Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83533
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนัททนี เนียมทรัพย์-
dc.contributor.authorไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-09-21T07:56:28Z-
dc.date.available2023-09-21T07:56:28Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83533-
dc.description.abstractการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมหรือลดทอนพฤติกรรมมนุษย์ ในขณะที่ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการทำงานเคลื่อนที่ (Mobile working) ผู้ที่อาศัยในเมืองใหญ่หรือ “คนเมือง” ใช้เวลาในสำนักงานน้อยลง แต่กลับใช้เวลาในสถานที่ที่รู้จักในชื่อ “Third place” เพิ่มมากขึ้น “Third place” คือ สภาพแวดล้อมภายในที่คนเมืองใช้รวมกลุ่ม เช่น ร้านกาแฟที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต, ร้านกาแฟ, ร้านขายขนมอบ (Bakery) หรือ ร้านอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์การใช้สถานที่เพื่อการพบปะ ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ ใช้ทำงานคนเดียวหรือเป็นกลุ่มกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย การออกแบบ “Third place” มีผลต่อพฤติกรรมและการรับรู้เชิงวัฒนธรรมของคนเมืองอย่างมาก วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้เพื่อทำการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบในการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในกับพฤติกรรมของคนเมืองที่สัมพันธ์กับประเด็กทางวัฒนธรรม ได้แก่ ทัศนคติ, มารยาทไทย, วัตถุนิยม, สุขนิยม, การรักนวลสงวนตัว, การมีระเบียบวินัยและสำนึกสาธารณะ วิธีการเก็บข้อมูลใช้การสังเกตและสัมภาษณ์ในบริบทจริง, การคัดเลือกภาพตัวอย่างและเปรียบเทียบ และสัมภาษณ์กลุ่มจากอาสาสมัครจำนวน 120, 50 และ 48 คน ตามลำดับ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า องค์ประกอบและคุณภาพของการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในมีผลต่อประเด็นทางวัฒนธรรมทุกประเด็น ผลของการสืบค้นจากงานวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในสภานที่สาธารณะเพื่อที่จะใช้ส่งเสริมและลดทอนพฤติกรรมเชิงวัฒนธรรมแต่ละประเด็น และยังสามารถประยุกต์ใช้สำหรับการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในในประเทศและประเทศอื่น ๆ ที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน นอกจากนี้งานวิจัยยังพัฒนาความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนเมืองรุ่นใหม่ โดยใช้วิธีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายโดยใช้หลักจิตวิทยา วิธีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวเป็นการแบ่งกลุ่มคนโดยขึ้นกับระดับชั้นในสังคม, วิถีชีวิตและบุคลิกส่วนตัว และอยู่บนฐานการตั้งสมมุติฐานว่า ประเภทของสภาพแวดล้อมภายใน, ผลิตภัณฑ์และตราสินค้าที่ปัจเจกบุคคลเลือกใช้จะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นบุคลิภภาพและรูปแบบการใช้ชีวิตของคน ๆ นั้นได้ วัตถุประสงค์การวิจัยส่งนี้เพื่อพัฒนาความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนเมืองรุ่นใหม่ วิธีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายโดยใช้หลักจิตวิทยามุ่งสำรวจไปที่การทำกิจกรรม, ความสนใจ, ความเห็น, ทัศนคติ, การรับรู้คุณค่าที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่คนเมืองรุ่นใหม่ใช้รวมกลุ่ม ผลการวิจัยเป็นการนำเสนอวิธีการแบ่งกลุ่มคนแบบใหม่ที่อยู่บนฐานของของข้อมูลทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน ความเข้าใจกลุ่มคนในแต่ละกลุ่มตามหลักจิตวิทยาจะสามารถทำให้นักออกแบบและสถาปนิกสามารถออกแบบให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างดีที่สุด ผลของการค้นพบสามาถใช้ประยุกต์กับโครงการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในสาธารณะที่มีผู้ใช้พื้นที่เป็นคนเมืองรุ่นใหม่ในกรุงเทพมหานครหรือในเมืองอื่น ๆ ที่มีทัศนคติและการรับรู้ทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันen_US
dc.description.abstractalternativeInterior Environmental design plays important roles in supporting and suppressing human behaviors. As information technology advancement enablers motile working, urban habitants tend to spend less time in their offices while spending increasing amount of time in their places. Third place is urban gathering environment such as internet café, coffee house, bakery, or restaurant where they can have a meeting, meet new people, wok alone or in group, and much more. The design of Third place has significantly effects on urban habitants’ cultural behaviors and perceptions. The objective of this research is to explore the relationships between the third place environmental design elements and urban habitants’ cultural behaviors related to social values, Thai manners, materialism, hedonism, courteous, discipline and social awareness. Data gathering methods employed in this research include contextual observation and interview, photo rating and comparing, and group interview. Participants are 100, 48 and 48 Bangkok urban habitants (age 15-40), respectively, Analyzing through qualitative analysis techniques, the results point out the interior environmental elements and qualities significantly related to each cultural issue. The finding of this research can be used as guidelines for public gathering environmental design, in order to support and suppress particular culfural behaviors. The findings can be applied both for environmental design in Thailand and other countries sharing similar culfure. Additionally, this research also develops a better understanding about young urban habitants’ culture and lifestyle. Psychographic segmentation divides customers into groups based on social class, lifestyle and personality characteristics. It is based on the assumption that the types of Interior environments, products and brands an individual selects will reflect that persons characteristics and patterns of living. The objective of this research section is to develop a better understanding about young urban habitants’ culfure and lifestyle The psychographic segmenting is explored based on their activities, interests, opinions, attifudes, values in relations to urban gathering environments they used. The results suggest a new way to segment target customers based on their psychographic data related to Interior Environmental design. The better understanding about customers in each psychographic segment enables designers and architects to optimize their design and better fulfill their customers’ needs The finding of this research can be applied to different kinds of public Interior Environmental design projects targeted for young urban habitants in Bangkok or those in other cities sharing similar cultural values and attitudes.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวัฒนธรรมไทยen_US
dc.subjectรูปแบบการดำเนินชีวิตen_US
dc.subjectพฤติกรรมมนุษย์en_US
dc.subjectพื้นที่สาธารณะ -- การออกแบบen_US
dc.subjectCultureen_US
dc.subjectLifestylesen_US
dc.subjectHuman behavioren_US
dc.subjectPublic spaces -- Designen_US
dc.titleผลกระทบของสถานที่รวมกลุ่มของคนเมืองต่อมรดกวัฒนธรรมไทย : ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมมนุษย์ และการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในen_US
dc.title.alternativeEffects of urban inhabitan's gathering places on Thai cultural heritage : the inter-relations between human behavior and interior environmental designen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Arch - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natthanee_Ni_Res_2553.pdf178.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.