Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83428
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกัญญา แช่มช้อย-
dc.contributor.authorเมียวดี ดีพูน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-08-22T03:22:08Z-
dc.date.available2023-08-22T03:22:08Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83428-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ตามแนวคิดกรอบความคิดแบบเติบโต 2) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ตามแนวคิดกรอบความคิดแบบเติบโต ประชากร คือ โรงเรียนกลุ่มที่ 5 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 11 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย จำนวน 285 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูโรงเรียนกลุ่มที่ 5 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัย และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีวัดความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นสูงสุดของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ตามแนวคิดกรอบความคิดแบบเติบโต คือการพัฒนาหลักสูตร (PNI [modified] = 0.321) รองลงมา คือ การเรียนการสอน (PNI [modified] = 0.312) และวัดและประเมินผล (PNI [modified] = 0.307) ตามลำดับ ซึ่งการบริหารวิชาการทั้งหมดมีองค์ประกอบของกรอบความคิดแบบเติบโต ที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การเรียนรู้จากคำวิพากษ์วิจารณ์ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชากาโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ตามแนวคิดกรอบความคิดแบบเติบโต มีทั้งหมด 3 แนวทางหลัก 6 แนวทางย่อย และ 19 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงลำดับตามความต้องการจำเป็น ดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตโดยเน้นด้านการเรียนรู้จากคำวิพากษ์วิจารณ์ ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย 7 วิธีดำเนินการ แนวทางที่ 2 พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตโดยเน้นด้านการเรียนรู้จากคำวิพากษ์วิจารณ์ ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย 6 วิธีดำเนินการ และแนวทางที่ 3 พัฒนาการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตที่เน้นด้านการเรียนรู้จากคำพากษวิจารณ์ ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย 6 วิธีดำเนินการen_US
dc.description.abstractalternativeThis research purposes were: 1) to study the priority needs in the developing academic management of secondary schools under the secondary educational service area office Bangkok 1 based on the concept growth mindset; and 2) to study approaches for developing academic management of secondary schools under the secondary educational service area office Bangkok 1 based on the concept growth mindset. The population were school of Group 5 under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 1 consisting of 11 schools. Information contributors were 285 personnel, including school directors, deputy directors, and teachers in school of Group 5 under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 1. The research instruments were a questionnaire and an evaluation form for the rating of appropriateness and the possibility of the proposing approaches. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, modified priority needs index (PNI [modified]), mode, and content analysis. The findings revealed that: 1) The priority needs pointed firstly in the developing academic management of secondary schools under the secondary educational service area office Bangkok 1 based on the concept growth mindset. were curriculum development (PNI [modified] = 0.321) followed by instructional management (PNI [modified] = 0.312) and measurement and evaluation (PNI [modified] = 0.307), respectively; The scope of those three aspects of academic management had the highest needed component of learn from criticism and 2) There were 3 main approaches, 6 sub-approaches, and 19 procedures for developing academic management of secondary schools under the secondary educational service area office Bangkok 1 based on the concept growth mindset. The approaches sorted by priority needs index were (1) Developing the curriculum that enables learners to develop the concept growth mindset by focusing on learn from criticism, consisting 2 sub-approaches 7 procedures. (2) Developing the instructional management that enables learners to develop the concept growth mindset by focusing on learn from criticism, consisting 2 sub-approaches 6 procedures. (3) Developing the measurement and evaluation that enables learners to develop the concept growth mindset by focusing on learn from criticism, consisting 2 sub-approaches 6 procedures.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.471-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบริหารการศึกษาen_US
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectHigh schools -- Thailand -- Bangkok-
dc.titleแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ตามแนวคิดกรอบความคิดแบบเติบโตen_US
dc.title.alternativeApproaches for developing academic management of secondary schools under the secondary educationsl service area office Bangkok 1en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.471-
Appears in Collections:Edu - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mp_6280122027_Meawadee_De.pdf236.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.