Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83843
Title: โครงการจัดตั้งศูนย์ติดตามวิวัฒนาการและการจัดทำฐานข้อมูลทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสในฝูงสุกรของประเทศไทย : รายงานการวิจัย
Other Titles: The establishment of center for monitoring the genetic evolution of porcine reproductive and respiratory syndrome virus in Thai swine herds
Authors: เดชฤทธิ์ นิลอุบล
อังคณา ตันติธุวานนท์
จิตติมา พิริยะพงศา
ปวิตา ทิพย์สมบัติบุญ
ธิติมา ไตรพิพัฒน์
กัญจน์ เตมียะเสน
เกพลี แสง-ชูโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: สุกร -- โรคเกิดจากไวรัส
โรคพีอาร์อาร์เอส
โรคพีอาร์อาร์เอส -- ฐานข้อมูล
Issue Date: 2560
Publisher: คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอส เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย เชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ สายพันธุ์ยุโรปและสายพันธุ์อเมริกาเหนือ สำหรับประเทศไทยสามารถพบเชื้อไวรัสได้ทั้งสองสายพันธุ์ และยังสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสออกเป็นกลุ่มย่อย (คลัสเตอร์) ได้หลายกลุ่มในแต่ละสายพันธุ์อีกด้วย ในการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสในฝูงสุกรของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นไปที่สายพันธุกรรมส่วนยีนโออาร์เอฟ 5 (ORF5) ซึ่งเป็นส่วนที่มีความหลากหลายและมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมมากที่สุด และยังเป็นส่วนที่มีตำแหน่งของนิวทรัลไลซิ่งอิพิโทปซึ่งสำคัญต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบนิวทรัลไลซิ่งแอนติบอดีอีกด้วย จากการศึกษาพบว่าเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสทั้งสองสายพันธุ์ของประเทศไทยมีการวิวัฒนาการจนกลายเป็นเชื้อไวรัสที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่จำเพาะและแตกต่างไปจากเชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสประเทศอื่น เชื้อไวรัสพีอาร์อาร์เอสทั้งสองสายพันธุ์สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ส่งผลกระทบในด้านการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมซึ่งกันและกัน โดยในแต่ละสายพันธุ์จะมีเชื้อไวรัสที่พัฒนาจนกลายเป็นเชื้อไวรัสที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่เด่น อีกทั้งยังพบว่าสายพันธุกรรมส่วนยีน ORF5 จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจากกระบวนการ N-linked glycosylation ของกรดอะมิโนที่อยู่บนนิวทรัลไลซิ่งอิพิโทป ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบการสร้างนิวทรัลไลซิ่งแอนติบอดี ความรู้จากการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการวางแผนการควบคุมโรคและใช้ในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอสรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: Porcine reproductive and respiratory syndrome virus (PRRSV) is a causative agent in swine production worldwide including Thailand. PRRSV is classified into two distinct genotypes, type 1 or European genotype and type 2 or North American genotype. In Thailand, two genotypes of PRRSV had been recognized and can be classified into subgroups or clusters in each genotype. The objective of this study was to monitor genetically change in PRRSV genome, in particular ORF5 gene, which is the most variable regions and associated with the neutralizing epitope. The results of this study demonstrated that both Thai PRRSV genotypes had evolved separately with temporal influence on strain development. Thai PRRSV type 1 and type 2 isolates developed their own clusters that separate from those of other countries and showed dominant cluster in each genotype. N-linked glycosylation at neutralizing epitope is the major cause of diversity in the ORF5 gene which can be influenced on host immune response. The results of this study can be used for one of PRRSV control strategies and provide for vaccine development.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83843
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vet_Dachrit Nilubon_2560.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)18.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.