Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83885
Title: Role of lactobacillus and bifidobacterium in the enhancement of epithelial barrier function and anti-inflammation induced by gastrointestinal bacterial pathogens
Other Titles: บทบาทของแลคโตบาซิลลัสและปิฟิโดแบคทีเรียมในการเพิ่มความสามารถกีดขวางของเยื่อบุผิวและต่อต้านการอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหาร
Authors: Somying Tumwasorn
Waraporn Siriterm
Panatda Aramrueang
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Medicine
Issue Date: 2013
Publisher: Faculty of Medicine Chulalongkorn University
Abstract: Specific strains of Lactobacillus spp. and Bifidobacterium spp. can enhance epithelial barrier function and prevent pathogen-induced damage of epithelial tight junctions (TJs) and anti-inflammation induced by gastrointestinal bacterial pathogens. We screened indigenous Lactobacillus and Bifidobacterium Thai isolates with the ability to increase the integrity ofTJs by transepithelial electrical resistance (TER) assay in Caco-2 cells. Eight Lactobacillus isolates (LF-LI2, LO-NL49, LM-B57, LP-XB7, LS-B37, LSB60, LR-L34 and LC-L39) and three Bifidobacterium isolates (BA-B24, BB-NB42 and BP-NB48) can prevent the destruction of TJs by Clostridium difficile. LR-L34 which was selected for further investigation had the ability to improve the intestinal epithelial barrier destroyed by C. difficile although the magnitude of improvement is lower than that of protection. LR-L34 also had protective effect on the destruction of TJs by Campylobacter jejuni but not by Vibrio cholerae 0 I I naba and Salmonella Typhimurium . LR-L34 was able to increase the expression of claudin-l significantly and its pretreatment prevented C. difficile-induced decrease in the expression of claudin-I and occludin significantly. Furthermore, LR-L34 has the ability to suppress C. difficileinduced interleukin-8 (IL-8) production. Further investigation of BB-NB42 demonstrated that it prevented the damage of TJ integrity by C. jejuni and S. Typhimurium but not by V.cholerae 01 Inaba. BB-NB42 increased the expression of claudin-I and occludin significantly and its pretreatment prevented the decrease in expression of claud in-I , JAMI and occludin significantly. However, BB-NB42 does not have the ability to suppress C. difficile-induced IL-8 production.
Other Abstract: แลคโตบาซิลลัสและบิฟิโดแบคทีเรียมสายพันธุ์จำเพาะสามารถส่งเสริมหน้าที่กีดขวางของเยื่อบุผิวและป้องกันการทำลายส่วนเชื่อมติดกันแน่นของเซลล์เยื่อบุผิวและต่อต้านการอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหาร ผู้วิจัยได้ทำการคัดกรองแลคบาซิลลัสและบิฟิโดแบคทีเรียมสายพันธุ์ไทยที่สามารถเพิ่มความแข็งแรงของส่วนเชื่อมติดกันแน่นของเซลล์เยื่อบุผิวโดยวิธีหาค่า transepithelial electrical resistance (TER) ในเซลล์เยื่อบุลำไส้ Caco-2 พบว่ามีแลคโตบาซิลลัส 8 สายพันธุ์ (LF-L12, LO-NL49, LM-B57, LP-XB7, LS-B37, LS-B60, LR-L34 และ LC-L39) และบิฟิโดแบคทีเรีย 3 สายพันธุ์ (BA-B24, BB-NB42 และ BP-NB48) สามารถป้องกันการทำลายส่วนเชื่อมติดกันแน่นของเซลล์เยื่อบุลำไส้ที่เกิดจาก คลอสทริเดียม ดิฟฟิไซล์ได้อย่างมีนัยสำคัญแต่ไม่พบเชื้อที่สามารถป้องกันการทำลายส่วนเชื่อมติดกันแน่นของเซลล์เยื่อบุลำไส้ ที่เกิดจาก เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร จากการคัดเลือกแลคโตบาซิลลัสสายพันธุ์ LR-L34 มาศึกษาต่อ พบว่า LR-L34 มีความสามารถในการแก้ไขการทำลายหน้าที่กีดขวางของเยื่อบุผิวจาก คลอสทริเดียม ดิฟฟิไซล์ ด้วย แม้ไม่ดีเท่าการป้องกัน LR-L34 ยังสามารถป้องกันการทำลายหน้าที่กีดขวางของเยื่อบุผิวจาก แคมไพโลแบคเตอร์เจจูไน แต่ไม่สามารถป้องกันการทำลายที่เกิดจาก วิบริโอ คอเลอเร 01 Inaba และซัลโมเนลลา ไทฟีมิวเรียม LR-L34 สามารถเพิ่มระดับของการแสดงออกของโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของส่วนเชื่อมติดกันแน่นได้แก่ claudin-1 และสามารถป้องกันการลดลงของการแสดงออกของ claudin-1 และ occluding ที่ถูกชักนำโดยคลอสทริเดียม ดิฟฟิไซล์ ได้อย่างมีนัยสำคัญ จากนอกนี้พบว่า LR-L34 มีความสามารถในการต้านการอักเสบโดยกดการสร้างอินเตอร์ลิวคิน-8 (IL-8) ที่กระตุ้นด้วย คลอสทริเดียม ดิฟฟิไซล์ จากการคัดเลือกบิฟิโดแบคทีเรียมสายพันธุ์ BB-NB42 มาศึกษาต่อ พบว่า BB-NB42 มีความสามารถป้องกันการทำลาย ส่วนเชื่อมติดกันแน่นที่มีสาเหตุจาก ซัลโมเนลลา ไทฟีมิวเรียม และแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน แต่ไม่สามารถป้องกันการทำลายจากวิบริโอ คอเลอเร 01 Inaba นอกจากนี้ BB-NB42 สามารถเพิ่มระดับของการแสดงออกของโปรตีน occluding และ claudin-1 ได้อย่างมีนัยสำคัญ และสามารถป้องกันการลดลงของการแสดงออกของ occluding, JAM-1 และ claudin-1 ที่ถูกชักนำโดย คลอสทริเดียม ดิฟฟิไซล์ ได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม BB-NB42 ไม่มีความสามารถในการกดการสร้างอินเตอร์ลิวคิน-8 (IL-8) ที่กระตุ้นด้วยคลอสทริเดียม ดิฟฟิไซล์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83885
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somying_Tu_Res_2556.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)66.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.