Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83735
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เปี่ยมสุข สนิท | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2023-11-15T09:31:19Z | - |
dc.date.available | 2023-11-15T09:31:19Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83735 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเมืองในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายใต้พระราชบัญญัติการจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก พุทธศักราช 2469 เนื่องจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่หัวหิน เพราะมีการตั้งบ้านเรือนที่ประกอบกับการท่องเที่ยว ภายหลังการเปิดเดินรถไฟระหว่างประเทศ นำไปสู่การจัดตั้งสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก ซึ่งเป็นองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีหน้าที่บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในพื้นที่บริหารของสภาฯ ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ชะอำลงไปถึงหัวหิน เพื่อพัฒนาบริเวณแถบนี้ให้เป็นสถานที่ตากอากาศที่สมบูรณ์แบบ อาทิ การสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้แก่ ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา โรงเรียน สถานพยาบาล ฯลฯ แสดงถึงความพยาบามของรัชกาลที่ 7 ที่จะมอบอำนาจให้ท้องถิ่นบริหารจัดการเมืองด้วยตนเอง งานวิจัยต้องการวิเคราะห์การดำเนินการของสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตกตามหลักการสากล ผลการศึกษาพบว่าการจัดตั้งสภาฯ นับเป็นวิวัฒนาการครั้งสำคัญในด้านการบริหารจัดการเมืองแบบสมัยใหม่ การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นมาทำหน้าที่วางแผน วางผังและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานเมือง ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ในโลกตะวันตก แสดงให้เห็นว่า รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าการผังเมืองเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเทศบาล นอกเหนือจากการเก็บภาษีทรัพย์สินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมืองแล้ว ยังมีการจัดเก็บค่าบำรุงถนน สอดคล้องกับแนวคิดที่ยึดหลักการผู้รับประโยชน์เป็นผู้จ่าย (Beneficiary-pays principle) เป็นหลักการเดียวกับการพัฒนาทางด่วนซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสมัยใหม่ที่ยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทยในขณะนั้น เนื่องจากชะอำ-หัวหินเป็นเมืองท่องเที่ยวตากอากาศแบบสมัยใหม่ที่เจริญที่สุดในสมัยนั้น การดำเนินการของสภาทั้งหมดของสภาฯ จึงนับเป็นวิวัฒนาการด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมืองที่สำคัญของประเทศไทย | en_US |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การพัฒนาเมือง -- ไทย (ภาคตะวันตก) | en_US |
dc.subject | การพัฒนาเมือง -- ไทย -- รัชกาลที่ 7, 2468-2477 | en_US |
dc.subject | สาธารณูปโภค -- ไทย (ภาคตะวันตก) | en_US |
dc.title | การจัดทำโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเมืองในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 : พระราชบัญญัติการจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตก พุทธศักราช 2469 | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
Appears in Collections: | Arch - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Peamsook_Sa_Res_2562.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 82.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.