Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83728
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2023-11-15T01:55:54Z | - |
dc.date.available | 2023-11-15T01:55:54Z | - |
dc.date.issued | 2557 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83728 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความคิดเห็นและความเหมาะสมของการบริหารจัดการสหกิจศึกษา สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์กิจกรรมสำคัญและกระบวนการบริหารจัดการสหกิจศึกษา พัฒนาระบบการบริหารจัดการสหกิจศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัย และพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการสหกิจศึกษา สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.สภาพปัจจุบันการบริหารจัดการสหกิจศึกษา พบว่า การปฏิบัติงานต่อเนื่องกันจนครบ 4 เดือน ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาคือ ปิดภาคเรียนก่อนขึ้นชั้นปีที่ 4 โดยมี การนิเทศเดือนละ 1 ครั้ง นิสิตสหกิจศึกษาทั้งหมดมีความพึงพอใจกับการปฏิบัติงานและได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติงานในระดับมาก ผู้นิเทศงานมีความคิดเห็นว่า ความรู้ของนิสิตที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานระดับปานกลาง นิสิตสหกิจศึกษาช่วยเหลือแบ่งเบาภาระงานในระดับมาก และมีความประสงค์ที่จะรับนิสิตจากสาขาธุรกิจ คณะครุศาสตร์จุฬาฯ ในปีต่อไป 2.ปัญหาการบริหารจัดการสหกิจศึกษา พบว่า ด้านการเตรียมการและการวางแผนสถาบันควรประสานงานกับสถานประกอบการล่วงหน้า 1 ภาคการศึกษา การจัดปฐมนิเทศก่อนการปฏิบัติงานมีรูปแบบที่ไม่ชัดเจน ด้านสถานประกอบการ สถานประกอบการไม่มีเวลาดูแลและสอนงาน ไม่มอบหมายงาน ให้ทำงานที่ไม่เหมาะสม งานหนัก เลิกงานดึก ไม่ตรงเวลา ต้องมาทำงานวันหยุด ด้านนิสิตสหกิจศึกษา คณาจารย์นิเทศมีความคิดเห็นว่า นิสิตสหกิจศึกษา พบปัญหาแต่ไม่แจ้งคณาจารย์นิเทศทราบ จึงทำให้แก้ปัญหาไม่ทัน ไม่มีความตั้งใจในการปฏิบัติงาน ส่วนสถานประกอบการมีความเห็นว่า นิสิตสหกิจศึกษามีปัญหาเรื่องการแต่งกายไม่เหมาะสม และไม่มีความรู้ในบางงานที่ให้ทำ 3.การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของนิสิตสหกิจศึกษาระหว่างสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่คาดหวัง ตามความคิดเห็นของนิสิตสหกิจศึกษา พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือ ด้านความรู้ (PNI[modified = 0.08]) รองลงมาคือ ด้านทักษะ (PNI[modified = 0.06]) และด้านบุคลิกภาพ (PNI[modified = 0.05]) 4.ความเหมาะสมของคุณลักษณะของนิสิตสหกิจศึกษา พบว่า นิสิตสหกิจศึกษาและผู้นิเทศงานมีความคิดเห็นสอดคล้องกันโดยเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยคือ ด้านบุคลิกภาพด้านทักษะ และด้านความรู้ 5.ความเหมาะสมของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน พบว่า นิสิตสหกิจศึกษาและคณาจารย์นิเทศ มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน โดยด้านที่เหมาะสมมากที่สุดคือ ด้านการควบคุม การปฏิบัติงาน รองลงมาคือ ด้านการวางแผน ด้านการประเมินผล และด้านการจัดการตามลำดับ ขณะที่ผู้นิเทศงานของสถานประกอบการมีความเห็นว่าด้านที่เหมาะสมมากที่สุดคือ ด้านการควบคุมการปฏิบัติงาน รองลงมาคือ ด้านการจัดการ ด้านการวางแผน ด้านการประเมินผล 6.กิจกรรมสำคัญและกระบวนการบริหารจัดการสหกิจศึกษา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผนหรือการเตรียมตัวก่อนการปฏิบัติงาน (Plan) 2) การปฏิบัติงาน (Do) 3) การติดตามความก้าวหน้าและการประเมินผล (Check) การดำเนินการหลังการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (Act) 7.ระบบการบริหารจัดการสหกิจศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ตัวป้อน (Input) กระบวนการบริหารจัดการสหกิจศึกษา (Process) ผลผลิต (Output) ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research was to study and analyze current problems, comments in appropriate management of cooperative education, to analyze the key activities and management processes of cooperative education, to develop cooperative education management system for the university and to develop handbook of cooperative education management of Business and Vocational Education, Faculty of Education, Chulalongkorn University. The findings were as follows: 1. Current status of cooperative education management found that the practicum is continued in 4 month period, the right time to work in cooperative education should be in summer break before going to the senior, the supervision occurs once a month. Cooperative students are satisfied with the performance and benefit from the operational in high level. The university supervisors perceive that knowledge of students from the university benefits to the operational in middle level. Cooperative students help and reduce workload in high level. The entrepreneurs are willing to accept students from Business and Vocational Education Division, Faculty of Education, Chulalongkorn University next year. 2. Problem in Cooperative Education Management found that in the preparation and planning, Institutions should coordinate with the entrepreneurs at least one semester ahead. The orientation pattern is not clear. The entrepreneurs do not have time to take care, train and assign the job. They also assign inappropriate job. Cooperative students has to work hard, work very. late and work on holiday. They do do not report their problems so it is too late to solve. Some are unintentional to work, inappropriate dressing and without job knowledge. 3. Need Assessment analysis of cooperative students' characteristic collected by cooperative students found that the greatest need are knowledge (PNI[Modified = 0.08]), followed by skills (PNI[Modified = 0.06]) and personality (PNI[Modified = 0.05]). 4. Cooperative students and entrepreneurs agree that the appropriation of cooperative students' characteristics are sequenced as personality, skills and knowledge. 5. Cooperative students and university supervisors agree that the most appropriate operational factor is operational control and followed by planning, evaluation and management. While the entrepreneurs think that the most appropriate operational factor is operational control and followed by management, planning and evaluation 6. The key activities and management processes of cooperative education consist of 4 components such as Plan, Do, Check and Act. 7. Cooperative education management system consists of 4 components such as Input, Process, Output and Feedback. | en_US |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากทุนพัฒนาอาจารย์ใหม่/นักวิจัยใหม่ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2553 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สหกิจศึกษา | en_US |
dc.title | การพัฒนาการบริหารจัดการสหกิจศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัย กรณีศึกษา สาขาวิชาธุรกิจและอาชีวศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย | en_US |
dc.title.alternative | The Development of Cooperative Education Management for University: A case study of Business and Vocational Education Division, Faculty of Education, Chulalongkorn University | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sirichan_Sa_Res_2553.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 225.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.