Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83849
Title: โครงการ การผลิตแก๊สไฮโดรเจนร่วมกับการสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงไทเทเนียมไดออกไซด์
Authors: มะลิ หุ่นสม
ตฤณ เจตสุคนธร
พิมพ์สุดา ภารสงัด
พชรสกล ประยูรพันธุ์รัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ไฮโดรเจน
ไทเทเนียมไดออกไซด์
การกำจัดน้ำเสีย
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสารประกอบอินทรีย์
Issue Date: 2561
Publisher: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการผลิตแก๊สไฮโดรเจนร่วมกับการสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงไทเทเนียมไดออกไซด์ ตัวแปรที่ศึกษา คือ วัฏภาคของตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงไทเทเนียมไดออกไซด์ ชนิดของโลหะเจือบนพื้นผิวของตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงไทเทเนียมไดออกไซด์ (นิกเกิล ทอง แพลเลเดียม) ปริมาณโลหะเจือแพลเลเดียม (ร้อยละ 1-4 โดยน้ำหนัก) และภาวะในการทำปฏิกิริยา พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการผลิตแก๊สไฮโดรเจนร่วมกับการสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแสงไทเทเนียมไดออกไซด์ คือ เจือจางน้ำเสีย 3.3 เท่า ตัวเร่งปฏิกิริยา T₄₀₀ ปริมาณ 4.0 กรัมต่อลิตร ความเข้มแสงยูวี 4.79 มิลลิวัตด์ต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งสามารถลดซีโอดี บีโอดี และไขมัน/น้ำมันได้ร้อยละ 19.83 83.13 และ 84.13 ตามลำดับ และสามารถผลิตไฮโดรเจนได้ 67.40 ไมโครโมลต่อชั่วโมง การเจือโลหะบนไทเทเนียมไดออกไซด์ (T₄₀₀) ให้กัมมันตภาพในการสลายสารอินทรีย์ไม่แตกต่างกัน แต่ให้กัมมันตภาพในการผลิตแก๊สไฮโดรเจนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ โดยตัวเร่งปฏิกิริยา Pt/T₄₀₀ ให้กัมมันตภาพสูงกว่าตัวเร่งปฏิกิริยา Pd/T₄₀₀ เล็กน้อย โดยตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีแพลเลเดียมร้อยละ 3 โดยน้ำหนักจะมีกัมมันตภาพในการผลิตไฮโดรเจนสูงสุดคือ 135 มิลลิโมลต่อชั่วโมง
Other Abstract: This work studied the simultaneous hydrogen production and organic pollutants degradation from biodiesel wastewater via Ti02-based photocatalysts. The investigated parameters were phase of Ti0₂, types of decorated metal (Ni, Au, Pd, Pt) loading of decorated Pd on Ti0₂ (1-4 wt.%) and operating conditions. It was found that the optimum phase of Ti0₂ was obtained after calcined at 400 °c (T₄₀₀). The optimum condition for simultaneous hydrogen production and organic pollutants degradation from biodiesel wastewater via T₄₀₀ photocatalyst was found with wastewater at dilution of 3.3-fold, photocatalyst loading of 4.0 g/L, light intensity of 4.79 mW/cm², which could reduce the COD, BOD and oil & grease of 19.83, 83.13 and 84.13%, respectively, with the hydrogen production rate of 67.40 pmol/h. Decoration of metals improved insignificantly the photocatalytic activity of T₄₀₀ for organic pollutants degradation but improved importantly the hydrogen production. The Ph/T₄₀₀ photocatalyst provided slightly higher photocatalytic activity than the Pdï/T₄₀₀ photocatalyst. In summary, the PdJT,*00 photocatalyst provided the highest photocatalytic activity for hydrogen production at 135 mmol/h.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83849
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mali Hu_Res_2561.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)10.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.