Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83587
Title: | พิธีกรรมและความเชื่อในการแสดงรำสวดของ คณะอรชุน ลูกสุนทรภู่ จังหวัดระยอง |
Other Titles: | Rites and Beliefs of Rum Suad Performance by Orachun Luksunthornphu Troupe in Rayong Province |
Authors: | มุกดา การินทร์ บุษกร บิณฑสันต์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Issue Date: | May-2565 |
Publisher: | มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ |
Citation: | มนุษยสังคมสาร (มสส.) 20,2 (พ.ค.-ส.ค. 2565) หน้า 23-42 |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่อง พิธีกรรมและความเชื่อในการแสดงรำสวดของคณะอรชุน ลูกสุนทรภู่ จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับการแสดงรำสวดและศึกษาพิธีกรรมและความเชื่อในการแสดงรำสวดคณะอรชุน ลูกสุนทรภู่ ผลการศึกษาพบว่า หัวหน้าคณะอรชุน ลูกสุนทรภู่ คือ ครูทรงศักดิ์ บรรจงกิจ คณะรําสวดนี้ได้รับว่าจ้างไปแสดงในงานสวดหน้าศพและงานแสดงโอกาสอื่น ๆ บทสวดเป็นเรื่องราวในวรรณคดีเป็นส่วนใหญ่ ในด้านดนตรีพบว่าเพลงที่นำมาใช้มีความคล้ายคลึงกับทำนองเพลงไทยและเพลงลูกทุ่งในปัจจุบัน เพลงในพิธีกรรมบทร้องมีเนื้อหาสาระสะท้อนความเชื่อทางพุทธศาสนาและสิ่งเหนือธรรมชาติ มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ 4 อย่าง คือ ตะโพน กลองบองโก้ ฉิ่งและกรับ การสวดสั่งเปรตเป็นพิธีที่สำคัญของคณะ โดยเชื่อว่าเป็นการชี้นำให้ผู้ตายได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี เพื่อเป็นกุศโลบายให้กับคนที่มีชีวิตอยู่ได้รู้จักบาปบุญคุณโทษ อีกทั้งทางคณะยังมีการไหว้ครูประจำปี เชื่อว่าเมื่อได้มาเข้าพิธีไหว้ครูครอบครูแล้วจะทำให้เกิดสิริมงคลกับตนเอง และยังเป็นการพบปะสังสรรค์กับนักแสดงรำสวดรุ่นอื่น ๆ มีการใช้เครื่องบูชาครูประกอบพิธี โดยเชื่อว่าจะปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกจากร่างกายและช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น พิธีกรรมและความเชื่อของคณะนี้จึงได้รับการสืบทอดมาและยังปฏิบัติสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน |
Other Abstract: | This study aimed to study the basic elements including rites and beliefs of Rum Suad Performance by Orachun Luksunthornphu Troupe in Rayong. The results of the study found that Master Shongsak Banjongkit was the leader of Orachun Luksunthornphu troupe. This troupe was hired to perform in funeral ceremonies and on other occasions. The lyrics of the chanting were mostly referred to stories in Thai literature, and the songs that used were similar to the melodies of the original Thai classical and country songs. The content of lyrics are related to the worship of their sacred beliefs which is Buddhism and supernatural. There were four musical instruments found in the performance, double faced drum, bongo drums, cymbal and clappers. Regarding performance in the funeral, it was believed to guide the deceased to a better world as well as being a guidance to the participants to understand goodness and sin. In addition, the troupe also has an annual Wai Kru ceremony regarding their beliefs when one came to the ceremony to pay respect to the teacher, and this would bring prosperity to oneself. Morever, it was also an opportunity for all members to reunite. The beliefs to dispel bad things from the body expressed in the offerings as well. Each of the sacrifices was meant to protect and support the quality of life of participants according to their beliefs. The rites in the performance have been passed down from generation to generation within the members of the troupe. |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83587 |
URI: | https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/260678 |
ISSN: | 2774-1451 (Online) |
Type: | Article |
Appears in Collections: | Thai Journal Article |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
html_submission_86538.html | บทความวารสารฉบับเต็ม (Fulltext) | 2.72 kB | HTML | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.