Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83286
Title: | The disability rights movements in the EU and Europe |
Other Titles: | ลักษณะและวิวัฒนาการสิทธิผู้พิการในสหภาพยุโรปและชาติอื่น ๆ ในยุโรป |
Authors: | Theerawut Rirattanapong |
Advisors: | Bhawan Ruangsilp Martin Holland |
Other author: | Chulalongkorn University. Graduate School |
Issue Date: | 2022 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | The study of the social movement, specifically on the marginalized or minority group is an important tool to gain insight into the social and cultural evolution of any given society or culture. A study on the disability rights movement is a growing field in social science, especially in the backdrop of the ever-growing awareness of social and cultural change of the 21st Century. Generally speaking, there are a wide gap in the prior research as it failed in one way or the another, ranging from inability to account for the multifaceted nature of disability, overemphasis on a specific aspect at the expense of the demographic group, lack of literature in a specific region, and failure to engage with the targeted population themselves in a meaningful manner and thus has ironically removed the input from the actual persons with disability (PWD). Therefore, this research’s aim is to scrutinize the relatively “unique” nature of disability rights movement in the European Union from its background to the current characteristics, which is arguably unique in a sense that it is a supranational union which utilized legal and political mechanisms to function as an organization. The research utilized a wide array of primary and secondary sources, legal documents, and official policies to analyze the facilitation of disability rights via the rule-of-law mode of governance. Furthermore, an online survey is also utilized to gauge the reception of the policy among the people with disabilities themselves. In contrast to what the public and the state have often assumed, the initiatives undertaken by the EU and its institutions are still in their infancy and the measures are often deemed inadequate and long overdue by the PWDs and disability rights NGOs. The findings also indicated that PWDs in the EU are quite dissatisfied and felt unaffected by the current policies or a lack thereof, which could have become a major concern for the EU particularly about human rights issues. A policy review might be necessary should the EU wish to celebrate itself as a champion of human rights and social liberation. |
Other Abstract: | การวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจรรโลงซึ่งสิทธิของผู้พิการภายในสหภาพยุโรปด้วยกลไกหลักนิติธรรมและเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของนโยบาย ซึ่งผู้วิจัยมีความตระหนักในความสำคัญของการศึกษาเกี่ยวกับสิทธิของกลุ่มชายขอบในบริบทของความตื่นตัวและการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิและเสรีภาพของผู้คนหรือชนกลุ่มน้อยในศตวรรษที่ 21 จึงได้จัดทำการวิจัยชิ้นนี้ การวิจัยได้มีการนำมาใช้ซึ่งหลากหลายวิธีการตั้งแต่การวิเคราะห์หลักฐานชั้นต้น เช่น ข้อกฎหมาย บทบังคับ สนธิสัญญา หรือนโยบายขององค์กรที่มีผลบังคับใช้ภายในสหภาพยุโรปในขณะนี้ และหลักฐานชั้นรอง เช่น บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือข่าวสาร นอกจากนี้ ยังมีการใช้แบบสอบถามออนไลน์เพื่อสอบถามความพึงพอใจและตั้งคำถามปลายเปิดให้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้พิการที่เป็นพลเมืองหรือพำนักอาศัยในสหภาพยุโรป ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 13 คน ซึ่งผู้วิจัยได้แนบต้นฉบับของแบบสอบถามไว้ ณ หมวดหมู่ภาคผนวก (Appendix) ภายในงานวิจัยเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ความขาดแคลนวรรณกรรม เอกสาร หรืองานวิจัยในอดีตนั้นมีที่มาจากความล้มเหลวในการคำนึงถึงลักษณะที่หลากหลายของความพิการ การเน้นย้ำความเฉพาะทางมิติใดมิติหนึ่ง ภาวะไร้ซึ่งการวิจัยในภูมิภาคต่าง ๆ และความล้มเหลวในการคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ล้วนแล้วทำให้เกิดช่องว่างการวิจัยที่ผู้วิจัยมีความประสงค์ที่จะมีส่วนร่วมด้วยการทำการวิจัยเกี่ยวกับวิวัฒนาการและการธำรงไว้ซึ่งสิทธิของผู้พิการในสหภาพยุโรปทั้งสิ้น เพราะผู้วิจัยมีความคิดเห็นว่ากระบวนการของสหภาพยุโรปมีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ในการจรรโลงและให้สิทธิแก่กลุ่มด้วยการดำเนินการผ่านกลไกทางการเมืองและหลักนิติธรรมภายในขอบเขตอำนาจของสหภาพ งานวิจัยใช้หลักฐานชั้นต้นและชั้นรองเพื่อศึกษาการอำนวยการมอบสิทธิให้แก่ผู้พิการ นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามบนแพลทฟอร์มออนไลน์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมและประเมินความพึงพอใจและประสิทธิภาพของนโยบายของภาครัฐในสายตาของผู้พิการที่ได้รับผลกระทบจากนโยบาย ซึ่งพบว่าเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับข้อสันนิษฐานจากมติมหาชนและการประเมินภายในหน่วยงาน เพราะนโยบายต่าง ๆ ที่ดำเนินการโดยสถาบันและองค์กรภายในสหภาพยุโรปล้วนแล้วแต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการที่จำเป็นและใช้เวลานานเกินไปสำหรับการร่างและบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยยังพบว่าคำตอบของผู้พิการในสหภาพยุโรปที่ตอบแบบสอบถามมีภาพรวมที่ไม่พึงพอใจและไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากนโยบายเกี่ยวกับสิทธิผู้พิการในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะทวีความรุนแรงจนเป็นปัญหาสิทธิมนุษยชนภายในสหภาพยุโรป การประเมินและทบทวนนโยบายที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องกระทำในบริบทนี้ |
Description: | Independent Study (M.A.)--Chulalongkorn University, 2022 |
Degree Name: | Master of Arts |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | European Studies |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83286 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.22 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2022.22 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Grad - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6584008320.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.