Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83504
Title: | การใช้แนวคิดเชิงรวบรัดในการตัดสินความน่าเชื่อถือของข้อมูลสุขภาพ บนเฟซบุ๊กระหว่างกลุ่มผู้ใช้ชาวไทยที่มีระดับแรงจูงใจและความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่แตกต่างกัน |
Other Titles: | Use of Heuristics in Credibility Judgment of Health Information on Facebook by Different Levels of Health Motivation and Health E-mavens |
Authors: | ญาณินี เพชรานันท์ ดวงกมล ชาติประเสริฐ Deborah A. Cai |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Issue Date: | Jan-2565 |
Publisher: | สถาบันวิจัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Citation: | BU Academic Review 21,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2565) หน้า 33-49 |
Abstract: | บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการตัดสินความน่าเชื่อถือของข้อมูลสุขภาพที่ปรากฏบนเฟซบุ๊กของผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทย โดยมุ่งศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างในแง่แรงจูงใจด้านสุขภาพและความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อการตัดสินความน่าเชื่อถือดังกล่าว งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทยจำนวน 480 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทยอ้างอิงตัวชี้นำแบบรวบรัดในการตัดสินความน่าเชื่อถือทั้งห้ากลุ่ม ทั้งนี้ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการอ้างอิงตัวชี้นำแบบรวดรัดในการตัดสินความน่าเชื่อถือของผู้ใช้เฟซบุ๊กที่มีระดับความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกันและมีระดับแรงจูงใจด้านสุขภาพที่แตกต่างกัน โดยการอ้างอิงตัวชี้นำแบบรวดรัดในการตัดสินความน่าเชื่อถือของข้อมูลสุขภาพที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญนั้นพบในสามกลุ่ม ได้แก่ ตัวชี้นำในกลุ่มความมีชื่อเสียงของผู้ให้ข้อมูล กลุ่มความขัดแย้งกับความคาดหวังของผู้รับสาร และกลุ่มกระแสของผู้อื่น แต่ไม่พบความแตกต่างในกลุ่มความมีอำนาจในการให้ข้อมูล และกลุ่มความมุ่งมั่นในการโน้มน้าวใจ |
Other Abstract: | This paper examines Thai Facebook users’ credibility judgments about health information on Facebook based on their differences in levels of health motivation and whether they are health e-mavens. Thai Facebook users (N = 480) responded to questionnaires asking about their health motivation, health e-mavens, and their uses of heuristics in credibility judgment. The study showed that Facebook users applied all five types of heuristics. Significant differences were found in the types of heuristics used across different levels of health e-mavens and across different levels of health motivations. Significant differences were found in the use of three heuristic groups: reputation heuristic, expectancy violation heuristic, and bandwagon heuristic. However, no differences were found in the use of authority heuristic and persuasive intense heuristic. |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83504 |
URI: | https://so01.tci-thaijo.org/index.php/buacademicreview/article/view/250947 |
ISSN: | 2651 - 0952 (Online) |
Type: | Article |
Appears in Collections: | Thai Journal Article |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
html_submission_86521.html | บทความวารสารฉบับเต็ม (Fulltext) | 2.71 kB | HTML | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.