Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82820
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนฤมล ทับจุมพล-
dc.contributor.authorวรรธนพร ภัทรธรรมกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-04T06:55:03Z-
dc.date.available2023-08-04T06:55:03Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82820-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การเกิดขึ้นและพัฒนาการของขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และสถานการณ์และแนวโน้มของขบวนการต่อต้านโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ผ่านกรอบแนวคิดทฤษฎีการระดมทรัพยากร (Resources Mobilization Theory) ผลการศึกษาพบว่า โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เกิดขึ้นในปี 2559 ภายใต้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยใช้อำนาจพิเศษมาตรา 44 ในการก่อกำเนิดและดำเนินโครงการ จึงนำมาสู่การกำเนิดขึ้นของ “ขบวนการต่อต้านโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” โดยมีข้อเรียกร้องคือให้ยุติหรือชะลอโครงการดังกล่าว ทั้งนี้การเคลื่อนไหวอยู่ภายบริบททางการเมืองที่แบ่งได้เป็น 2 ยุค คือ อำนาจนิยมเต็มรูปแบบ ในปี 2559 – 2561 และอำนาจนิยมที่มีการเลือกตั้ง ภายหลังการเลือกตั้งในปี 2562 ซึ่งปัจจัยโครงสร้างโอกาสทางการเมืองมีผลอย่างมากต่อการกำหนดยุทธศาสตร์การเคลื่อนไหวและทิศทางการเคลื่อนไหวโดยเฉพาะในยุคอำนาจนิยมที่มีการจำกัดสิทธิในการเคลื่อนไหว อย่างไรก็ตาม แม้ภายหลังการเลือกตั้งทำให้มีพื้นที่ในการเคลื่อนไหวมากขึ้น แต่รัฐยังคงรวมศูนย์การตัดสินใจจนได้ดำเนินโครงการจนหวนกลับไม่ได้แล้ว ดังนั้น จึงนำมาสู่การลดทอนข้อเรียกร้องของขบวนการ จนในที่สุดขบวนการได้รับความสำเร็จจากการสร้างผลสะเทือนต่อรัฐ จนเกิดการเร่งทบทวนผังเมืองใหม่ 30 อำเภอ โดยเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมแสดงความเห็น อย่างไรก็ตาม หลังจากการเคลื่อนไหวในปี 2563 การเคลื่อนไหวก็คลายตัวลงแต่การเคลื่อนไหวยังไม่สิ้นสุดเพราะแต่ละพื้นที่ยังคงแยกกันเคลื่อนไหวตามผลกระทบที่ได้รับซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็ได้รับความสำเร็จ/ล้มเหลวแตกต่างกันไป -
dc.description.abstractalternativeThis thesis examines the emergence and development of the Anti-Eastern Economic Corridor (EEC) Movement and analyzes its current situation using the theoretical framework of Resource Mobilization Theory. The study reveals that the Eastern Economic Corridor Development Project was initiated in 2016 under the government of the National Council for Peace and Order (NCPO), utilizing the special power granted by section 44 of the 2014 interim constitution to establish and implement the project. This gave rise to the Anti-EEC Movement, which advocates for the project's cessation or postponement. The movement operates within a political context that can be divided into two periods: Authoritarianism from 2016 to 2018 and Competitive Authoritarianism following the election in 2019. The Political Opportunity Structure plays a crucial role in shaping the movement's strategies and direction, particularly during the period of Authoritarianism characterized by limited political rights for the movement. Although it seems that an opportunity for the movement has emerged after the election, the state maintained centralized decision-making authority, leading to the irreversible progression of the project and subsequently diminishing the movement's demands. However, the movement achieved success by exerting pressure on the state, resulting in an accelerated review of new town plans in 30 districts and granting local communities the opportunity to express their opinions. Although the intensity of the movement has subsided since 2020, it remains active as different regions continue their mobilization efforts, experiencing varying degrees of success or setbacks.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.456-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleพลวัตการประท้วง : ศึกษากรณีขบวนการต่อต้านโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก-
dc.title.alternativeDynamic of protest : a case study of the anti - eastern economic corridor movement-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการปกครอง-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.456-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6180624524.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.