Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83800
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชนิศา ตันติเฉลิม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-12-01T07:40:04Z-
dc.date.available2023-12-01T07:40:04Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83800-
dc.description.abstract“ฟังก์ชันของพฤติกรรม (Functions of Behavior)” หมายถึง เป้าประสงค์ที่อธิบายสาเหตุเบื้องหลังการเกิดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้เรียน FBA จึงเป็นการประเมินพฤติกรรมโดยวิเคราะห์และระบุปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา กระบวนการช่วยเหลือทางพฤติกรรมจึงนำข้อมูลจาก FBA มาใช้ในการออกแบบแผนที่มีการกำหนดกลยุทธ์การป้องกันพฤติกรรมที่เป็นปัญหา สร้างสอนและส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ แผนการช่วยเหลือดังกล่าวมีการปรับให้สอดคล้องกับฟังก์ชันบนพื้นฐานการตัดสินใจของทีมผู้เกี่ยวข้องและเรียกว่า “การช่วยเหลือโดยอิงฟังก์ชัน (Function-based Intervention, FBI)” งานวิจัยครั้งนี้จึงเป็นการศึกษาเชิงลึกถึงกระบวนการนำการช่วยเหลือตามแนวทาง FBA และ FBI สู่การปฏิบัติในโรงเรียนเรียนรวม วัตถุประสงค์ของการวิจัยมี 4 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อออกแบบแผนการช่วยเหลือทางการเรียนและพฤติกรรมสำหรับผู้เรียนที่มีภาวะเสี่ยง และวิเคราะห์ความเหมาะสมของการนำกระบวนการไปปฏิบัติในโรงเรียนเรียนรวมในประเทศไทย 2) เพื่อวิเคราะห์และประเมินผลของการนำกระบวนการช่วยเหลือฯ ไปใช้ลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาและเพิ่มพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้เรียนที่มีภาวะเสี่ยง 3) เพื่อวิเคราะห์และประเมินความคงทนของการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการช่วยเหลือฯ และ 4) เพื่อศึกษาระดับการยอมรับการช่วยเหลือฯ ของทีมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นของเป้าหมาย กระบวนการ และผลที่เกิดขึ้น งานวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยที่เรียกว่า combined single-subject design กรณีศึกษาเป็นผู้เรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม และเป็นผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาทั้งทางด้านการเรียนวิชาการและพฤติกรรมจำนวน 3 คน มีการเก็บข้อมูลโดยใช้การสังเกตพฤติกรรมและวิเคราะห์กราฟร่วมกับค่าเฉลี่ยและช่วงการกระจายตัวของข้อมูล ข้อมูลระดับการยอมรับของทีมเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลการสัมภาษณ์สมาชิกในทีมเกี่ยวกับการยอมรับแผนการช่วยเหลือใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การช่วยเหลือฯ มีการดำเนินงาน 2 ส่วน ได้แก่ 1) กระบวนการ FBA และ 2) กระบวนการ FBI พบว่าการตัดสินใจปรับกลยุทธ์การช่วยเหลือให้สอดคล้องกับฟังก์ชันของพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับครูไทยและครูมีข้อจำกัดทำให้นำกระบวนการไปปฏิบัติด้วยตนเองได้ยากหากขาดทักษะการจัดการพฤติกรรมหรือความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญภายนอก 2) ผลการนำกระบวนการช่วยเหลือฯ ไปใช้พบว่าผู้เรียนมีแนวโน้มลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา และเพิ่มพฤติกรรมที่พึงประสงค์มากขึ้น โดยการช่วยเหลือผู้เรียนที่มีฟังก์ชันของพฤติกรรมคือการเรียกร้องความสนใจเห็นผลชัดเจนที่สุด 3) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนทั้งพฤติกรรมที่เป็นปัญหาและพฤติกรรมที่พึงประสงค์มีแนวโน้มที่ค่อนข้างคงทน และ 4) ผู้เกี่ยวข้องยอมรับการช่วยเหลือฯ ในระดับมาก ทั้งด้านเป้าหมาย กระบวนการดำเนินงาน และผลที่เกิดกับผู้เรียนโดยเฉพาะการยอมรับการช่วยเหลือผู้เรียนที่มีฟังก์ชันของพฤติกรรมคือการเรียกร้องความสนใจen_US
dc.description.abstractalternative“Functions of behavior” refers to the purpose that explain reasons behind the occurance of problem behavior. Therefore, FBA refers to behavioral assessment by analizing and identifing environmental factors that maintain problem behaviors. Information retrieved from FBA is used to design a behavioral intervention plan with strategies to prevent problem behaviors and to teach and enhance desired behaviors. Then, a “Function-based Intervention (FBI)” is designed and adjusted based on behavioral functions by the decisions of the stakeholders. This research is an in-depth investigation of how to bring FBA and FBI into inclusive school practices. The study purposes are 1) to design acadmic and behavior interventions based on the FBA and FBI and analyze its practicality in a Thai inclusive school. 2) to analyze and evaluate the effects of the FBABI on students’ classroom behaviors, 3) to analyze and evaluate the maintenance of the behavior changes as a result of using the intervention, and 4) to study the stakeholder teams’ acceptability of the intervention. This research employed a combined single-subject design to study the classroom behaviors of three senior primary graders at-risk for academic and behavior problems in one of the model inclusive schools in Bangkok, Thailand. The observation data were gathered through observations and were analyzed using visual analysis from the plotted graph, mean, and range. The data for acceptability questionnaire were analyzed with the use of mean and standard deviation. The content analysis was used for the follow-up interview with the team members.The results present these following findings: 1) The intervention comprises 2 important procedures: FBA and FBI. The research found that decision makings to adjust the behavioral strategies was challenging for the Thai teachers. It was found that Thai teachers had limitation to implement the procedures by themselves without adequate skills in behavioral management or without assistant of outside experts, 2) The intervention have a potential to reduce problem behaviors and increase desired behaviors for all paRtlcipants. The intervention effect on the behaviors maintained by adult attentions is the most obvious, 3) The behavior changes, both problem behaviors and desired behaviors, are somewhat promising, and 4) The team members accepted the intervention goals, procedures, and effects at a high level especially the acceptability towards the intervention for the student whose behaviors were maintained by attention.en_US
dc.description.sponsorshipงานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากกองทุนวิจัยรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเรียนรู้ (จิตวิทยา)en_US
dc.subjectเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ -- การปรับพฤติกรรมen_US
dc.titleการศึกษาผลของการใช้แผนการช่วยเหลือทางการเรียนและพฤติกรรมที่มีต่อพฤติกรรมในชั้นเรียนของผู้เรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อปัญหาการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์en_US
dc.title.alternativeThe effects of academic and behavior intervention plan on classroom behaviors for primary grades students at-risk for learning problemsen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanisa Ta_Res_2557.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)12.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.