The social stigma  and 9.6. Stigmatization of media.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82812
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1483
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1483
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6081017724.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.