Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83632
Title: การวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมของนกกระเรียนพันธุ์ไทย (Grus antigone sharpii) ในพื้นที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียวด้วยวิธีไมโครแซทเทลไลท์ : รายงานผลการดำเนินงาน
Other Titles: Genetic diversity analysis of captive eastern sarus crane (Grus antigone sharpii) in Khao Khew open zoo using microsatellite markers
Authors: อัมพร วิเวกแว่ว
ณัฐพจน์ วาฤทธิ์
รังสินี สันคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: นกกระเรียน -- ไทย
ไมโครแซทเทลไลท์ (พันธุศาสตร์)
Grus antigone sharpii
Microsatellites (Genetics)
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นกกระเรียนพันธุ์ไทย (Grus antigone sharpii) ได้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติของประเทศไทย โดยมีสาเหตุหลักมาจากการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ ต่อมาได้มีการขอรับบริจาคนกกระเรียนพันธุ์ไทยจากประเทศกัมพูชามาเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ในสภาพกรงเลี้ยง ซึ่งการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ไม่ได้ต้องการเพิ่มจำนวนและอัตราความอยู่รอดของประชากรในสภาพกรงเลี้ยงเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากร ดังนั้นผู้วิจัยจึงใช้เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ ตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของนกกระเรียนพันธุ์ไทยจากสวนสัตว์เปิดเขาเขียว (n = 11) โดยนำดีเอ็นเอที่สกัดได้จากโคนขน มาเพิ่มปริมาณไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอด้วย polymorphic primer ที่ ออกแบบมาจากจีโนมของ whooping crane G. Americana จำนวน 10 คู่และ blue crane Anthropoides paradise จำนวน 4 คู่ ผลการศึกษาพบการเบี่ยงเบนออกจากสมดุล Hardy-Weinberg ที่ โลคัส Gram8 ซึ่งเป็นผลมาจาก null allele และพบการปรากฏของ linkage disequilibrium ที่โลคัส Gpa12, Gpa34 และ Gpa35 จากการวิเคราะห์ค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมด้วยเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์จำนวน 10 โลไซ พบว่าจำนวนอัลลีลต่อโลคัสมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.2 ค่า expected และ observed heterozygosity มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.59 และ 0.61 ตามลำดับ ค่า inbreeding coefficient มีค่าเท่ากับ - 0.03 จากผลที่ได้แสดงว่านกกระเรียนพันธุ์ไทยมีความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง และเกิด inbreeding น้อย ดังนั้นจึงเหมาะที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในการเพิ่มจำนวนประชากรในกรงเลี้ยงต่อไปในอนาคตได้ เพื่อเป็นตัวแทนประชากรที่จะนำกลับไปปล่อยคืนสู่พื้นที่ชุ่มน้ำในธรรมชาติของประเทศไทยต่อไป
Other Abstract: Grus antigone sharpii is the only crane species that was reported in Thailand, though it has become extinct in the wild due to the depletions of its natural habitats and food sources. The Thai government with the Cambodian collaboration has tried to repopulate G. a. sharpii using wild Cambodian specimens as an initial breeding stock. Captive breeding can increase the population size and survivorship of the G. a. sharpii in Thailand, but the genetic diversity of the crane are also of immense importance as well, since the fixation of unfavorable alleles may drive the reemerging population to become extinct again. In this study, 14 polymorphic microsatellite primers isolated from a related species of G. a. sharpii, the whooping crane G. americana and the blue crane Anthropoides paradisea, were used to genotype and investigate genetic diversity of G. a. sharpii individuals collected from Khao Kheow open zoo (n = 11). Our results showed that deviations from Hardy-Weinberg equilibrium was only observed at locus Gram8, resulting from the presence of null allele. Three loci (Gpa12, Gpa34 and Gpa35) were in linkage disequilibrium. The averages of expected and observed heterozygosities were 0.59 and 0.61, respectively, indicating high genetic diversity in terms of heterozygosity and low inbreeding (FIS = -0.03). Therefore, our findings suggested that the breeding stocks may be suitable for crane captive breeding program for future reintroduction of G. a. sharpii in Thailand.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83632
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amporn_Wi_Res_2561.pdf16.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.