Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83871
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศุภวิวัธน์ พงษ์เลาหพันธุ์-
dc.contributor.authorธีรพงศ์ ยะทา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2023-12-11T04:09:26Z-
dc.date.available2023-12-11T04:09:26Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83871-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบการนำไปใช้ของอนุภาคไคโตซานระดับนาโนที่ถูกดัดแปลงให้มีคุณสมบัติเป็นตัวนำส่งยีนเหนี่ยวนำการตายแบบอะพอพโทซิสเข้าสู่เซลล์อัณฑะที่มีตัวรับฮอร์โมนโกนาโดโทรปินรีลิสซิ่ง โดยการออกแบบตัวนำส่งยีนนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำหมันสัตว์เพศผู้แบบไม่ผ่าตัด การศึกษานี้ได้มีการรายงานผลของอนุภาคไคโตซานระดับนาโนเชื่อมติดกับฮอร์โมนโกนาโดโทรปินรีลิสซิ่ง (Gonadotropin Releasing Hormone-modified Chitosan; GnRH-CS) เพื่อนำส่งยีนอย่างมีเป้าหมาย และการใช้เปปไทด์โกนาโดโทรปินรีลิสซิ่งในการระบุเป้าหมายการนำส่งยีนไปสู่เซลล์ที่มีตัวรับฮอร์โมนโกนาโดโทรปินรีลิสซิ่ง (GnRH receptor; GnRHR) จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการ (In vitro study) พบว่าอนุภาค GnRH-CS สามารถนำส่งยีนรายงานผล (Green Fluorescent Protein; GFP และ Luciferase; LUC) ไปสู่เซลล์เพาะเลี้ยงจากเซลล์ไตของตัวอ่อนมนุษย์ (Human Embryonic Kidney cell line) ที่มีการดัดแปลงให้มี GnRHR เพื่อใช้เป็นเซลล์จำลองที่มีการแสดง GnRHR และเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้จากหนูเมาส์ (Spermatogonia cells; GC-1 cell) ได้อย่างจำเพาะ สำหรับการศึกษาภายในร่างกายสัตว์ (In vivo study) ได้มีการใช้ยีน Tumor Necrosis Factor alpha (TNF-alpha) เพื่อเหนี่ยวนำการตายในเซลล์อัณฑะของหนูแรท โดยการฉีดสารเข้าอัณฑะโดยตรง (Intra-testicular injection) ผลการศึกษาพบว่ามีการตายของเซลล์อัณฑะ (จากการตรวจทางจุลพยาธิวิทยา และการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวน์) มีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของขนาดอัณฑะ (จากการตรวจทางกายภาพ การวัดด้วยคาลิปเปอร์แบบดิจิตอล และเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล) ไม่พบผลข้างเคียงหลังการฉีด และพบว่ายังมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเลือดคงที่ (จากการตรวจด้วยหลักการ chemiluminescent microparticle immunoassay; CMIA) สรุปได้ว่างานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำหมันสัตว์เพศผู้แบบไม่ผ่าตัด พบว่าวิธีนี้ช่วยลดการเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดด้วยสารทำหมันอื่นที่มีรายงานก่อนหน้าen_US
dc.description.abstractalternativeThe main overall goal of this study is to investigate the application of modified chitosan as a potential vector for apoptotic gene delivery to gonadotropin-releasing hormone receptor (GnRHR)-expressing cells (i.e. testicular cells). Such design of gene carrier could be useful in particular for male animal nonsurgical sterilization. This study reported Gonadotropin Releasing Hormone-modified Chitosan (GnRH-CS) nanoparticle as a promising vector for targeted gene delivery, and a GnRH peptide was use for active targeting of a transgene in GnRHR expressing cells. In in vitro study, this alternative gene transfer strategy could specifically deliver the reporter genes (Green Fluorescent Protein; GFP and Luciferase; LUC) to a transiently transfected Human Embryonic Kidney cell line model system expressing GnRHR and mouse-derived spermatogonia cells (GC-1 cell line). From in vitro to in vivo study, Tumor Necrosis Factor alpha (TNF-alpha) was exploited as a therapeutic gene delivered by GnRH-CS in order to induce testicular cell death in male rat via intra-testicular injection. Testicular cell death (by histopathological examination and ultrasonography), significant reductions of testis size and weight, no adverse reactions and unchanged testosterone levels (by chemiluminescent microparticle immunoassay; CMIA) were observed. It was possible that our study could be applied for non-surgical sterilization. As for non-surgical sterilization in male animals, this strategy can minimize the chemical sterilant side effect of intratesticular injection.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2562 สัญญาเลขที่ GB-A_61_039_31_04en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการตอนสัตว์en_US
dc.subjectคุมกำเนิดสัตว์en_US
dc.subjectคุมกำเนิดเพศชายen_US
dc.titleการพัฒนาพาหะนำส่งยีนเหนี่ยวนำการตายของเซลล์แบบอะพอพโทซิสระดับนาโน เพื่อการคุมกำเนิดสัตว์เพศผู้แบบไม่ผ่าตัดทำหมัน : ต้นแบบเพื่อการคุมจำนวนประชากรสุนัขและแมวจรจัดen_US
dc.title.alternativeDevelopment of nanocarrier-mediated delivery of apoptosis-inducing gene for nonsurgical sterilization in male animals: a model for stray dog and cat population controlen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suppawiwat Pong_Res_2562.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)87.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.