Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83586
Title: การตระหนักรู้คุณค่าของชีวิตในโลกหลังความตายของตัวละครเอกชายในนวนิยายเรื่องขอเพียงอีกวัน (For One More Day)
Other Titles: Male Protagonist’s Realization the Value of Life in His Afterlife in Mitch Albom’s Novel “For One More Day”
Authors: กัลยรักษ์ หมั่นหาดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Issue Date: Jan-2565
Publisher: วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Citation: วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม 11,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2565) หน้า 148-179
Abstract: บทความนี้ศึกษานวนิยายเรื่อง ขอเพียงอีกวัน (For One More Day, 2006) ประพันธ์โดย มิตช์ อัลบอม ในแง่มุมของการวิเคราะห์ปัญหาทางจิตใจของตัวละครเอกชาย อันเนื่องมาจากสังคมแบบปิตาธิปไตยที่ส่งผ่านความสำเร็จแบบชายผ่านสถาบันครอบครัว จนเกิดการหาทางออกในแนวทางจิตวิญญาณที่เน้นคุณค่าของผู้หญิงในด้านความอ่อนโยน ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นว่ามีส่วนช่วยคลี่คลายการอยากทำอัตวินิบาตกรรมของตัวละครเอกชายได้ ในตัวบทนำเสนอว่าอำนาจปิตาธิปไตยถูกส่งผ่านพ่อ โดยพ่อที่ยึดติดกับความสำเร็จทางวัตถุส่งผลให้ลูกมีปัญหาทางด้านจิตใจเมื่อไม่สามารถรักษาความสำเร็จและชื่อเสียงไว้ได้ จนต้องทำอัตวินิบาตกรรม ผู้ประพันธ์จึงนำเสนอให้ตัวละครเอกเดินทางผ่านประสบการณ์เฉียดตาย ในพื้นที่แห่งนี้นำเสนอข้อจำกัดของการมองโลกที่ให้คุณค่ากับวัตถุ ทรัพย์สินภายนอก และนำเสนอทางออกด้วยการปรับเปลี่ยนมุมมองการใช้ชีวิต ให้ตัวละครเอกได้ทบทวนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและเห็นคุณค่าของชีวิตในด้านการหาความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตในแนวทางจิตวิญญาณ เมื่อผ่านประสบการณ์เฉียดตายและกลับมาสู่โลกความจริงตัวละครเอกจึงสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ เปลี่ยนใจไม่ทำอัตวินิบาตกรรม
Other Abstract: This article examines the novel For One More Day, 2006, written by Mitch Albom, in terms of analyzing the mental problems of the male protagonist. This is due to a patriarchal society in which male success is transmitted through family institutions. The solution was found in a spiritual way that emphasized the value of women in tenderness. Empathy for others can help alleviate the male protagonist's desire to commit suicide. The text presents that patriarchal power is passed through the father. A father clinging to material success results in his son having mental problems when he is unable to maintain success and fame, so he desires to commit suicide. The author, therefore, presents the protagonist on a near-death journey. This area presents the limitation of the worldview that values external objects and assets. And offer a solution by changing the perspective of life. The protagonist revisits the problems and sees the value of life in finding a balance between work and life in a spiritual way. Through a near-death experience and returning to the real world, the protagonist is able to go on with his life and changed his mind not to commit suicide.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83586
URI: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/255203
ISSN: 2697-5637 (Online)
Type: Article
Appears in Collections:Thai Journal Article

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
html_submission_85056.html.htmlบทความวารสารฉบับเต็ม (Fulltext)2.82 kBHTMLView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.