Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83791
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล-
dc.contributor.authorชมภูนุช กลิ่นวงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-11-30T09:29:41Z-
dc.date.available2023-11-30T09:29:41Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83791-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่นำจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้ในพื้นที่อนุรักษ์พันธุกรรมพืชวังเขมรมาทำการทดลองผลิตเซลลูโลสิกเอทานอลจากแฝกโดยนำตัวอย่างแฝกมาปรับสภาพด้วยวิธีทางกายภาพจนได้เป็นผง จากนั้นทำการทดลองวิเคราะห์หาปริมาณความชื้น พบว่า แฝกสายพันธุ์สงขลา 3 มีปริมาณความชื้นน้อยที่สุด คือ 60.86 ± 1.89 เปอร์เซ็นต์ เมื่อนำมาหาปริมาณองค์ประกอบของชีวมวลพืช พบว่า แฝกสายพันธุ์กำแพงเพชร 2 มีปริมาณเฮมิเซลลูโลสสูงที่สุด คือ 39.02 ± 0.89 % แฝกสายพันธุ์ศรีลังกามีปริมาณเซลลูโลส 37.54±0.45 % จากนั้นนำปริมาณของเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสมาคำนวณหาปริมาณน้ำตาลกลูโคสและไซโลส จากนั้นคำนวณเป็นปริมาณเอทานอลที่ได้ตามทฤษฎี พบว่าแฝกศรีลังกามีค่าเอทานอลที่ได้ตามทฤษฎีสูงกว่าแฝกกำแพงเพชร 2 จากนั้นนำเชื้อรา T. reesei มาผลิตเอนไซม์เซลลูเลสซึ่งมีแหล่งคาร์บอนเป็นแอลฟาเซลลูโลส และไซแลเนสซึ่งมีแหล่งคาร์บอนเป็น birchwoodxylan แล้ววัดค่าแอกทิวิตี พบว่า เซลลูเลสมีค่าแอกทิวิตีเป็น 1.190 ยูนิต/มิลลิลิตร และมีค่าแอกทิวิตีจำเพาะเป็น 1.071 ยูนิต/มิลลิกรัมโปรตีน ส่วนไซแลเนสมีค่าแอกทิวิตีเป็น 86.961 ยูนิต/มิลลิลิตร และมีค่าแอกทิวิตีจำเพาะเป็น 56.866 ยูนิต/มิลลิกรัมโปรตีน และจะนำเซลลูเลส ไซแลเนสไปย่อยสลายแฝกต่อไป จากผลการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ แฝกศรีลังกายังมีความสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้เปอร์เซ็นต์สูงกว่าแฝกกำแพงเพชร 2 คือ แฝกศรีลังกา 81.63 เปอร์เซ็นต์ และแฝกกำแพงเพชร 2 78.67 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นแฝกกำแพงเพชร 2 จึงไม่เหมาะสมต่อการขยายเสกลในการศึกษาขั้นตอนของการหมัก ในการทดลองจึงเลือกแฝกศรีลังกาไปทำการศึกษาในขั้นตอนของการหมักต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2561en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเอทานอลen_US
dc.subjectยีสต์en_US
dc.subjectชีวมวลen_US
dc.subjectหญ้าen_US
dc.titleการผลิตเซลลูโลสิกเอทานอลจากยีสต์ที่คัดแยกได้จากพื้นที่โครงการ อพ.สธ. : รายงานผลการดำเนินงานen_US
dc.title.alternativeCellulosic ethanol production using isolated yeast from plant genetic conservation project under the royal initiative of Her Royal Highness Maha Chakri Sirindhornen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warawut_Ch_Res_2562.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)19.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.