Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83541
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorดวงแข สิทธิเจริญชัย-
dc.contributor.authorชัชวาล ใจซื่อกุล-
dc.contributor.authorนราธิป จันทรสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-09-21T09:04:48Z-
dc.date.available2023-09-21T09:04:48Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83541-
dc.description.abstractความหลากหลายทางชนิดของปลวกได้ถูกศึกษาที่จังหวัดน่าน ในพื้นที่ป่าเต็งรังและพื้นที่สวนมะม่วง บริเวณสถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน (สถานีวิจัยคัดเลือกและบำรุงพันธุ์สัตว์) ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน การศึกษาชนิดของปลวกในช่วงปี พ.ศ. 2555-2558 พบปลวกทั้งสิ้น 4 ชนิดในทั้งสองพื้นที่ ได้แก่ ปลวกชนิด Globitermes sulphureus ในวงศ์ย่อย Termitinae, Macrotermes sp. และ Odontotermes sp. ในวงศ์ย่อย Macrotemitinae และปลวกชนิด Nasutitermes sp. ในวงศ์ย่อย Nasutitermitinae ซึ่งปลวกทั้งหมดที่พบจัดอยู่วงศ์ Termitidae ความหลากทางชนิดของมดได้ทำการศึกษาทั้งในจังหวัดน่านและจังหวัดสระบุรี โดยในบริเวณสถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน (สถานีวิจัยคัดเลือกและบำรุงพันธุ์สัตว์) ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ได้ทำการศึกษาในสองพื้นที่ศึกษาคือ พื้นที่ป่าเต็งรังและพื้นที่สวนมะม่วง โดยทำการศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2555-2558 ผลการศึกษาในทั้งสองพื้นที่ศึกษา พบมดทั้งสิ้น 62 ชนิด จัดอยู่ใน 6 วงศ์ย่อย ได้แก่ วงศ์ย่อย วงศ์ย่อย Dolichoderinae (5 ชนิด), วงศ์ย่อย Dorylinae (2 ชนิด), วงศ์ย่อย Formicinae (16 ชนิด), วงศ์ย่อย Myrmicinae (24 ชนิด), วงศ์ย่อย Ponerinae (10 ชนิด) และวงศ์ย่อย Pseudomyrmecinae (5 ชนิด) ชนิดของมดที่พบในพื้นที่ป่าเต็งรัง มีน้อยกว่าในพื้นที่สวนมะม่วง มดเด่นที่พบในพื้นที่ป่าเต็งรัง คือ มดแดง Oecophylla smaragdina ในขณะที่มดเด่นในพื้นที่สวนมะม่วง คือ มดง่าม Pheidologeton diversus โดยมดทั้งสองชนิดถูกพบในฤดูแล้งมากกว่าฤดูฝน นอกจากนี้ในปี 2557 พบมดที่หาค่อนข้างยากเพิ่มอีกสองชนิดคือ Aenictus binghami (วงศ์ย่อย Aenictinae) และ Dorylus vishnui (วงศ์ย่อย Dorylinae) ช่วงปี พ.ศ. 2559-2560 ได้ทำการศึกษาพื้นที่แนวเส้นทางเดินธรรมชาติเชิงนิเวศในช่วงต้นทางเข้า (ป่าเต็งรัง) พบมด 22 ชนิด จัดอยู่ใน 6 วงศ์ย่อย และช่วงปลายของแนวเส้นทางเดินธรรมชาติเชิงนิเวศ (ป่าเบญจพรรณ) พบมด 25 ชนิด จัดอยู่ใน 5 วงศ์ย่อย ในปี 2561 ได้สำรวจมดตามแนวทางเดินบริเวณริมอ่างน้ำ ในสถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีผาสิงห์ (ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการ เครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน และพบมดทั้งสิ้น 3 ชนิด จัดอยู่ใน 2 วงศ์ย่อย สำหรับพื้นที่โครงการจัดตั้งสำนักงานจัดการพื้นที่จุฬาฯ-สระบุรี อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีนั้น ได้ทำการศึกษาในสองพื้นที่ศึกษาคือ พื้นที่ป่าเบญจพรรณและพื้นที่สวนป่าสัก โดยทำการศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2558-2560 ผลการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ป่าเบญจพรรณพบมด 23 ชนิด 5 วงศ์ย่อย และในพื้นที่สวนป่าสักพบมด ทั้งสิ้น 14 ชนิด 4 วงศ์ย่อยen_US
dc.description.abstractalternativeSpecies diversity of termites was studied in Nan province in a dry dipterocarp forest and a mango plantation at Lainan Research and Technology Transfer Station (Animal Research Station Selection Chulalongkorn University Forestry and Research Station in Lainan sub-district, Wiang Sa district, Nan province. The study of termite species was investigated during 2012-2015; and 4 termite species were found in both study sites: Globitermes sulphureus belonging to subfamily Termitinae, Macrotermes sp. and Odontotermes sp. belonging to subfamily Macrotemitinae and also Nasutitermes sp. belonging to subfamily Nasutitermitinae; all of them were classified in family Termitidae. Diversity of ant species was studied both in Nan and Saraburi provinces. In Lainan Research and Technology Transfer Station (Animal Research Station Selection) in Lainan sub-district, Wiang Sa district, Nan province, the research was investigated in two study sites, dry dipterocarp forest and mango plantation during 2012-2015. The result showed 62 ant species, 6 subfamilies found in both study sites: subfamily Dolichoderinae (5 spp.), subfamily Dorylinae (2 spp.), subfamily Formicinae (16 spp.), subfamily Myrmicinae (24 spp.), subfamily Ponerinae (10 spp.) and subfamily Pseudomyrmecinae (5 spp.) The ant species found in the dry dipterocarp forest was less than those found in the mango plantation. The dominant ant species in the dry dipterocarp forest was a weaver ant, Oecophylla smaragdina, whereas a harvesting ant, Pheidologeton diversus, was dominant in the mango plantation. And in both study sites, ant species were found in the dry season more often than in the wet season. Moreover, in 2015, two rare ant species newly found in the study area were Aenictus binghami (subfamily Aenictinae) and Dorylus vishnui (subfamily Dorylinae). During 2016-2017, the study was done in ecological trail. Around the entrance of the trail (dry dipterocarp forest), 22 ant species belonging to 6 subfamilies were found; and at the site closed to the end of the trail (mixed deciduous forest), 25 ant species belonging to 5 subfamilies were found. In 2018, the two sides of the trail around a reservoir in Pha Singh Research and Technology Transfer Station (Center for Learning and Academic Services, the Network of Chulalongkorn University), Pha Singh subdistrict, Mueng Nan district, Nan province, were surveyed; and 3 ant species belonging to 2 subfamilies were found. In the Project for the Development of Administration Office of Chula-Saraburi Area, Kaeng Khoi district, Saraburi province, two study sites, mixed deciduous forest and teakplantation, were investigated during 2015-2017. The result showed that 23 species of ants belonging to 5 subfamilies were found in the mixed deciduous forest; and in the teak plantation, 14 ant species belonging to 4 subfamilies were found.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ปี 2561en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectมดen_US
dc.subjectปาเต็งรังen_US
dc.subjectความหลากหลายทางชีวภาพen_US
dc.subjectระบบนิเวศen_US
dc.subjectAntsen_US
dc.subjectRain forests -- Thailand -- Nanen_US
dc.subjectBiological diversityen_US
dc.subjectBiotic communitiesen_US
dc.titleความหลากหลายและบทบาทของมดในระบบนิเวศป่าเต็งรัง จังหวัดน่าน : รายงานผลการดำเนินงานen_US
dc.title.alternativeDiversity and role of termites and ants in dry dipterocarp ecosystem in Nan Provinceen_US
dc.title.alternativeโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Duangkhae_Si2_Res_2561.pdf95.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.