Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83532
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-09-21T06:32:23Z | - |
dc.date.available | 2023-09-21T06:32:23Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83532 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความแตกต่างกันระหว่างรูปแบบการคบหาสมาคมกับกลุ่มที่เป็นสื่อในการปรับตัวของผู้ย้ายถิ่นชายและหญิงที่เข้ามาหางานทำในกรุงเทพมหานครอย่างไม่มีทางเลือก อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดและประสบความสำเร็จในการเข้าสู่ชีวิตเมืองแล้ว โดยพิจารณาสิ่งที่แต่ละฝ่ายได้รับหรือเรียนรู้จากกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับตัว และค้นหาความแตกต่างระหว่างกลุ่มกิจกรรมที่ผู้ย้ายถิ่นแต่ละฝ่ายเข้าร่วมโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ ลักษณะการดำเนินการ และกิจกรรมของกลุ่มที่ผู้ย้ายถิ่นชายและหญิงสนใจ โดยมุ่งเน้นประสบการณ์ของผู้ย้ายถิ่นที่ประสบความสำเร็จทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร กล่าที่เป็นสื่อ 5 กลุ่มที่ผู้ย้ายถิ่นที่ประสบความสำเร็จคบหาสมาคมมีลักษณะต่อเนื่องกันไปตั้งแต่ลักษณะรวมหมู่ (communal) ซึ่งมีการรวมตัวอย่างไม่เป็นทางการ จำกัดอยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง จนถึงลักษณะคบหาสมาคม (association) ที่มีรวมตัวอย่างเป็นทางการ ไม่มีการจำกัดคนที่เข้ามาร่วมกลุ่ม งานวิจัยนี้ใช้วิธี Survey Research และ Structured Interview ในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่ามีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยระหว่างรูปแบบการคบหาสมาคมกับกลุ่มญาติและเพื่อนฝูง ในเรื่องความช่วยเหลือทางด้านที่อยู่อาศัย ทั้งสองฝ่ายอาศัยกับกลุ่มญาติในตอนเริ่มอพยพเข้ามาก่อนที่จะแยกตัวออกไปเมื่อได้งานที่ดีขึ้นหรือมีครอบครัวแล้ว ในเรื่องการหางานทำนั้นผู้ย้ายถิ่นหญิงได้รับความช่วยเหลือจากลุ่มญาติในระยะแรก ก่อนที่จะหางานต่อ ๆ ไปด้วยตนเอง สำหรับผู้ย้ายถิ่นชายนั้นหางานเองโดยตลอดตั้งแต่เริ่มต้น ผู้ย้ายถิ่นทั้งชายและหญิงเรียนรู้การใช้ชีวิตเมืองด้วยตนเองมากกว่าจากลุ่มญาติหรือเพื่อน นอกจากนี้ผลการวิจัยยังชี้ว่าผู้ย้ายถิ่นชายและหญิงส่วนใหญ่เข่าวมกลุ่มกิจกรรมภายในชุมชนด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มกิจกรรมที่ผู้ย้ายถิ่นชายและหญิงเข้าร่วม คือเป็นกลุ่มที่รัฐให้การสนับสนุนมากที่สุด มีกิจกรรมเกี่ยวกับการออมเงินและปล่อยให้แก่สมาชิกในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และผลประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมคือ ได้รู้จักคนมากขึ้น มีเงินออม และมีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research aims to investigate the difference between male and female rural migrants' association patterns with mediating groups in the process of adjustment to city life by considering what they learn from the groups that are useful to them; and to explore the difference between mediating groups joined by male and female migrants in terms of objectives, operations, and activities. The exploration is counted on the experiences of economically and socially successful migrants who still reside in Bangkok slums. This research employs survey research method and structured interview to collect the data. Research results show that there barely is a difference between association patterns of male and female migrants with informal mediating groups. Concerning assistance on accommodation, the migrants stay with relatives first, then move out when they get better jobs or are married. Concerning job findings, female migrants get more assistance from relatives in the first place, but find the jobs themselves afterwards. Both male and female migrants learn to live an urban life by themselves, rather than from relatives and friends. Research results also show that a majority of male and female migrants join activity groups inside the community for economic reasons; and there is no differences between groups joined by male and female migrants, i.e., being government supported groups and running group activities concerning saving and lending with low interest rates. The benefits gained from joining the groups are also the same for male and female migrants, i.e., getting to know more people, having saving money and a source of low interest loan. | en_US |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยที่ได้รับเงินสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยจากงบประมาณเงินทุนคณะ | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง | en_US |
dc.subject | การปรับตัวทางสังคม | en_US |
dc.subject | Rural-urban migration | en_US |
dc.subject | Social adjustment | en_US |
dc.title | การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการคบหาสมาคมของผู้ย้ายถิ่นชาวชนบทชายและหญิงในกระบวนการปรับตัวให้เข้ากับสังคมเมืองในกรุงเทพมหานคร : รายงานโครงการวิจัย | en_US |
dc.title.alternative | Comparative study of male and female rural migrants' association patterns in the process of adjustment to urban life in Bangkok metropolis | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
Appears in Collections: | Arch - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Daranee_Ta_Res_2545.pdf | รายงานโครงการวิจัย | 80.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.