Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83872
Title: | ผลระยะยาวของการให้วัคซีนไอกรนชนิดเต็มเซลล์ หรือไร้เซลล์ในเด็กทารกที่คลอดจากมารดาที่ได้รับวัคซีนไอกรนขณะตั้งครรภ์ |
Other Titles: | รายงานการวิจัย ฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ผลระยะยาวของการให้วัคซีนไอกรนชนิดเต็มเซลล์ หรือไร้เซลล์ในเด็กทารกที่คลอดจากมารดาที่ได้รับวัคซีนไอกรนขณะตั้งครรภ์ Long term effect of whole cell or acellular pertussis immunization in infants born to mothers who received pertussis vaccine during pregnancy |
Authors: | ณศมน วรรณลภากร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทย์ศาสตร์ |
Subjects: | ไอกรน Whooping cough |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | Background: Pertussis vaccination in pregnant women is a strategy currently recommended to foster passive maternal immunity and minimize severe complications from pertussis in not yet completely vaccinated infants. However, the potential interference of maternal antibodies on the development of infant antibody responses induced by childhood whole cell pertussis (wP) and acellular pertussis (aP) vaccination is not well-defined. Methods: This randomized controlled trial (NCT02408926) followed healthy term infants born to tetanus diphtheria acellular pertussis (Tdap)-vaccinated mothers at a tertiary care hospital in Thailand between 2015-2018. Infants were randomized to receive either acellular pertussis (aP)containing vaccine (DTaP-IPV-Hib-HepB) or wP-containing vaccine (DTwP-HepB-Hib) at 2, 4, 6 and 18 months of age. A comparison group comprised of wP-vaccinated children born to unvaccinated mothers. Antibody levels against pertussis toxin (PT), filamentous haemagglutinin (FHA) and pertactin (PRN) were evaluated at month 2 (pre-priming), month 7 (post-priming), month 18 (prebooster), month 19 (one-month post-booster) and month 24 (six-month post-booster) using commercial enzyme-linked immunosorbent assays. Results: In the presence of Tdap-induced maternal antibodies, infants vaccinated with aPcontaining vaccines possessed significantly higher antibody levels (p<0.001) against all three 8. pertussis antigens post priming compared to infants who received wP-containing vaccines. At one and six months post-booster, anti-PT levels were similar, whereas anti-FHA and anti-PRN levels were still significantly higher in the aP group. Significantly higher anti-PT levels (p<0.001) were detected among wP-vaccinated infants born to unvaccinated mothers compared to wP-vaccinated infants of Tdap-vaccinated mothers at post priming, one and six months post-booster. Conclusions: Maternal Tdap immunization can reduce the antibody responses in infants vaccinated with wP vaccines. This effect still persisted for anti-PT at the age of two years. |
Other Abstract: | โรคไอกรน (Pertussis) เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อ Bordetella pertussis (B. pertussis) ติดต่อโดยการไอ จาม โรคนี้พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ อาการแสดงนั้นมีได้หลากหลายตั้งแต่ไม่แสดงอาการ มีอาการไอเรื้อรัง หรือมีอาการไอร่วมกับภาวะแทรกซ้อนในอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจรุนแรงมากจนเสียชีวิต โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี ถึงแม้ว่าวัคซีนป้องกันโรคไอกรนซึ่งมีใช้ทั่วโลกมานานกว่า 50 ปีแล้วนั้นจะสามารถทำให้อัตราการเจ็บป่วยและอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ลดลงอย่างชัดเจน แต่โรคไอกรนก็ยังไม่หมดไป ยังพบได้ในหลายประเทศและมีอัตราการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันการป้องกันเด็กทารกจากเชื้อไอกรน คือการให้วัคซีนในมารดาขณะที่ตั้งครรภ์ มีการศึกษาพบว่าภูมิต้านทานของมารดาอาจมีผลต่อระดับภูมิคุ้มกันในทารก แต่ยังไม่เคยมีการเปรียบเทียบระหว่างทารกที่ได้รับวัคซีนไอกรนชนิดเต็มเซลล์ กับชนิดไร้เซลล์ว่า มีการตอบสนองที่แตกต่างกันหรือไม่ และผลกระทบนั้นคงอยู่นานเพียงใด การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยทางคลินิก เพื่อติดตามผลระยะยาวตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 2-3 ปี ในทารกที่คลอดจากมารดาที่ได้รับวัคซีนไอกรนในขณะตั้งครรภ์ ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2558-2561 โดยทารกจะได้รับวัคซีนแบบวัคซีนรวม คอตีบ-ไอกรนชนิดไร้เซลล์-บาดทะยัก-ตับอักเสบบี-เยื่อหุ้มสมองอักเสบฮิบ-โปลิโอ (6 โรค) หรือ วัคซีนรวม คอตับ-ไอกรนชนิดเต็มเซลล์-บาดทะยัก-ตับอักเสบบี-เยื่อหุ้มสมองอักเสบฮิบ (5 โรค) ที่อายุ 2 4 6 และ 18 เดือน นอกจากนี้ยังมีทารกกลุ่มเปรียบเทียบ คือกลุ่มที่มารดาไม่ได้รับวัคซีนไอกรนขณะตั้งครรภ์ และทารกได้รับวัคซีนไอกรนชนิดเต็มเซลล์ จำนวน 50 คน เพื่อใช้เป็นกลุ่มเปรียบเทียบกับทารกที่คลอดจากมารดาที่ได้รับวัคซีนขณะตั้งครรภ์ ทารกทุกรายจะได้รับการตรวจติดตามและฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้วิจัยจะทำการตรวจหา antibody ชนิด igG ต่อโปรตีนของเชื้อไอกรน ได้แก่ Pertussis toxin (PT), Filamentous hemagglutinin (FHA) และ pertactin (PRN) โดยวิธี Enzyme Linked Immunoassay (EIA) โดยใช้ commercial available kits โดยการตรวจโดยวิธีมาตรฐานตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดไว้ ผลการศึกษาพบว่า ทารกที่ได้รับวัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์มีระดับ antibody ชนิด IgG ต่อ PT FHA และ PRN สูงกว่าทารกที่ได้รับวัคซีนไอกรนชนิดเต็มเซลล์ เมื่ออายุ 7 เดือน และเมื่อติดตามต่อไปที่อายุ 19 และ 24 เดือน พบว่าระดับ antibody ชนิด IgG ต่อ PT ไม่ต่างกัน แต่ระดับ antibody ชนิด IgG ต่อ FHA และ PRN ยังคงสูงกว่าอยู่ เมื่อศึกษาเปรียบเทียบในกลุ่มทารกที่ได้รับวัคซีนไอกรนชนิดเต็มเซลล์ พบว่าทารกที่คลอดจากมารดาที่ได้รับวัคซีนไอกรนในขณะตั้งครรภ์ มีระดับ antibody ชนิด IgG ต่อ PT ต่ำกว่าทารกที่คลอดจากมารดาที่ไม่ได้รับวัคซีนไอกรนในขณะตั้งครรภ์ เมื่ออายุ 7 19 และ 24 เดือน แสดงให้เห็นว่าผลของการวัคซีนขณะตั้งครรภ์ยังอยู่จนถึงอายุ 2 ปี |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83872 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Med - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nasamon Wa_Res_2561.pdf | รายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.