Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83199
Title: ปัจจัยโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อความประสงค์จะใช้แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
Other Titles: Logistics related factors affecting the desire to use e-commerce platform
Authors: ณัฏฐชัย วัฒนาธิบดี
Advisors: สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ระบุตัวแปรทางด้านคุณภาพการบริการโลจิสติกส์ที่กระทบต่อความประสงค์จะใช้แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ 2. เพื่อวิเคราะห์ระดับของอิทธิพลแต่ละปัจจัยต่อการใช้แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ โดยงานวิจัยนี้ได้แบ่งตัวแปรต้นออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้แก่ กลุ่มคุณภาพการบริการแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซประกอบไปด้วย การออกแบบเวปไซต์และแอพพลิเคชั่น ความง่ายในการเข้าใช้งาน คุณภาพของข้อมูล ตัวเลือกในการชำระเงิน และ ความปลอดภัยในการใช้งาน และกลุ่มที่ 2 ได้แก่กลุ่มที่กำหนดคุณภาพการบริการโลจิสติกส์ซึ่งประกอบไปด้วย ความเร็วในการจัดส่ง ตัวเลือกในการจัดส่ง คุณภาพในการจัดส่ง นโยบายการคืนสินค้า ต้นทุนการจัดส่ง และ ข้อมูลในการจัดส่ง โดยมีตัวแปรตามคือ ความพึงพอใจโดยรวมของผู้ใช้บริการแพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และ ความประสงค์จะใช้แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ งานวิจัยนี้ยืนยันได้ว่าคุณภาพการบริการที่สามารถรับรู้ได้ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและส่งอิทธิพลต่อไปยังความประสงค์จะใช้แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ข้อมูลในการวิจัยนี้ได้รวบรวมมาจากแบบสอบถามซึ่งมีจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 373 ชุด ประกอบไปด้วยผู้ที่มีอายุระหว่าง 25 – 44 ปี หรือเจนวายและมีประสบการณ์การซื้อสินค้าออนไลน์ทั้ง 2 แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดนิยมในประเทศไทย และใช้โมเดลสมการโครงสร้างในการยืนยันความสัมพันธ์ ผลการวิเคราะห์ระบุได้ว่ากลุ่มคุณภาพการบริการโลจิสติกส์มีอิทธิพลมากกว่าการบริการอื่นๆ ต่อความประสงค์จะใช้แพลทฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ทั้งนี้ ความเร็วในการจัดส่ง มีความสำคัญที่สุดในกลุ่มคุณภาพการบริการโลจิสติกส์
Other Abstract: The objectives of this research are 1) to identify the factors related to logistics service quality affecting the desire to use e-commerce platform and 2) to analyze the degree to which these factors influence the use of e-commerce platform.   The independent variables of the analysis include 2 groups of factors.  The first group are those concerning the e-commerce service quality of the platform including web and application design, ease of use, data quality, payment options, and security privacy.  The second group are those defining the logistics service quality including delivery speed, delivery customization, delivery quality, return policy, shipping cost, and shipping information. The dependent variables are overall customer satisfaction with the e-commerce platforms and the desire to use the platforms.  The research postulates that the perceived service quality affects the customer satisfaction which in turn influences the desire to use the platform. Data for the research are collected through the questionnaire survey with the samples consisting of 373 Generation Y shoppers who are between 25 - 44 years old and have experienced in online-shopping on two most popular platforms in Thailand. The Structural Equation Modeling (SEM) is applied to analyze the postulated relationships.   The analysis results revealed that the factors related to logistics service quality have greater influence on the desire to use e-commerce platform than the other service quality of the platform with the delivery speed being the most important logistics service attribute.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83199
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.435
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.435
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6087133920.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.