Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83862
Title: การประเมินความเสี่ยงการดื้อยาต้านจุลชีพของ Vibrio parahaemolyticus ในกุ้ง : รายงานโครงการวิจัย
Other Titles: Antimicrobial resistance risk assessment of vibrio parahaemolyticus in shrimp
Authors: ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: การดื้อยา
สารต้านจุลชีพ
Issue Date: 2561
Publisher: คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การประเมินความเสี่ยงการดื้อยาต้านจุลชีพของ Vibrio parahaemolyticus ในกุ้ง ประกอบด้วย 4 ชั้นตอน คือ การระบุอันตราย (hazard identification) การอธิบายอันตราย (hazard characterization) การประเมินการสัมผัส (exposure assessment) และการอธิบายความเสี่ยง (risk characterization) การประเมินการสัมผัสเป็นการวิเคราะห์ระดับการปนเปื้อนในรูปของความเข้มข้น (concentration) และความชุก (prevalence) ของ Vibrio parahaemolyticus ที่ดื้อยาต้านจุลชีพในกุ้ง โดยดำเนินการเก็บตัวอย่างกุ้ง ต่อเนื่อง 2 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2560-2561 รวมทั้งสิ้น 1,080 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างจากจังหวัดที่เป็นตัวแทนภาคทั่วประเทศ 6 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพ กาญจนบุรี ชลบุรี นครราชสีมา เชียงใหม่ และ ประจวบคีรีขันธ์ แบ่งส่วนย่อยในการเก็บตัวอย่างในตลาดสด ตลาดทันสมัย อำเภอเมือง และ นอกอำเภอเมือง เพื่อเปรียบเทียบระดับการปนเปื้อน และความเสี่ยงจาก Vibrio parahaemolyticus ความชุกเฉลี่ย ปี 1 และ ปี 2 (average prevalence) ของ Vibrio parahaemolyticus ในกุ้งอยู่ระหว่างร้อยละ 18-80 และ 69-94 ตามลำดับ ในขณะที่ระดับการปนเปื้อนเฉลี่ย Vibrio parahaemolyticus ในกุ้ง ปี 1 และ ปี 2 อยู่ระหว่าง 0.10-0.39 log mpn/กรัม ตามลำดับ ระดับความชุกและการปนเปื้อน Vibrio parahaemolyticus ในกุ้งใช้เป็นข้อมูลของความชุกและการปนเปื้อน Vibrio parahaemolyticus r ที่ดื้อยาต้านจุลชีพ ซึ่งถือว่าเป็นกรณีที่เลวร้ายที่สุด (worst case scenario) ที่ Vibrio parahaemolyticus ที่แยกได้ทั้งหมดดื้อต่อยาต้านจุลชีพ 15 ชนิดที่ทดสอบ คือ ampicillin, cefepime, cefotaxime, cefoxitin, chloramphenicol, ciprofloxacin, colistin, gentamicin, imipenem, meropenem, nalidixic acid, streptomycin, sulphamethoxazole, tetracycline และ trimethoprim การอธิบายอันตรายเป็นขั้นตอนในการคำนวณความน่าจะเป็นในการเจ็บป่วยจากการได้รับ Vibrio parahaemolyticus ที่ดื้อยาต้านจุลชีพเข้าสู่ร่างกายจากการบริโภคกุ้ง โดยใช้ dose-response model ชนิด Beta-Poisson ตามด้วยการคำนวณความน่าจะเป็นที่เกิดจากการดื้อยาต้านจุลชีพที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือความน่าจะเป็นในการตายจากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ (probability of AMR mortality) ประกอบด้วย 3 เหตุการณ์ต่อเนื่องกัน คือ การเข้ารักษาในโรงพยาบาล (hospitalization) การใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษา (antimicrobial prescription) และการตายจากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR mortality) การอธิบายความเสี่ยง เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่บูรณาการการประเมินการสัมผัส ในรูปแบบของความน่าจะเป็นในการสัมผัสกับ Vibrio parahaemolyticus ที่ดื้อยาต้านจุลชีพจากการบริโภคกุ้ง และการอธิบายอันตรายในรูปของความน่าจะเป็นในการตายจาก Vibrio parahaemolyticus ที่ดื้อยาต้านจุลชีพ ได้เป็นความเสี่ยงเสียชีวิตรายปี (annual mortality risk) ของประชากรไทยในแต่ละจังหวัดตาก Vibrio parahaemolyticus ที่ดื้อยาต้านจุลชีพจากการบริโภคกุ้ง และรายงานในรูปของจำนวนประชากรชาวไทยในแต่ละจังหวัดที่เสียชีวิตต่อปี (annual mortality cases) จาก Vibrio parahaemolyticus ที่ดื้อยาต้านจุลชีพจากการบริโภคกุ้ง พบว่าความเสี่ยงเฉลี่ยเสียชีวิตรายปีจาก Vibrio parahaemolyticus ที่ดื้อยาต้านจุลชีพจากการบริโภคกุ้ง ปี 1 และ ปี 2 อยู่ระหว่าง 1 x 10⁻⁷ - 8 x 10⁻⁷ และ 2 x 10⁻⁷ - 7 x 10⁻⁷ ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (acceptable risk)ในขณะที่จำนวนประชากรในแต่ละจังหวัดที่เสียชีวิตจาก Vibrio parahaemolyticus ที่ดื้อยาต้านจุลชีพจากการบริโภคกุ้ง ปี 1 และ ปี 2 ระหว่าง 0.11-0.75 คน/ปี และ 0.31-0.74 คน/ปี ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า 1 คน/ปีเทียบเท่ากับระดับความเสี่ยงที่ละเลยได้ (negligible risk) ดังนั้น การบริโภคกุ้งจึงมีความปลอดภัยสูงมากจาก Vibrio parahaemolyticus ที่ดื้อยาต้านจุลชีพ
Other Abstract: Antimicrobial resistance (AMR) risk assessment of Vibrio parahaemolyticus in shrimp was composed of 4 steps which were hazard identification, hazard characterization, exposure assessment and risk characterization. The · exposure assessment was to analyze the contamination in terms of contamination and prevalence of AMR Vibrio parahaemolyticus from shrimp. This study collected shrimp samples 2 years consecutively in 2017-2018 were 1,080 samples. The shrimp samples were collected from 6 provinces as representative of 6 regions of Thailand which were Bangkok, Kanchanaburi, Chonburi, Nakonrachsima, Chiangmai and Prachuabkirikan. Average prevalences of Vibrio parahaemolyticus in shrimps of year 1 and year 2 were between 18-80% and 69-94%, respectively. Whereas the average concentration of Vibrio parahaemolyticus in shrimp in year 1 and year 2 were between 0.10-0.39 log mpn/g and -0.07-0.33 log mpn/g, respectively. The prevalence and concentration of Vibrio parahaemolyticus were assumed to be AMR prevalence and concentration as worst case scenario against 15 antimicrobials which were ampicillin, cefepime, cefotaxime, cefoxitin, chloramphenicol, ciprofloxacin, colistin, gentamicin, imipenem, meropenem, nalidixic acid, streptomycin, sulphamethoxazole, tetracycline and trimethoprim. Hazard characterization was to determine the probability of illness from getting AMR Vibrio parahaemolyticus from shrimp consumption by dose-response models which were Beta-Poisson model. Then the probability of AMR mortality was determined by hospitalization rate, antimicrobial prescription rate and AMR mortality. Risk characterization was the integration of exposure assessment in terms of probability of exposure to the AMR Vibrio parahaemolyticus from shrimp consumption and hazard characterization in terms of probability of mortality from AMR Vibrio parahaemolyticus. Taking these two probabilities together resulted in the annual mortality risk attributable to AMR Vibrio parahaemolyticus from shrimp consumption. The annual mortality cases of Thai population by province attributable to AMR Vibrio parahaemolyticus from shrimp consumption were determined. The average annual mortality risks among Thai population by province attributable to AMR Vibrio parahaemolyticus were between . The average annual mortality risks among Thai populati9n attributable to AMR Vibrio parahaemolyticus from shrimp consumption in year 1 and year 2 were 1 x 10⁻⁷ - 8 x 10⁻⁷ and 2 x 10⁻⁷ - 7 x 10⁻⁷ , respectively. These risk levels were categorized as acceptable risk. While the average annual mortality cases of Thai population by province attributable to AMR Vibrio parahaemolyticus from shrimp consumption year 1 and year 2 were just between 0.11-0.75 person/year lll;lt 0.31-0.74 person/year. These figures were less than 1 person annually which was equivalent to negligible risk. Therefore shrimp consumption in Thailand was extremely safe from AMR Vibrio parahaemolyticus.
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83862
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suphachai_Nu_Res_2559.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)123.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.