Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83583
Title: การรับหน่วยคำบ่งชี้ความเป็นพหูพจน์รูปปกติและรูปไม่ปกติในภาษาอังกฤษโดยผู้เรียนที่มีภาษาไทยเป็นภาษาที่หนึ่ง: กรณีศึกษาสมมติฐานแสดงลักษณะหน้าที่ที่ล้มเหลว
Other Titles: The Acquisition of English Regular and Irregular Plural Morphemes by L1 Thai Learners: A Case of the Failed Functional Features Hypothesis
Authors: จตุรพร คงบาง
ณัฐมา พงศ์ไพโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Issue Date: Jul-2565
Publisher: สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Citation: วารสารภาษาและภาษาศาสตร์ 40,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2565) หน้า 147-173
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาลักษณะการแปรของหน่วยคำบ่งชี้ความเป็นพหูพจน์ในภาษาอังกฤษโดยผู้เรียนที่มีภาษาไทยเป็นภาษาที่หนึ่ง วัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยคือ ศึกษาว่าผู้เรียนชาวไทยสามารถรับหน่วยคำบ่งชี้ความเป็นพหูพจน์รูปปกติ (regular plural morphemes) และรูปไม่ปกติ (irregular plural morphemes) ในภาษาอังกฤษได้หรือไม่ และเพื่อศึกษาว่าการแปร (variability) ที่ปรากฏเป็นผลมาจากรูปแทนทางวากยสัมพันธ์ที่ไม่เหมือนเป้าหมาย (non-target-like syntactic representations) ตามสมมติฐานลักษณะแสดงหน้าที่ที่ล้มเหลว (Failed Functional Features Hypothesis) (Franceschina, 2001; Hawkins & Chan, 1997) หรือไม่ งานวิจัยนี้มีผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวนทั้งหมด 36 คน แบ่งเป็นผู้เรียนที่มีทักษะภาษาอังกฤษในระดับกลางและผู้เรียนที่มีทักษะภาษาอังกฤษในระดับสูง โดยเก็บข้อมูลจากแบบทดสอบตัดสินความถูกต้องทางไวยากรณ์ (Grammaticality Judgment Test) และแบบทดสอบเติมคำในช่องว่าง (Cloze Test) ผลงานวิจัยยืนยันสมมติฐานแสดงลักษณะหน้าที่ที่ล้มเหลว (Failed Functional Features Hypothesis) (Franceschina, 2001; Hawkins & Chan, 1997) และขัดแย้งกับสมมติฐานการผันคำระดับพื้นผิวที่หายไป (the Missing Surface Inflection Hypothesis) (Lardiere, 1998; Prévost & White, 2000) ทั้งนี้เป็นเพราะผู้เรียนชาวไทยทั้งสองกลุ่มไม่สามารถรับหน่วยคำบ่งชี้ความเป็นพหูพจน์รูปปกติ (regular plural morphemes) และรูปไม่ปกติ (irregular plural morphemes) ในภาษาอังกฤษได้ เนื่องจากหน่วยคำประเภทนี้ไม่ปรากฏในภาษาไทย ผลวิจัยยังชี้ให้เห็นถึงอสมมาตรในการใช้หน่วยคำบ่งชี้ความเป็นพหูพจน์กล่าวคือ ในขณะที่ผู้เรียนบางกลุ่มใช้ภาษาแม่ในการตัดสินการใช้คำนามรูปพหูพจน์ แต่บางกลุ่มใช้บริบทที่ชี้นำเพื่อใช้คำนามรูปพหูพจน์ ผลการวิจัยมีประโยชน์สำคัญในด้านนัยยะทางภาษาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการรับภาษาที่สองและนัยยะทางด้านการเรียนการสอน
Other Abstract: The purpose of the present study is to examine whether L1 Thai learners, whose native language lacks the plural inflection morphology, have acquired English regular and irregular plural morphemes and to see whether variability of L2 English regular and irregular plural morphemes by L1 Thai learners is caused by non-target-like syntactic representations under the assumption of the Failed Functional Features Hypothesis (FFFH). The participants were 36 Thai learners of English divided into two groups based on their proficiency levels: intermediate and advanced. Data were collected from a grammaticality judgement task and a cloze test. The results confirmed the Failed Functional Features Hypothesis (Franceschina, 2001; Hawkins & Chan, 1997) and contradicted the Missing Surface Inflection Hypothesis (Lardiere, 1998; Prévost & White, 2000) in that the L1 Thai learners failed to acquire English regular and irregular plural morphemes due to non-existence of plural inflection in Thai. Moreover, their use and judgement of L2 English plural morphemes was rather unsystematic. While some L1 Thai learners were assumed to draw upon their L1 knowledge to complete the tasks, others possibly resorted to linguistic cues showing plurality. The study contributes to Second Language Acquisition with respect to L2 variability and representation.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83583
URI: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/joling/article/view/253891
ISSN: 2672-9881 (Online)
Type: Article
Appears in Collections:Thai Journal Article

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
html_submission_86534.htmlบทความวารสารฉบับเต็ม (Fulltext)2.72 kBHTMLView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.